อิทธิพลของสารชักจูงที่มีต่อการยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
Publisher
Issued Date
2010
Issued Date (B.E.)
2553
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
247 แผ่น ; 30 ซม.
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
สุพัตรา เติมคุนานนท์ (2010). อิทธิพลของสารชักจูงที่มีต่อการยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/2103.
Title
อิทธิพลของสารชักจูงที่มีต่อการยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
Alternative Title(s)
Effect of persuasive message and information on nuclear power plant acceptance of secondary school students
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยเรื่องอิทธิพลของสารชักจูงที่มีต่อการยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาตอนปลาย เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Study) มีจุดมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาว่า นักเรียนที่ได้รับการชักจูงที่แตกต่างกัน จะมีการยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มากน้อยเพียงใด และพบ ในนักเรียนประเภทใดบ้าง 2) เพื่อศึกษาว่าอิทธิพลของสารชักจูงร่วมกับสถานการณ์หรือจิตลักษณะ เดิม ที่มีต่อการยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในปริมาณแตกต่างกันมากน้อยเพียงใด และพบใน นักเรียนประเภทใดบ้าง 3) เพื่อบ่งชี้ตัวแปรจําแนกทางจิตลักษณะเดิมและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง กับการยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในนักเรียนประเภทต่างๆ และ 4) เพื่อศึกษาอิทธิพลทางตรงและ ทางอ้อมของสารชักจูง สถานการณ์และจิตลักษณะเดิมที่มีต่อความเห็นด้วยในการตั้งโรงไฟฟ้า นิวเคลียร์ในนักเรียน งานวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัย Post Test Only With Control Group Design ทําการสุ่ม นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายเข้ากลุ่ม โดยไม่ลําเอียง (Random Assignment) จาก 5 โรงเรียน รวม จํานวนนักเรียนทั้งสิ้น 649 คน สุ่มแบ่งนักเรียนแต่ละห้องออกเป็น 4 กลุ่ม ซึ่งแต่ละกลุ่มมีนักเรียน ประมาณ 160 คน ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ให้อ่านสารชักจูงและเขียนชักจูงกลุ่มที่ 2 ให้อ่านสารชักจูงอย่าง เดียวกลุ่มที่ 3 ให้เขียนชักจูงอย่างเดียวและกลุ่มที่ 4 เป็นกลุ่มควบคุม เมื่หลังการจัดกระทําแล้วให้ ตอบแบบวัดการตรวจสอบการจัดกระทําและแบบตัวแปรต่าง ๆ ในงานวิจัยนี้ กลุ่มตัวแปรในการวิจัยนี้ประกอบด้วย 5 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มที่ 1 คือกลุ่มตัวแปรจัดกระทํา สาเหตุซึ่งอยู่ในรูปแบบของ2 X2 factorial designs ประกอบด้วยการอ่านสารชักจูงและการได้ เขียนชักจูงกลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มตัวแปรตาม คือ 1) การยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 2 ตัวแปร ประกอบด้วย ทัศนคติที่ดีต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และความพร้อมที่จะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และ2)ความเห็นด้วยในการให้ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในสถานที่ต่างๆ 4 แหล่งคือ ประเทศ จังหวัดรอบ กรุงเทพฯ จังหวัดที่นักเรียนอาศัยอยู่และในหมู่บ้านที่นักเรียนอาศัยอยู่กลุ่มที่ 3 คือกลุ่มจิตลักษณะ เดิม 4 ตัวแปรคือลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน สุขภาพจิต ความไว้วางใจผู้อื่น และความรู้สึกที่มี ต่อบทความ กลุ่มที่ 4 คือกลุ่มสถานการณ์ 3 ตัวแปรได้แก่ การรับรู้ข่าวสารการรับรู้ปทัสถานทาง สังคม และการอบรมเลี้ยงดูแบบรักสนับสนุนให้เหตุผลและกลุ่มที่ 5 ลักษณะชีวสังคมภูมิหลัง สถิติวิเคราะห์ 5 ประเภท ได้แก่ 1) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสามทาง 2) การ วิเคราะห์จําแนกประเภท 3) การวิเคราะห์อิทธิพลเชิงเส้น 4) การวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณ และ 5) การหาค่าสัมประสิทธิ์ สหสัมพันธิ์ซึ่งวิเคราะห์ข้อมูลในกลุ่มรวมและ 24 กลุ่มย่อย ผลการวิจัยที่สําคัญมีดังนี้ประการแรก พบผลดีของการอ่านสารชักจูงใน 5 ตัวแปรตาม คือ ทัศนคติที่ดีต่อโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ความเห็นด้วยในการให้ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้ง 4 แหล่งคือ ในประเทศไทย ในจังหวัดรอบๆ กรุงเทพฯ ในจังหวัดที่นักเรียนอยู่และในหมู่บ้านที่นักเรียนอยู่ ผลเช่นนี้ปรากฏในกลุ่มรวม และกลุ่มย่อย ได้แก่ กลุ่มนักเรียนที่เป็นลูกคนแรกกลุ่มนักเรียนที่ มารดามีการศึกษาน้อย และกลุ่มนักเรียนที่บิดามีการศึกษาน้อย ประการที่ สอง พบผลดีของการเขียนชักจูงใน 3 ตัวแปรตาม คือความเห็นด้วยในการให้ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 3 แหล่งคือใน จังหวัดรอบๆ กรุงเทพฯ ในจังหวัดที่นักเรียนอยู่และในหมู่บ้านที่นักเรียนอยู่ ปรากฏผลเด่นชัด โดยเฉพาะใน กลุ่มนักเรียนที่เป็นลูกคนแรก และกลุ่มนักเรียนที่มารดาไม่มีเงินเดือนประจํา ประการที่ สาม พบผลดีในการอ่านสารชักจูง เขียนชักจูงและมีความไว้วางใจผู้อื่นมากปรากฏใน 3 ตัวแปรคือความเห็นด้วยในการให้ตั้งโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในจังหวัดรอบๆ กรุงเทพฯ ในจังหวัดที่นักเรียนอยู่และในหมู่บ้านที่นักเรียนอยู่ พบผลเด่นชัดใน กลุ่มนักเรียนที่อายุมากกลุ่มนักเรียนที่เป็นลูกคนแรกกลุ่มนักเรียนที่เกรดเฉลี่ยน้อยและกลุ่มนักเรียนที่มารดาไม่มีเงินเดือนประจํา และ ประการที่สี่ตัวแปรจําแนกในกลุ่มรวมจําแนกการยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ของนักเรียน ใน ปริมาณที่แตกต่างกันได้ถูกต้อง 73.2% โดยมีตัวแปรจําแนกที่สําคัญ ได้แก่การรับรู้ข่าวสารการ รับรู้ปทัสถานทางสังคม และความรู้สึกที่มีต่อบทความ ข้อเสนอแนะการพัฒนา มีดังนี้ 1) การชักจูงด้วยวิธีการให้อ่านสารชักจูงควรเริ่มจากกลุ่ม นักเรียนที่เป็นลูกคนแรกกลุ่มนักเรียนที่มารดาไม่มีเงินเดือนประจํา และกลุ่มนักเรียนที่บิดาไม่มี เงินเดือนประจํา 2) การชักจูงด้วยการเขียนชักจูงในนักเรียนที่เรียนต่างจังหวัด ควรเริ่มจากกลุ่ม นักเรียนที่เป็นลูกคนแรกและกลุ่มนักเรียนที่มารดาไม่มีเงินเดือนประจํา และ 3) ในกลุ่มนักเรียนที่ไม่ได้รับการชักจูง ควรส่งเสริมให้มีลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน มีการอบรมเลี้ยงดูแบบรัก สนับสนุนให้เหตุผลและการรับรู้ข่าวสารมาก ซึ่งจะสามารถจําแนกการยอมรับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ได้มาก
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2010