Now showing items 137-156 of 210

  • Thumbnail

    สมรรถนะบุคลากรในอุตสาหกรรมไมซ์เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมความภักดีต่อตราสินค้าแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 

    ธนพล รุ่งเรือง; โชคชัย สุเวชวัฒนกูล (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของสมรรถนะบุคลากรใน อุตสาหกรรมไมซ์กับพฤติกรรมความภักดีต่อตราสินค้าของผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2) เพื่อศึกษาอิทธิพล ของสมรรถนะบุคลากรในอุตสาหกรรมไมซ์ที่มีผลต่อพฤติกรรมความภักดีต่อตราสินค้าของ ผู้เข้าร่วมกิจกรรม 3) เพื่อเสนอแนะสมรรถนะบุคลากรในอุตสาหกรรมไมซ์เพื่อเสริมสร้าง พฤติกรรมความภักดีต่อตราสินค้าแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
  • Thumbnail

    องค์ประกอบการท่องเที่ยวปั่นจักรยานและความพึงพอใจที่ส่งผลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในการท่องเที่ยวปั่นจักรยาน : กรณีศึกษาเขตธนบุรี 

    รุ่งรัตน์ วรรณะอยู่; เจริญชัย เอกมาไพศาล (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2020)

    ปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ให้ความสำคัญกับการยกระดับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการพัฒนากิจกรรมทางการท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวซึ่งถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะนำไปสู่การตัดสินใจเลือกจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว สำหรับประเทศไทยนั้นการท่องเที่ยวโดยจักรยานจึงถือเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวอีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มุ่งเน้นการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวด้วยตนเองจากท้องถิ่นที่มีความแตกต่าง และจากความโดดเด่นในแง่เมืองท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานคร เขตธนบุรีจึงถือเป็นสถานที่ที่สำคัญอ ...
  • Thumbnail

    แนวทางการขับเคลื่อนนโยบายการดำเนินงานตามกรอบข้อตกลงร่วมว่าด้วยการยอมรับคุณสมบัติบุคลากรวิชาชีพการท่องเที่ยวอาเซียน: กรณีศึกษาเปรียบเทียบประเทศไทยกับประเทศสมาชิกอาเซียน 

    ชนินทร์ ศรีวิสุทธิ์; พัทรียา หลักเพ็ชร (สถาบันบัณพิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)

    การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เพื่อศึกษาบริบทการดำเนินการตามข้อตกลงร่วมว่า ด้วยการยอมรับคุณสมบัติบุคลากรวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวอาเซียน 2) เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ และประเด็นช่องว่างในการขับเคลื่อนนโยบายการดำเนินงานตามข้อตกลงร่วมว่าด้วยการยอมรับ คุณสมบัติบุคลากรวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวอาเซียนของประเทศไทยและประเทศสมาชิกอาเซียน 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการขับเคลื่อนนโยบายการดำเนินงานตามข้อตกลงร่วมว่าด้วยการยอมรับ คุณสมบัติบุคลากรวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวอาเซียน โดยใช้แนวคิดหลักด้านการติดตามและ ประเมินผล การวิเคราะห์เปรียบเทียบ (Benchmarki ...
  • Thumbnail

    แนวทางการจัดการการตลาดการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการในอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช 

    กฤษณา ธนวัฒนาภรณ์; สุดสันต์ สุทธิพิศาล (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการท่องเที่ยวที่คาดหวังของ ผู้ประกอบการในอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นและความ คาดหวังด้านทางการจัดการการตลาดการท่องเที่ยวของผู้ประกอบการในอำเภอขนอม จังหวัด นครศรีธรรมราช และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการการตลาดการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของ ผู้ประกอบการในอำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช วิธีการศึกษาแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก การศึกษารูปแบบการท่องเที่ยวที่คาดหวังของผู้ประกอบการ โดยศึกษาจากการสัมภาษณ์เชิงลึกจาก ผู้เชี่ยวชาญ และการประชุมเชิงปฏิบัติการ ส่วนที่สอง การสำรวจภา ...
  • Thumbnail

    แนวทางการจัดการการท่องเที่ยว กรณีศึกษา : แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ชุมชนคลองบางหลวง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 

    จินดาภา กลิ่นเมือง; แสงแข บุญศิริ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของคนในชุมชน ที่มีต่อแนวทางการจัดการการท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ของชุมชนคลองบางหลวง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานครเพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักท่องเที่ยว ที่มีต่อแนวทางการจัดการการท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ของชุมชนคลองบางหลวง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร และเพื่อนําเสนอแนวทางการจัดการการท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ของชุมชนคลองบางหลวง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างของงานวิจัยนี้ มีจํานวน 400 คนแบ่งเป็นประชากรในชุมชนคลองบางหลวง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานครจํานวน 250 ...
  • Thumbnail

    แนวทางการจัดการการท่องเที่ยว พื้นที่ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล 

    สุไรดา กาซอ; ไพฑูรย์ มนต์พานทอง (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)

    การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาบริบทของชุมชนต่อการจัดการท่องเที่ยวในพื้นที่ ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวในพื้นที่ ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล 3) เพื่อประเมินศักยภาพการจัดการการท่องเที่ยวในพื้นที่ ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล 4) เพื่อเสนอแนวทางในการจัดการการท่องเที่ยวในพื้นที่ ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล ประชากรสำหรับการวิจัยนี้ ได้แก่นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในพื้นที่ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูลจำนวน 400 คน ใช้วิธีการเก็บข้อม ...
  • Thumbnail

    แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวแบบฟาร์มสเตย์ที่เหมาะสมกับประเทศไทย 

    ลิขิต กนกหิรัญญากร; กนกกานต์ แก้วนุช (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    การวิจัยในครั้งนี้ถูกจัดทําขึ้นเพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันของการท่องเที่ยวแบบฟาร์มสเตย์ในประเทศไทย ศึกษาการจัดการการท่องเที่ยวแบบฟาร์มสเตย์ในประเทศไทย และศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวแบบฟาร์มสเตย์ เพื่อเสนอแนะแนวทางในการจัดการการท่องเที่ยวแบบฟาร์มสเตย์ที่เหมาะสมกับประเทศไทย ให้กับเกษตรกร หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนําไปใช้เพื่อลดปัญหาความยากจน การเคลื่อนย้ายแรงงาน สร้างรายได้เสริม รวมถึงการสร้างความภาคภูมิใจในวิถีชีวิตวัฒนธรรมที่ถูกผูกร่วมไว้กับการทําเกษตรให้คงอยู่กับประเทศไทยสืบไป การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยแบบสัมภาษณ์ในการเก็บข ...
  • Thumbnail

    แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านโพนแบบมีส่วนร่วม อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ 

    กฤติยา สมศิลา; กนกกานต์ แก้วนุช (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    การศึกษาเรื่อง แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านโพนแบบมีส่วนร่วม อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านโพนแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านโพนแบบมีส่วนร่วมในอำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ รวมทั้งศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านโพนแบบมีส่วนร่วม และเพื่อเสนอแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านโพนแบบมีส่วนร่วม อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยการสัมภาษณ์และจัดสนทนากลุ่มเจ้าหน้าที่หน่วยงานราชการ เจ้าหน้าที่ชุมชน ...
  • Thumbnail

    แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวในบริบทพื้นที่ขัดแย้งกรณีศึกษา: จังหวัดยะลา 

    มูฮำหมัดอาดีส เหล็กดี; ไพฑูรย์ มนต์พานทอง (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2020)

    การศึกษาวิจัยเรื่อง “แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวในบริบทพื้นที่ขัดแย้ง กรณีศึกษาจังหวัดยะลา” วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมและความต้องการในการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในจังหวัดยะลา 2) เพื่อประเมินศักยภาพและความพร้อมด้านการจัดการการท่องเที่ยวของจังหวัดยะลา 3) เพื่อศึกษาการรับรู้ของนักท่องเที่ยวต่อสถานการณ์ความขัดแย้งในจังหวัดยะลา และ 4) เพื่อกำหนดแนวทางพัฒนาการท่องเที่ยวของจังหวัดยะลาภายใต้บริบทความขัดแย้งในจังหวัดยะลา ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้กำหนดใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม (Mixed Method Methodology) ...
  • Thumbnail

    แนวทางการจัดการความปลอดภัยของเกสต์เฮ้าส์ในย่านถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานคร 

    อธิป นนทกะตระกูล; เทิดชาย ช่วยบำรุง (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2014)

    การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทการจัดการความปลอดภัยของเกสต์เฮ้าส์โดยผู้ประกอบการย่านถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานครในปัจจุบัน 2) ศึกษาข้อจำกัดด้านบุคลากรที่รับผิดชอบด้านการจัดการความปลอดภัยของเกสต์เฮ้าส์ ย่านถนนข้าวสารกรุงเทพมหานคร 3) ศึกษาความพึงพอใจและความต้องการของผู้เข้าพักชาวต่างชาติต่อการจัดการความปลอดภัยในเกสต์เฮ้าส์ ย่านถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานคร และ 4)เสนอแนวทางการจัดการความปลอดภัยในเกสต์เฮ้าส์ ย่านถนนข้าวสาร กรุงเทพมหานคร โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ คือ การวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์ ...
  • Thumbnail

    แนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงศาสนาสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทยในพุทธมณฑล ประจำจังหวัดสุพรรณบุรี 

    อัยยรัช อาภาศิลป์; วรรษิดา บุญญาณเมธาพร (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2020)

    วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงศาสนาสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย ในพุทธมณฑลประจำจังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว การจัดการเชิงพื้นที่ และการจัดการการท่องเที่ยว ในพุทธมณฑลประจำจังหวัดสุพรรณบุรี 2) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยว การจัดการเชิงพื้นที่ และการจัดการการท่องเที่ยวในพุทธมณฑลประจำจังหวัดสุพรรณบุรี 3) เพื่อวิเคราะห์สมการโครงสร้างของโมเดลการจัดการการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มาท ...
  • Thumbnail

    แนวทางการจัดการผลกระทบทางสังคมจากการพัฒนาการท่องเที่ยวกรณีศึกษา เกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล 

    อาภาภรณ์ หาโส๊ะ; กนกกานต์ แก้วนุช (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)

    การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทัศนคติของประชาชนที่มีต่อผลกระทบทางสังคมจากการพัฒนาการท่องเที่ยวบนเกาะหลีเป๊ะในปัจจุบัน 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อทัศนคติของประชาชนที่มีต่อผลกระทบทางสังคมจากการพัฒนาการท่องเที่ยวบนเกาะหลีเป๊ะในปัจจุบัน 3) ศึกษาทัศนคติของประชาชนที่มีต่อผลกระทบทางสังคมที่ส่งผลต่อการสนับสนุน (พฤติกรรมของเจ้าบ้าน) การพัฒนาการท่องเที่ยวบนเกาะหลีเป๊ะในปัจจุบัน และ 4) เพื่อเสนอแนวทางการจัดการผลกระทบทางสังคมจากการพัฒนาการท่องเที่ยวบนเกาะหลีเป๊ะในปัจจุบัน โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Methods Research) ในการศึกษาตามวัต ...
  • Thumbnail

    แนวทางการจัดการผลกระทบทางสังคมที่เกิดจากการท่องเที่ยวในตำบลส่วนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี 

    ฐิติยา ไม้แก้ว; ไพฑูรย์ มนต์พานทอง (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016)

    การวิจัยนี้เป็นการวิจยัเชิงปริมาณ (Quantitative Research) จำแนกตามตัวแปรเพศ อายุ ศาสนา ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้และระยะเวลาที่อาศัยในพื้นที่กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชน ตำบลสวนผึ้งจำนวน 385 คนโดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการ วิเคราะห์คือ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t-test และ F-test มี วัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความแตกต่างของตัวแปรด้านประชากร ต่อผลกระทบทางสังคมและ ความคาดหวังของชุมชนต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่เกิดจากการท่องเที่ยวในตำบลสวนผึ้ง อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของชุม ...
  • Thumbnail

    แนวทางการจัดการมาตรฐานอาหารเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต 

    วิมลรัตน์ บุญศรีรัตน์; ไพฑูรย์ มนต์พานทอง (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)

    การศึกษาวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Research) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจอาหารและร้านอาหารพื้นเมืองในจังหวัดภูเก็ต 2) เพื่อประเมินการจัดการอาหารเพื่อการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต 3) เพื่อสร้างแนวทางการจัดการมาตรฐานอาหารเพื่อการท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ใช้แบบสอบถามประธานชมรมเมืองเก่า จังหวัดภูเก็ต มัคคุเทศก์ และพ่อครัวหรือแม่ครัว (Chef) จำนวน 38 คน และการวิจัยเชิงปริมาณ คือ ใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับคุณภาพมาตรฐานอาหารเพื่อการท่องเที่ยว 8 ...
  • Thumbnail

    แนวทางการธำรงรักษาบุคลากรระดับปฏิบัติการของโรงแรม 4 ดาว ในจังหวัดภูเก็ต 

    อนุพงษ์ หมื่นชัยยะ; แสงแข บุญศิริ (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยความผูกพันของพนักงานที่มีต่อองค์การที่มีอิทธิพลต่อการธำรงรักษาบุคลากรระดับปฏิบัติการของโรงแรม 4 ดาว ในจังหวัดภูเก็ต 2) เพื่อศึกษาปัจจัยคุณภาพชีวิตการทำงานที่มีอิทธิพลต่อการธำรงรักษาบุคลากรระดับปฏิบัติการของโรงแรม 4 ดาว ในจังหวัดภูเก็ต 3) เพื่อศึกษาปัจจัยการพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพที่มีอิทธิพลต่อการธำรงรักษาบุคลากรระดับปฏิบัติการของโรงแรม 4 ดาว ในจังหวัดภูเก็ต 4) เพื่อเสนอแนะแนวทางการธำรงรักษาบุคลากรระดับปฏิบัติการของโรงแรม 4 ดาว ในจังหวัดภูเก็ต โดยได้ใช้วิธีแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) ...
  • Thumbnail

    แนวทางการปรับใช้วรรณกรรมสินไซโดยชุมชนเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 

    วนิดา อ่อนละมัย; สุดสันต์ สุทธิพิศาล (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015)

    วิทยานิพนธ์เรื่องแนวทางการปรับใช้วรรณกรรมสินไซโดยชุมชนเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อรวบรวมข้อมูลด้านการปรับใช้วรรณกรรมสินไซ เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของคนในชุมชนที่มีต่อการปรับใช้วรรณกรรมสินไซเพื่อท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของหน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจที่มีต่อการปรับใช้วรรณกรรมสินไซเพื่อท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และ 4) เพื่อเสนอแนวทางการปรับใช้วรรณกรรมสินไซเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ระเบียบวิธีวิจัยท ...
  • Thumbnail

    แนวทางการฝึกอบรมด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 

    พัทธมน คำนูเอนก; กนกกานต์ แก้วนุช (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)

    การศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเพื่อศึกษาความต้องการฝึกอบรมด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 2) เพื่อเสนอแนวทางการฝึกอบรมด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก (ชลบุรี ระยอง จันทบุรีและตราด) และดำเนินการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้บริหารหรือหัวหน้าสายงานการท่องเที่ยวที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดฝึกอบรมด ...
  • Thumbnail

    แนวทางการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเรือสำราญ อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี  

    ภาณุมาศ เกตุแก้ว; ไพฑูรย์ มนต์พานทอง (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)

    การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาคุณลักษณะและพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเรือสำราญที่เดินทางท่องเที่ยวในอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) เพื่อประเมินศักยภาพของการจัดการการท่องเที่ยวเรือสำราญของอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฏร์ธานี และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเรือสำราญของอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฏร์ธานี โดยการใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณเป็นการรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามจากนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางโดยเรือสำราญมายังอำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 400 คน ผู้วิจัยวิเครา ...
  • Thumbnail

    แนวทางการพัฒนาการจัดการคุณภาพการบริการที่พักขนาดเล็กในท่าอากาศยานดอนเมือง กรุงเทพมหานคร 

    ชนกสุดา ชนะกุล; เทิดชาย ช่วยบำรุง (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2021)

    งานวิจัยชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการเลือกใช้บริการที่พักขนาดเล็กในท่าอากาศยานดอนเมือง กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจกลับมาใช้บริการซ้ำที่พักขนาดเล็ก ในท่าอากาศยานดอนเมือง กรุงเทพมหานคร 3) เพื่อประเมินคุณภาพการจัดการการบริการที่พักขนาดเล็กในท่าอากาศยานดอนเมือง กรุงเทพมหานคร และ 4) เพื่อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการจัดการคุณภาพการบริการที่พักขนาดเล็กในท่าอากาศยานดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยการใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ กลุ่มตัวอย่างคือนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ ...
  • Thumbnail

    แนวทางการพัฒนาการจัดการท่าเรือสำหรับการท่องเที่ยวเรือสำราญของประเทศไทย กรณีศึกษาท่าเรือแหลมฉบัง 

    สุรพร มุลกุณี; ไพฑูรย์ มนต์พานทอง (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017)

    งานวิจัยชิ้นนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวเรือสำราญ 2) เพื่อประเมินศักยภาพของการจัดการท่าเรือแหลมฉบังในปัจจุบัน 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาท่าเรือการจัดการท่าเรือแหลมฉบังของประเทศไทย ใช้ระเบียบวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Research Methodology) ร่วมกันระหว่างการวิจัยแบบปริมาณ ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางมากับเรือสำราญที่ใช้บริการท่าเรือแหลมฉบังจำนวน 400 คน และระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview) ...