ทัศนคติของพระสงฆ์ต่อบทบาทการพัฒนาสังคม
Publisher
Issued Date
1997
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
[14], 193, [4] แผ่น : ภาพประกอบ ; 30 ซม
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
พระมหากฤษฎา นันทเพชร (1997). ทัศนคติของพระสงฆ์ต่อบทบาทการพัฒนาสังคม. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1892.
Title
ทัศนคติของพระสงฆ์ต่อบทบาทการพัฒนาสังคม
Alternative Title(s)
The attitude of Buddhist monks toward the social development role
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ ประการแรก เพื่อศึกษาถึงทัศนคติของพระสงฆ์ผู้ได้รับการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า ที่มีต่อบทบาทการพัฒนาสังคม ประการที่สอง เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อทัศนคติของพระสงฆ์ ที่ได้รับการศึกษาในระดับปริญญาตรี ประการที่สาม เพื่อศึกษาถึงบทบาทในการพัฒนาสังคมด้านต่าง ๆ ของพระสงฆ์ผู้ได้รับการศึกษาในระดับปริญญาตรีในปัจจุบัน และแนวโน้มในอนาคต การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถาม โดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลแบบบบังเอิญ จากกลุ่มพระสงฆ์ที่เรียนบาลีเปรียญธรรมเก้าประโยค ในโรงเรียนพระปรัยัติธรรมของคณะสงฆ์ส่วนกลาง วัดสามพระยา กรุงเทพมหานคร และพระนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ของมหาวิทยาลัยสงฆ์ 2 แห่งในกรุงเทพมหานคร คือ สภาการศึกษามหามกุฎราชวิทยาลัย วัดบวรนิเวศ และมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วัดมหาธาตุ จำนวนตัวอย่าง 185 ตัวอย่าง และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ โดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่ามัชณิมเลขคณิต และค่า F-test ในการศึกษาครั้งนี้มีสมสมติฐานว่า พระสงฆ์ที่มีอายุ พรรษา จำนวนปีที่บวช วัตถุประสงค์ในการบวช สถาบันการศึกษา วิชาเอกที่ศึกษา ผู้สนับสนุนหรือให้ทุนการศึกษา การติดตามข่าวสารจากสื่อโทรทัศน์และสื่อหน้าหนังสือพิมพ์ต่างกัน จะมีทัศนคติต่อบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาสังคมแตกต่างกัน
จากการศึกษาพบว่า พระสงฆ์ที่เรียนวิชาเอกในมหามกุฏราชวิทยาลัยต่างกัน มีทัศนคติต่อบทบาทในการพัฒนาสังคมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือพระสงฆ์ที่เรียนวิชาเอกสังคมวิทยา มีทัศนคติเห็นด้วยกับบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาสังคม สูงกว่าพระสงฆ์ที่เรียนวิชาเอกภาษาอังกฤษ วิชาเอกศาสนา-ปรัชญา และวิชาเอกบาลี-สันสกฤต และยังมีแนวโน้มว่าปัจจัยอื่น ๆ เช่น พรรษา สถาบันการศึกษา จำนวนครั้งในการติดตามสื่อโทรทัศน์ จะส่งผลให้พระสงฆ์มีทัศนคติต่อบทบาทในการพัฒนาสังคมบางด้านแตกต่างกันด้วย นอกจากนี้ ในภาพรวมพระสงฆ์ที่ศึกษา ส่วนใหญ่รับรู้ปัญหาสังคมด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และมีความเห็นว่าปัญหาสังคมที่ทุกฝ่ายควรเร่งแก้ไข ได้แก่ ปัญหาศีลธรรมเสื่อมโทรม ปัญหาความยากจนและการว่างงาน และยังเห็นว่าพระสงฆ์ควรมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสังคมด้านต่าง ๆ เช่น ปัญหาศีลธรรมเสื่อมโทรม ปัญหาศิลปวัฒนธรรมเสื่อมสลาย ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหายาเสพติด เป็นต้น อย่างไรก็ดี พระสงฆ์เหล่านี้ ส่วนใหญ่ยังไม่ชัดเจนในเหตุผลที่ควรเข้าไปมีส่วนร่วมและวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าว.
สำหรับความเห็นเกี่ยวกับบทบาทของพระสงฆ์ในอนาคต นอกเหนือจากเผยแผ่ธรรมพระสงฆ์ที่ศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่า บทบาทของพระสงฆ์ในอนาคตควรเป็นบทบาทด้านให้การศึกษาและพัฒนาจิตวิญาณ ในส่วนของทัศนคติต่อบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาสังคม พระสงฆ์ที่ศึกษาเห็นด้วยอย่างยิ่ง ต่อการมีบทบาทในการพัฒนาสังคมในภาพรวม และเมื่อพิจารณาบทบาทด้านต่าง ๆ ก็พบว่าพระสงฆ์ที่ศึกษาเห็นด้วยอย่างยิ่งต่อการมีบทบาทในการพัฒนาสังคมต่าง ๆ โดยเรียงลำดับการให้ความสำคัญจากบทบาทด้านพัฒนาจิตวิญญาณ บทบาทด้านส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม บทบาทด้านเผยแผ่ธรรม บทบาทด้านให้การศึกษาและบทบาทด้านสังคมสงเคราะห์ พระสงฆ์ที่ศึกษาได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับปัญหาของสถาบันสงฆ์อันเป็นอุปสรรคต่อบทบาทในการพัฒนาสังคม ตลอดจนได้เสนอแนะวิธีการแก้ไขปัญหาเหล่านั้น ได้แก่ ปัญหาองค์กร การบริหารการปกครอง และกฎหมายของสงฆ์ โดยเสนอแนะให้จัดองค์กรใหม่ และแก้ไขกฎหมายสงฆ์ปัญหาการศึกษาสงฆ์ล้าหลัง โดยเสนอแนะให้รัฐให้ความสำคัญแก่บทบาทของพระสงฆ์โดยสนับสนุนด้านกฎหมาย วิชาการและงบประมาณ และปัญหาขาดการประชาสัมพันธ์ที่ดี โดยเสนอแนะให้จัดตั้งหน่วยงานประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ความรู้และข่าวสารที่ถูกต้องแก่ประชาชนและสื่อมวลชน จากการศึกษาทัศนคติของพระสงฆ์ต่อบทบาทการพัฒนาสังคม ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะดังนี้ 1. ในเชิงนโยบาย สถาบันสงฆ์ควรยอมรับบทบาทใหม่ ๆ โดยระบุเป็นนโยบายและกำหนดไว้อย่างชัดเจน 2. ในเชิงของการปฏิบัติ ควรจัดองค์กร และเอื้อต่อการแสดงบทบาทใหม่ ๆ ของสถาบันสงฆ์ โดยให้มีระบบที่ดูแลรับผิดชอบในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะ ได้แก่ ระบบจัดการศึกษาของสงฆ์ระบบพัฒนาบุคลากรสงฆ์ ระบบจัดสรรบุคคลากรสงฆ์เพื่อกิจกรรมเชิงพัฒนา และระบบตรวจสอบและติดตามประเมินผล อันจะเป็นการเอื้อให้พระสงฆ์พัฒนาตนเอง และเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมมากขึ้น เป็นการสร้างคุณภาพและอำนวยประโยชน์สุขแก่สังคมสืบต่อไป 3. ในระยะสั้น ควรส่งเสริมให้พระสงฆ์ได้รับรู้ข่าวสาร แสวงหาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ นอกจากหลักสูตรการศึกษา และเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมให้มากขึ้น ปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาการเรียนการสอนของพระสงฆ์ โดยเฉพาะการศึกษาภาษาบาลี โดยเพิ่มวิชาพื้นฐานทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และกฎหมาย เป็นต้น
4. ในทางวิชาการ ควรมีการขยายขอบเขตการศึกษาให้กว้างออกไปทั้งในแง่พื้นที่การศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ต่างออกไป รวมถึงการศึกษาเปรียบเทียบ อีกประการหนึ่งตัวชี้วัดทัศนคติของพระสงฆ์ต่อบทบาทการพัฒนาสังคมซึ่งสร้างขึ้นใหม่ในการศึกษาครั้งนี้ ควรได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความแม่นตรงและมีความเชื่อถือได้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป.
This study has three main objectives i.e. to study the attitude of monks with bachelor degree of equal toward the social development role, to study factors which effect the attitude of these monks, and to study the role of these monks in various aspects of social development both at presesnt and in the future. The sample group consisted of student monks who were, at the time of the field study, studying the highest class in Pali studies at the central Dhamma Scripture School at Wat Sam Praya in Bangkok, and the last-academic-year student monks who were studying at the two Buddhist universities, namely, Maha Makut Buddhist University at Wat Bovornnives and Maha Chulalongkorn University at Wat Maha That. The accidental sampling was employed with the sample size of 185 samples while the questionnaires were used for data collection. The statistics used for analyzing data were percentage, arithmetic means and F-test.
In this study, the researcher has the hypotheses that student monk with different age, vassa, number of ordained year, objective of ordinaion, academic institute, major subject, financial sponsor, exposure to television and newspaper media will have different attitude toward social development role. The results of the study show that student monks who studied diffferent major subjects in Maha Makut buddhist University had different attitude toward social development role. In other words, student monks who studied sociology as their major subject agreed with the role of monks toward social development much more than those who chose English, religion-philosophy and Pali-Sanskrit as their major subjects. In addtion, it was likely that other factors such as vassa, academic institute, frequency of exposure to television media would have an impact on the attitude of the student monks toward the social development role. Furthermore in overall, most student monks in this study realized many social problems and put the priority on the moral deterioration, poverty and unemployment problems. They also had the view that monks should take part in solving various social problems such as moral deterioration, polluted environment, narcotics, etc. However, these student monks seemed not to have clear idea on reasons and methods to solve such social problems.
For the role of monks in the future, most student monks in thsi study had the opinion that, in addition to Dhamma dissemination, monks should play the role on education and spiritual development. Moreover, the student monks in this study fully agreed that monks should take an active role in social development with the priority on spiritual development, arts, cultural and environmental conservation; Dhamma dissemination; education and social welfare respectively. The student monks in this study expressed their views toward problems of Sangha institute which obstructed monks from taking the social development role and also recommended some alternatives to solve these problems. The problems included inappropriate organization, administration and laws;obsolete education;unqualified personnel;lack of government support and lack of good publicity. Recommendations to solve these problems were to reorganize Sangha structue, to revise related laws and regulations, to revise the academic curriculum, to set up the more strict selection and inspection systems, to request the government to pay more attention to Sangha instituted and render more technical and financial support, and to set up the public relation agency.
Recommendaions Derived from these findings, the researcher has proposed recommendations as follows : 1. On the policy-level, Sangha institute should accept the other roles of social development, in addition to moral cultivation and Dhamma dissemination, by clearly indicating such roles in the Sangha policy. 2. On the operational level, Sangha institute and administration should be reorganized to keep up with the changing social conditions and to encourage the role of monks in soical development. So as to achieve this aim, systems specializing on various functions such as (new) aducational system, personnel development system, personnel utilization system for development activities, and inspection and evaluation system should be set up. These systems will encourage the self-development and participation of monks in social development which in turn will benefit the society as a whole.
3. In the short term, monks should be encouraged to get more knowledge and information from non-academic sources and social activities. Furthermore, the academic curriculum, particularly of the Pali studies, should be revised by adding more basic subjects such as social sciences, humanities, laws, etc. 4. In technical aspect, the scope of the study should be extended in terms of the area, the different sample group and the comparative study. Moreover, the new indicators of monks'attiude toward the social development role in this study should be continously developed in order to achieve more validity and reliability.
จากการศึกษาพบว่า พระสงฆ์ที่เรียนวิชาเอกในมหามกุฏราชวิทยาลัยต่างกัน มีทัศนคติต่อบทบาทในการพัฒนาสังคมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือพระสงฆ์ที่เรียนวิชาเอกสังคมวิทยา มีทัศนคติเห็นด้วยกับบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาสังคม สูงกว่าพระสงฆ์ที่เรียนวิชาเอกภาษาอังกฤษ วิชาเอกศาสนา-ปรัชญา และวิชาเอกบาลี-สันสกฤต และยังมีแนวโน้มว่าปัจจัยอื่น ๆ เช่น พรรษา สถาบันการศึกษา จำนวนครั้งในการติดตามสื่อโทรทัศน์ จะส่งผลให้พระสงฆ์มีทัศนคติต่อบทบาทในการพัฒนาสังคมบางด้านแตกต่างกันด้วย นอกจากนี้ ในภาพรวมพระสงฆ์ที่ศึกษา ส่วนใหญ่รับรู้ปัญหาสังคมด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และมีความเห็นว่าปัญหาสังคมที่ทุกฝ่ายควรเร่งแก้ไข ได้แก่ ปัญหาศีลธรรมเสื่อมโทรม ปัญหาความยากจนและการว่างงาน และยังเห็นว่าพระสงฆ์ควรมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาสังคมด้านต่าง ๆ เช่น ปัญหาศีลธรรมเสื่อมโทรม ปัญหาศิลปวัฒนธรรมเสื่อมสลาย ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหายาเสพติด เป็นต้น อย่างไรก็ดี พระสงฆ์เหล่านี้ ส่วนใหญ่ยังไม่ชัดเจนในเหตุผลที่ควรเข้าไปมีส่วนร่วมและวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าว.
สำหรับความเห็นเกี่ยวกับบทบาทของพระสงฆ์ในอนาคต นอกเหนือจากเผยแผ่ธรรมพระสงฆ์ที่ศึกษาส่วนใหญ่เห็นว่า บทบาทของพระสงฆ์ในอนาคตควรเป็นบทบาทด้านให้การศึกษาและพัฒนาจิตวิญาณ ในส่วนของทัศนคติต่อบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาสังคม พระสงฆ์ที่ศึกษาเห็นด้วยอย่างยิ่ง ต่อการมีบทบาทในการพัฒนาสังคมในภาพรวม และเมื่อพิจารณาบทบาทด้านต่าง ๆ ก็พบว่าพระสงฆ์ที่ศึกษาเห็นด้วยอย่างยิ่งต่อการมีบทบาทในการพัฒนาสังคมต่าง ๆ โดยเรียงลำดับการให้ความสำคัญจากบทบาทด้านพัฒนาจิตวิญญาณ บทบาทด้านส่งเสริมและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม บทบาทด้านเผยแผ่ธรรม บทบาทด้านให้การศึกษาและบทบาทด้านสังคมสงเคราะห์ พระสงฆ์ที่ศึกษาได้แสดงทัศนะเกี่ยวกับปัญหาของสถาบันสงฆ์อันเป็นอุปสรรคต่อบทบาทในการพัฒนาสังคม ตลอดจนได้เสนอแนะวิธีการแก้ไขปัญหาเหล่านั้น ได้แก่ ปัญหาองค์กร การบริหารการปกครอง และกฎหมายของสงฆ์ โดยเสนอแนะให้จัดองค์กรใหม่ และแก้ไขกฎหมายสงฆ์ปัญหาการศึกษาสงฆ์ล้าหลัง โดยเสนอแนะให้รัฐให้ความสำคัญแก่บทบาทของพระสงฆ์โดยสนับสนุนด้านกฎหมาย วิชาการและงบประมาณ และปัญหาขาดการประชาสัมพันธ์ที่ดี โดยเสนอแนะให้จัดตั้งหน่วยงานประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ความรู้และข่าวสารที่ถูกต้องแก่ประชาชนและสื่อมวลชน จากการศึกษาทัศนคติของพระสงฆ์ต่อบทบาทการพัฒนาสังคม ผู้ศึกษามีข้อเสนอแนะดังนี้ 1. ในเชิงนโยบาย สถาบันสงฆ์ควรยอมรับบทบาทใหม่ ๆ โดยระบุเป็นนโยบายและกำหนดไว้อย่างชัดเจน 2. ในเชิงของการปฏิบัติ ควรจัดองค์กร และเอื้อต่อการแสดงบทบาทใหม่ ๆ ของสถาบันสงฆ์ โดยให้มีระบบที่ดูแลรับผิดชอบในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะ ได้แก่ ระบบจัดการศึกษาของสงฆ์ระบบพัฒนาบุคลากรสงฆ์ ระบบจัดสรรบุคคลากรสงฆ์เพื่อกิจกรรมเชิงพัฒนา และระบบตรวจสอบและติดตามประเมินผล อันจะเป็นการเอื้อให้พระสงฆ์พัฒนาตนเอง และเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมมากขึ้น เป็นการสร้างคุณภาพและอำนวยประโยชน์สุขแก่สังคมสืบต่อไป 3. ในระยะสั้น ควรส่งเสริมให้พระสงฆ์ได้รับรู้ข่าวสาร แสวงหาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ นอกจากหลักสูตรการศึกษา และเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมให้มากขึ้น ปรับปรุงหลักสูตรการศึกษาการเรียนการสอนของพระสงฆ์ โดยเฉพาะการศึกษาภาษาบาลี โดยเพิ่มวิชาพื้นฐานทางสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และกฎหมาย เป็นต้น
4. ในทางวิชาการ ควรมีการขยายขอบเขตการศึกษาให้กว้างออกไปทั้งในแง่พื้นที่การศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ต่างออกไป รวมถึงการศึกษาเปรียบเทียบ อีกประการหนึ่งตัวชี้วัดทัศนคติของพระสงฆ์ต่อบทบาทการพัฒนาสังคมซึ่งสร้างขึ้นใหม่ในการศึกษาครั้งนี้ ควรได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความแม่นตรงและมีความเชื่อถือได้ยิ่ง ๆ ขึ้นไป.
This study has three main objectives i.e. to study the attitude of monks with bachelor degree of equal toward the social development role, to study factors which effect the attitude of these monks, and to study the role of these monks in various aspects of social development both at presesnt and in the future. The sample group consisted of student monks who were, at the time of the field study, studying the highest class in Pali studies at the central Dhamma Scripture School at Wat Sam Praya in Bangkok, and the last-academic-year student monks who were studying at the two Buddhist universities, namely, Maha Makut Buddhist University at Wat Bovornnives and Maha Chulalongkorn University at Wat Maha That. The accidental sampling was employed with the sample size of 185 samples while the questionnaires were used for data collection. The statistics used for analyzing data were percentage, arithmetic means and F-test.
In this study, the researcher has the hypotheses that student monk with different age, vassa, number of ordained year, objective of ordinaion, academic institute, major subject, financial sponsor, exposure to television and newspaper media will have different attitude toward social development role. The results of the study show that student monks who studied diffferent major subjects in Maha Makut buddhist University had different attitude toward social development role. In other words, student monks who studied sociology as their major subject agreed with the role of monks toward social development much more than those who chose English, religion-philosophy and Pali-Sanskrit as their major subjects. In addtion, it was likely that other factors such as vassa, academic institute, frequency of exposure to television media would have an impact on the attitude of the student monks toward the social development role. Furthermore in overall, most student monks in this study realized many social problems and put the priority on the moral deterioration, poverty and unemployment problems. They also had the view that monks should take part in solving various social problems such as moral deterioration, polluted environment, narcotics, etc. However, these student monks seemed not to have clear idea on reasons and methods to solve such social problems.
For the role of monks in the future, most student monks in thsi study had the opinion that, in addition to Dhamma dissemination, monks should play the role on education and spiritual development. Moreover, the student monks in this study fully agreed that monks should take an active role in social development with the priority on spiritual development, arts, cultural and environmental conservation; Dhamma dissemination; education and social welfare respectively. The student monks in this study expressed their views toward problems of Sangha institute which obstructed monks from taking the social development role and also recommended some alternatives to solve these problems. The problems included inappropriate organization, administration and laws;obsolete education;unqualified personnel;lack of government support and lack of good publicity. Recommendations to solve these problems were to reorganize Sangha structue, to revise related laws and regulations, to revise the academic curriculum, to set up the more strict selection and inspection systems, to request the government to pay more attention to Sangha instituted and render more technical and financial support, and to set up the public relation agency.
Recommendaions Derived from these findings, the researcher has proposed recommendations as follows : 1. On the policy-level, Sangha institute should accept the other roles of social development, in addition to moral cultivation and Dhamma dissemination, by clearly indicating such roles in the Sangha policy. 2. On the operational level, Sangha institute and administration should be reorganized to keep up with the changing social conditions and to encourage the role of monks in soical development. So as to achieve this aim, systems specializing on various functions such as (new) aducational system, personnel development system, personnel utilization system for development activities, and inspection and evaluation system should be set up. These systems will encourage the self-development and participation of monks in social development which in turn will benefit the society as a whole.
3. In the short term, monks should be encouraged to get more knowledge and information from non-academic sources and social activities. Furthermore, the academic curriculum, particularly of the Pali studies, should be revised by adding more basic subjects such as social sciences, humanities, laws, etc. 4. In technical aspect, the scope of the study should be extended in terms of the area, the different sample group and the comparative study. Moreover, the new indicators of monks'attiude toward the social development role in this study should be continously developed in order to achieve more validity and reliability.
Table of contents
Description
Methodology: F test
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2540.
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (พัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2540.