การจัดการนากุ้งร้างเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของชุมชนคลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม
Publisher
Issued Date
2012
Issued Date (B.E.)
2555
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
110 แผ่น : ; 30 ซม.
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
กษิภพ ฤทธิไชย (2012). การจัดการนากุ้งร้างเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของชุมชนคลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/1998.
Title
การจัดการนากุ้งร้างเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนของชุมชนคลองโคน อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงคราม
Alternative Title(s)
Abandoned shrimp farm management for sustainable development of Klong Kone Community Muang District, Samut Songkram Province
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพพื้นที่นากุ้งร้างตําบล คลองโคนอําเภอ เมือง จังหวัดสมุทรสงคราม ด้วยเทคโนโลยีการสํารวจระยะไกลและระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ศึกษาสภาพสังคมเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของชุมชนในมิติของการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยการ สัมภาษณ์เชิงลึกกบผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับ นากุ้งร้างอันประกอบด้วยเจ้าของนากุ้งร้างผู้นําชุมชน ชุมชนและเจ้าหน้าที่รัฐ ศึกษาความเป็นไปได้เชิงเศรษฐกิจที่เหมาะสมในการพัฒนาความยังยืนโดยการปลูกป่าชายเลนคืนสู่ระบบนิเวศ ขายคาร์บอนเครดิต และขายถ่านโดยใช้หลักการวิเคราะห์ มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) อัตราผลตอบแทน (IRR) และอัตราส่วนกำไรต้นทุน (BCA)และเสนอ แนวทางที่เหมาะสมในการจัดการนากุ้งร้างในมิติการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผลการศึกษาพบว่าตําบลคลองโคนมีพื้นที่นากุงร้างประมาณ 15,000 ไร่ และเมื่อลงสํารวจ สัมภาษณ์เชิงลึกพบว่าชุมชนคลองโคนเคยมีประสบการณ์ในการเลี้ยงกุ้ง และผลเสียหายที่เกิดขึ้น กระทบเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อมของชุมชน ปัจจุบัน (ปี2556) ชุมชนมีอาชีพเลี้ยง หอยแครง จับสัตว์นํ้า และปลูกป่าชายเลนเพิ่มขึ้นในพื้นที่นากุ้งร้างเพื่อเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิง อนุรักษ์ และพบว่าการปลูกป่าชายเลนเพื่อการอนุรักษ์มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) มากที่สุดคือ 728,190.19 บาทต่อไร่ รองลงมาก็คือเพื่อขายคาร์บอนเครดิตซึ่งมีมูลค่า 169,483.76 บาทต่อไร่ และ น้อยที่สุดคือเพื่อขายถ่าน มูลค่า 57,895. 69 บาทต่อไร่ค่าผลตอบแทนภายใน (IRR) พบวาการปลูกป่าชายเลนเพื่ออนุรักษ์, ขายคาร์บอนเครดิต และขายถ่านมีค่าร้อยละ 60 22และ 20 ตามลําดับ และ อัตราส่วนกำไรต้นทุน (BCA) พบวาปลูกป่าชายเลนการอนุรักษ์ขายคาร์บอนเครดิต และขายถ่าน มีมูลค่า 13.77 13.29และ 5.19 ตามลําดับต้นทุนของคาร์บอนเครดิตในการปลูกป่าชายเลนเพื่อเนื้อไม้มีค่า 2.6 ยูโรต่อmtCO2e แสดงว่าตลาดคาร์บอนควรมีราคาที่สูงกว่า 2.62ยูโรต่อmtCO2e โครงการนี้จึงจะมีกำไร สรุปได้ว่าชุมชน มีความสนใจในการจัดการนากุ้งร้างในรูปแบบของการปลูกป่าชายเลนเพื่อการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ขายคาร์บอนเครดิต และขายถ่าน แต่ชุมชนยังขาดปัจจัยทางด้านเงิน ลงทุนในระยะยาว การจัดการอยางเป็นระบบ และยังไม่มีความเข้าใจเกี่ยวกับคาร์บอนเครดิต การปลูกป่าชายเลนเพื่อการอนุรักษ์ ขายคาร์บอนเครดิต และขายถ่าน สามารถทําให้เกิดความสมดุลทั้ง ทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อการพัฒนานากุ้งร้างอย่างยั่งยืน
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์,