ค่านิยมพื้นฐานด้านการพึ่งตนเองของนักศึกษา : กรณีศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
Publisher
Issued Date
1996
Issued Date (B.E.)
2539
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
[9], 101 แผ่น ; ภาพประกอบ ; 30 ซม
ISBN
9748164993
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
เสาวภาคยิ์ ขำรักษา (1996). ค่านิยมพื้นฐานด้านการพึ่งตนเองของนักศึกษา : กรณีศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1877.
Title
ค่านิยมพื้นฐานด้านการพึ่งตนเองของนักศึกษา : กรณีศึกษาวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
Alternative Title(s)
Students' self-reliant value : a case study of Sirindhorn College of Public Health, Chonburi
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมพื้นฐานด้านการพึ่งตนเองกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยตั้งเป็นสมมติฐานว่านักศึกษาที่มีค่านิยมพื้นฐานด้านการพึ่งตนเองสูงจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมพื้นฐานด้านการพึ่งตนเองของนักศึกษากับตัวแปรเพศหลักสูตรการศึกษา การจูงใจของอาจารย์และรูปแบบการถ่ายทอดความรู้ที่ได้รับจากอาจารย์ นอกจากนั้นยังได้ศึกษาข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการเสริมสร้างค่านิยมพื้นฐานด้านการพึ่งตนเองให้กับนักศึกษา เพื่อนำผลการศึกษาที่ได้ไปใช้ประกอบการกำหนดนโนบายและวางแผนดำเนินการจัดกิจกรรมในการพัฒนานักศึกษาทั้งยังเป็นแนวทางจัดการเรียนการสอนเพื่อปลูกฝังและส่งเสริมค่านิยมที่ควรยึดถือปฏิบัติให้กับนักศึกษาทุกหลักสูตรได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ การวิจัยนี้ได้ดำเนินการตามขั้นตอนและวิธีการของระเบียบวิธีวิจัย โดยใช้ทฤษฎีค่านิยมพื้นฐานของ โรคีช สก๊อต กอร์ดอนและมอริส เป็นกรอบแนวคิด วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักศึกษา 410 คนและอาจารย์ 48 คน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับสถิติอนุมานได้แก่ ค่าสถิติ T และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way Analysis of Variance) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า นักศึกษาที่มีค่านิยมพื้นฐานด้านการพึ่งตนเองในระดับสูงมีผลสัมฤทธิ์ทางการเียนสูง ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ นอกจากนั้นยังพบว่านักศึกษาวิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรีโดยทั่วไปมีค่านิยมพื้นฐานด้านการพึ่งตนเองในระดับสูง โดยนักศึกษาหญิงมีค่านิยมพื้นฐานด้านนี้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (alpha = .O5) ส่วนนักศึกษาที่ได้รับการจูงใจจากอาจารย์ในระดับต่างกันและได้รับการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับค่านิยมพื้นฐานต่างรูปแแบบกัน จะมีค่านิยมพื้นฐานด้านการพึ่งตนเองพอๆ กันหรือใกล้เคียงกัน
ปัญหาในการปลูกฝังค่านิยมพื้นฐานด้านการพึ่งตนเองแก่นักศึกษาที่พบคือ อาจารย์ผู้สอนจำนวนมากไม่ให้ความสำคัญ ไม่ตระหนักในการปลูกฝัง ไม่เป็นตัวอย่างที่ดี ขาดประสบการณ์และไม่มีความรู้จริงในเรื่องค่านิยมพื้นฐานด้านการพึ่งตนเอง นักศึกษาขาดความกระตือรือร้นที่จะเรียน ไม่สนใจเรียน หลักสูตรการศึกษาก็ไม่มีเนื้อหาค่านิยมพื้นฐานด้านการพึ่งตนเองประกอบอยู่ กระบวนการเรียนการสอนนั้นขาดแคลนโสตทัศนูปกรณ์ จำนวนนักศึกษามากและกลุ่มใหญ่เกินไปทำให้ดูแลไม่ทั่วถึง รวมทั่งสภาพห้องเรียนคับแคบ อากาศร้อนและมีเสียงรบกวนจากภายนอกด้วย ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ควรปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้การปลูกฝั่งค่านิยมพื้นฐานด้านการพึ่งตนเองมีผลต่อนักศึกษามากขึ้น
This research aims at discovering relationship between students' self-reliant value and academic achievement with a hypothesis : students who possess high level of self-reliant value will achieve highly in academic activity. It also studies relationship between self-reliant value and sex, college curriculum, teachers' motivation and forms of knowledge transmission. In addition, it recommends ways to increase students' self-reliant value in college for policy formation and educational planning including improving teaching and learning methods. The research methods are structured interview by interviewing 410 students and 48 teachers of Sirindhon College of Public Health, Chonburi and documentary study following Rokeach's and others' studies with statistical analysis. Results of the study support the hypothesis and suggested that female students tend to possess higher level of self-reliant value than male students while relationship in other areas is not clearly defined. Many problems and obstacles are also available which need to be corrected to improve the learning ability and upgrade students' self-reliant value effectively.
ปัญหาในการปลูกฝังค่านิยมพื้นฐานด้านการพึ่งตนเองแก่นักศึกษาที่พบคือ อาจารย์ผู้สอนจำนวนมากไม่ให้ความสำคัญ ไม่ตระหนักในการปลูกฝัง ไม่เป็นตัวอย่างที่ดี ขาดประสบการณ์และไม่มีความรู้จริงในเรื่องค่านิยมพื้นฐานด้านการพึ่งตนเอง นักศึกษาขาดความกระตือรือร้นที่จะเรียน ไม่สนใจเรียน หลักสูตรการศึกษาก็ไม่มีเนื้อหาค่านิยมพื้นฐานด้านการพึ่งตนเองประกอบอยู่ กระบวนการเรียนการสอนนั้นขาดแคลนโสตทัศนูปกรณ์ จำนวนนักศึกษามากและกลุ่มใหญ่เกินไปทำให้ดูแลไม่ทั่วถึง รวมทั่งสภาพห้องเรียนคับแคบ อากาศร้อนและมีเสียงรบกวนจากภายนอกด้วย ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ควรปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้การปลูกฝั่งค่านิยมพื้นฐานด้านการพึ่งตนเองมีผลต่อนักศึกษามากขึ้น
This research aims at discovering relationship between students' self-reliant value and academic achievement with a hypothesis : students who possess high level of self-reliant value will achieve highly in academic activity. It also studies relationship between self-reliant value and sex, college curriculum, teachers' motivation and forms of knowledge transmission. In addition, it recommends ways to increase students' self-reliant value in college for policy formation and educational planning including improving teaching and learning methods. The research methods are structured interview by interviewing 410 students and 48 teachers of Sirindhon College of Public Health, Chonburi and documentary study following Rokeach's and others' studies with statistical analysis. Results of the study support the hypothesis and suggested that female students tend to possess higher level of self-reliant value than male students while relationship in other areas is not clearly defined. Many problems and obstacles are also available which need to be corrected to improve the learning ability and upgrade students' self-reliant value effectively.
Table of contents
Description
Methodology: T test, ANOVA
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2539.
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2539.