Browsing คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม by Title
Now showing items 30-49 of 118
-
การถอดบทเรียนความสำเร็จในการปรับตัวต่อผลกระทบจากภัยแล้งของชุมชน: ศึกษากรณี ชุมชนบ้านลิ่มทอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2020);
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสถานการณ์ปัญหาภัยแล้งและการดำเนินการเพื่อแก้ปัญหา และวิเคราะห์ความสำเร็จในการปรับตัวต่อผลกระทบจากภัยแล้งของชุมชนบ้านลิ่มทอง ตำบลหนองโบสถ์ อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้นำชุมชนและผู้ที่อยู่อาศัยในชุมชนบ้านลิ่มทอง และผู้บริหารและบุคลากรขององค์การบริหารส่วนตำบลและการสังเกตการณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาตามกรอบการประเมิน CIPP-I Model ผลการวิจัย พบว่า ชุมชนบ้านลิ่มทองเป็นพื้นที่ที่ประสบปัญหาภัยแล้ง คือ ขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร ... -
การบริหารจัดการและการดำเนินโครงการอุทยานแห่งชาติสีเขียวด้านขยะมูลฝอยของอุทยานแห่งชาติภูเรือ จังหวัดเลย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2020);
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระบบการจัดการขยะมูลฝอยในปัจจุบัน รวมถึงประเภทและปริมาณของขยะมูลฝอยของอุทยานแห่งชาติภูเรือ จังหวัดเลย การประเมินการปฏิบัติตามเกณฑ์ด้านการจัดการขยะมูลฝอยของโครงการประกวดอุทยานแห่งชาติสีเขียว (Green national park) และเพื่อเสนอแนะแนวทางการจัดการขยะมูลฝอยที่เหมาะสมสำหรับอุทยานแห่งชาติดังกล่าว เป็นการศึกษาแบบผสมผสานทั้งวิธีการศึกษาเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวข้องกับการจัดการขยะมูลฝอยของอุทยานแห่งชาติภูเรือและผู้ผลิตขยะมูลฝอยภายในพื้นที่ ... -
การประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการดำรงชีพในการขับเคลื่อนการพัฒนาสู่ชุมชนเข้มแข็ง: กรณีศึกษาชุมชนคีรีวง อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019);
การศึกษาการดำรงชีพในชนบทควรคำนึงถึงบริบทของท้องถิ่นและพลวัตทางสังคมและสิ่งแวดล้อมระดับชุมชน รวมทั้งการเรียนรู้ของคนในชุมชน เพื่อนำทรัพยากรที่มีอยู่มาสร้างสรรค์และใช้ประโยชน์ ผ่านการประยุกต์ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ให้เหมาะกับยุคสมัย การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการดำรงชีพในชุมชนคีรีวง อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) ศึกษาการขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนคีรีวงสู่ความเป็นชุมชนเข้มแข็ง และ 3) วิเคราะห์การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้เพื่อการขับเคลื่อนการพัฒนาสู่ชนชนเข้มแข็งของชุมชนคีรีวง ... -
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาดสำหรับบำบัดน้ำเสียในชุมชนหมู่บ้านจัดสรร
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018);
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้น้ำของครัวเรือนที่มีผลต่อการจัดการน้ำเสียชุมชน ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาดในการจัดการน้ำเสียครัวเรือนก่อนปล่อยสู่ระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชน และศึกษาประสิทธิผลของเทคโนโลยีสะอาดในการจัดการน้ำเสียครัวเรือนจากระบบบำบัดน้ำเสียรวมของชุมชนก่อนปล่อยสู่คลองสาธารณะ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ และเก็บแบบสอบถามในชุมชนหมู่บ้านกิตตินิเวศน์ เขตบางกะปิ ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ กรรมการชุมชนหมู่บ้านกิตตินิเวศน์ สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 10 คน และคัดเลือกครัวเรือนในชุมชน ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 291 คน ... -
การประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากระบบบำบัดน้ำเสียชุมชนในจังหวัดชลบุรีที่บริหารจัดการโดยองค์การจัดการน้ำเสีย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2020);
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การดำเนินงานด้านการจัดการน้ำเสีย ประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากระบบบำบัดน้ำเสีย และเสนอแนะแนวทางการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและแนวทางการปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสียในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ที่บริหารจัดการโดยองค์การจัดการน้ำเสียให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ได้แก่ โรงปรับปรุงคุณภาพน้ำแสนสุขเหนือ โรงปรับปรุงคุณภาพน้ำแสนสุขใต้ โรงปรับปรุงคุณภาพน้ำเทศบาลเมืองศรีราชา และสถานีปรับปรุงคุณภาพน้ำเทศบาลตำบลบางเสร่ ซึ่งมีวิธีการศึกษาสำหรับการวิเคราะห์การดำเนินงานด้านการจัดการน้ำเสียโดยใช้การสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ... -
การประเมินความยั่งยืนของวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านแลงพัฒนา
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านแลงพัฒนา 2) เพื่อประเมินผลการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน 3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงาน และ 4) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนเพื่อความยั่งยืน การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสารรายงานทางบัญชีของวิสาหกิจชุมชนย้อนหลัง 1 ปี และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยผู้วิจัยได้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 1) กลุ่มผู้ปฏิบัติงานในวิสาหกิจชุมชน 2) กลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงาน และ 3) กลุ่มผู้สนับสนุนวิสาหกิจชุมชน ... -
การประเมินความเสี่ยงด้านนิเวศพิษวิทยาจากการตกค้างของสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ในระบบนิเวศนาข้าว จังหวัดชัยนาท : กรณีศึกษาเป็ดไล่ทุ่ง
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015);
จากปัญหาการใช้สารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ที่มากเกินไปของเกษตรกรในปัจจุบันได้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของเกษตรกร รวมถึง สุขภาพของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยในระบบนิเวศนั้นๆ เป็นอย่างมาก ดังนั้นผู้เขียนจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหานี้ จึงได้ทำการศึกษาการประเมินความเสี่ยงจากการตกค้างของสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ในระบบนิเวศนาข้าว จังหวัดชัยนาท กรณีศึกษา เป็ดไล่ทุ่ง จึงมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาชนิดและปริมาณของการตกค้างของสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ในนาข้าวที่มีการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งของจังหวัดชัยนาท 2) เพื่อศึกษาเส้นทางการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ของ ... -
การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรและแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างยั่งยืนของสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019);
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ และเสนอแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างยั่งยืนของสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากรายงานการปล่อยและดูดกลับก๊าซเรือนกระจกขององค์กรของสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 16 ภาค ในปีงบประมาณ 2559 (เดือนตุลาคม 2558 ถึงเดือนกันยายน 2559) แบบสอบถามข้อมูลและประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 7 (สระบุรี) ในปีงบประมาณ 2560-2561 ซึ่งมีการคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์เป็นค่าคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO2e) ที่เกิดจากกิจกรรม ... -
การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์และแนวทางการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบยั่งยืนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศีกษา สำนักงานเขตบางแค
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016);
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแหล่งกําเนิดปริมาณของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสํานักงานเขตบางแค กรุงเทพมหานคร ประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กรตลอดจนวิเคราะห์หาแนวทางในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของกิจกรรมในองค์กรโดยใช้หลักการพัฒนาแบบยั่งยืน สําหรับใช้ในสํานักงานเขตบางแค เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามตัวแทนหน่วยงานทั้งหมด 10 หน่วยงานและการสัมภาษณ์ บุคลากรของสํานักงานเขตบางแค จํานวน 643 คน โดยการคํานวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์เป็นค่าคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (CO 2 e) ที่เกิดจากกิจกรรมต่างๆ และก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งใช้แนวทางการป ... -
การประเมินน้ำต้นทุนเเละความต้องการใช้น้ำเกษตรกรรมในพื้นที่ลุ่มน้ำยม
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018);
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความเพียงพอของน้ำในปัจจุบันจากสถานการณ์ปริมาณน้ำต้นทุนและความต้องการใช้น้ำด้านเกษตรกรรม และประเมินสถานการณ์ของน้ำต้นทุนและความต้องการใช้น้ำเพื่อการเกษตรกรรมในอนาคตจากปัจจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในปี พ.ศ. 2564 นำไปสู่จัดทำข้อเสนอแนะในด้านการบริหารจัดการน้ำต้นทุนให้เพียงพอต่อความต้องการใช้น้ำเพื่อการเกษตรกรรม ผลการศึกษาความเพียงพอของน้ำรายปีพบว่า ลุ่มน้ำควน แม่น้ำยมตอนบน น้ำปี้ และน้ำแม่มอกเป็นลุ่มน้ำที่มีน้ำต้นทุนมีเพียงพอ น้ำงาว น้ำแม่คำมี น้ำแม่ต้า ห้วยแม่สิน ... -
การประเมินประสิทธิผลศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชนของ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016);
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการดำเนินงานศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชน ของส่วนพลังงานชุมชน ฝ่ายกิจการเพื่อสังคม บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และ 2) ศึกษาปัจจัย ที่ส่งผลต่อการดำเนินงานและผลสำเร็จศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชน ของส่วนพลังงานชุมชน ฝ่ายกิจการเพื่อสังคม บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) โดยใช้กรอบแนวการศึกษา ตามรูปแบบ CIPP Model กับรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับคณะกรรมการศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชนทั้ง 4 ภูมิภาค จำนวน 78 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติพรรณนา สถิติอนุมาน และพรรณาความ ผลการศึกษาจากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ... -
การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนตามอนุสัญญาว่าด้วยการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในบริบทข้ามพรมแดน ค.ศ. 1991
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016);
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนตามอนุสัญญาว่าด้วยการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในบริบทข้ามพรมแดน ค.ศ. 1991 และ 2) ศึกษาแนวทางในการนำการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมข้ามพรมแดนตามอนุสัญญาว่าด้วยการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในบริบทข้ามพรมแดน ค.ศ. 1991 ไปใช้ในทางปฏิบัติ ในการศึกษาได้ใช้วิธีการเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และการพรรณนาตรรกะ (Logical Descriptive Analysis) โดยข้อมูลในการศึกษาชิ้นนี้คือข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) โดยศึกษาและเก็บข้อมูลจากตำรา บทความทางวิชาการ ... -
การประเมินผลการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016);
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เป็นสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างยาวนานและมีประสิทธิภาพ จึงเป็นที่น่าสนใจว่า สถาบันฯ มีแนวทางในการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมอย่างไรให้ประสบความสำเร็จ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการดำเนินงาน ประเมินผลการดำเนินงาน รวมถึงปัญหา และอุปสรรคที่มีผลต่อการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันฯ และเสนอแนะ แนวทางพัฒนาการดำเนินงานดังกล่าวงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้หลักการประเมินผลเชิง ดุลยภาพ (Balanced Scorecard) ในการศึกษา เก็บรวมรวมข้อมูลโดยกา ... -
การประเมินผลการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018);
งานวจิยัคร้ังน้ีเป็นงานวจิยัเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม เพื่อประเมินประสิทธิผลและเสนอแนวทางในการ พัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษา โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงสุราษฎร์ธานี-ชุมทางหาดใหญ่-สงขลา โดยเก็บรวบรวมข้อมูล จากการสัมภาษณ์แบบเชิงลึกกับกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโครงการ ประกอบด้วยประชาชนและ ผู้นำชุมชนในพื้นที่โครงการ หน่วยงานราชการส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น เจ้าของโครงการ บริษัทที่ปรึกษา นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม และองค์การพัฒนา ... -
การประเมินผลการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการสะพานข้ามอ่างเก็บน้ำลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2016);
การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการพัฒนาประเทศเป็นสิ่งจําเป็นต่อการยกระดับ คุณภาพชวีตประชาชน อย่างไรก็ตามการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ จําเป็นต้องพิจารณา ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่อาจจะเกิดขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลระบบ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ปัญหาและอุปสรรค รวมถึงเสนอแนวทาง การปรับปรุงระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม กรณีศึกษาโครงการสะพานข้ามอ่างเก็บน้ำลําปาว จังหวัดกาฬสินธุ์โดยใช้ระเบียบวิธีวีจิยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการศึกษา พบว่า การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ มีการดำเนินก ... -
การประเมินผลระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย กรณีศึกษาโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรองสายสีทอง
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018);
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อประเมินผลระบบการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการระบบขนส่งมวลชนขนาดรองสายสีทอง ตลอดจนปัญหาอุปสรรคในการประเมินผล กระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการฯ รวมท้ังนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงระบบการประเมินผล กระทบสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยให้ประสบความสำเร็จมากยิ่งขึ้น การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิง คุณภาพ (Qualitative Research) ที่ได้ประยุกต์ใช้ตัวแบบการประเมินผล CIPP Model มาเป็นกรอบ แนวคิดในการศึกษาและโดยปรับรูปแบบให้เหมาะสมกับการประเมินผลระบบการประเมินผล กระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โดยมีองค์ประกอบที่นำมาพิจารณา 5 องค์ประกอบหลัก คือ ... -
การประเมินศักยภาพสิ่งแวดล้อมเชิงพื้นที่ในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน : กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2020);
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอพื้นที่และแนวทางการจัดการที่เหมาะสมในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในจังหวัดสงขลา งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้กระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงพื้นที่ (Regional Environmental Assessment : REA) มีเกณฑ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี จากนั้นให้ค่าน้ำหนักด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (Analytic Hierarchy Process : AHP) ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) เพื่อรับฟังความคิดเห็น ผลจากการศึกษาพบว่า ตำบลสะบ้าย้อย อำเภอสะบ้าย้อย ... -
การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) ของยุทธศาสตร์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ : กรณีศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015);
งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษายุทธศาสตร์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษของจังหวัดกาญจนบุรี 2) เพื่อประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมจากทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางในการป้องกันและบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น โดยทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์ 3 ทางเลือก ได้แก่ 1) คือ ไม่นำยุทธศาสตร์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษมาใช้ 2) คือ มีการนำยุทธศาสตร์บางยุทธศาสตร์มาใช้ และ 3) คือ นำยุทธศาสตร์ทั้งหมดมาใช้ การประเมินใช้กระบวนการวิเคราะห์ตามลำดับชั้น (Analytical Hierarchy Process: AHP) โดยการเปรียบเทียบระหว่างทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์ทั้ง 3 ... -
การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์: ทางเลือกในการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2017);
การวิจัยนี้ศึกษายุทธศาสตร์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย และกำหนดทางเลือกในการพัฒนาและประเมินผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จากทางเลือกในการพัฒนาดังกล่าว เพื่อเสนอทางเลือกในการพัฒ นาที่จะส่งผลด้านลบน้อยที่สุด แต่มีผลด้านบวกมากที่สุดต่อเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการป้องกันและบรรเทาผล ด้านลบจากทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์ 3 ทางเลือก ได้แก่1) ไม่มีการนำยุทธศาสตร์การพัฒนาเขต เศรษฐกิจพิเศษมาใช้ 2) มีการนํายุทธศาสตร์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษบางยุทธศาสตร์มาใช้ 3) มีการนำยุทธศาสตร์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทั้งหมดมาใช ... -
การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ของแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย
(สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2015);
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและประเมิบผลกระทบของแผบยุทธศาสตร์การพัฒณา เขตเศรษฐกิจพิเศษ อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราช โดยใช้หลักการประเมินสิ่งแวคล้อมระดับยุทธศาสตร์ (Strategic Environmental Assessment: SEA) ประกอบการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และเสนอแนวทางป้องกันหรือบรรเทาผลกระทบที่คาคว่จะเกิดขึ้น โดยการเปรียบเทียบทางเลือกเชิงยุทธศาสตร์จาก 3 ทางเลือก ได้แก่ ทางเลือกที่ 1 ไม่นำยุทธศาสตร์การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษไปดำเนินการในพื้นที่ ทางเลือกที่ 2 นำยุทธศาสตร์ที่เสนอตามแผนพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ 3 ยุทธศาสตร์มาดำเนินการ และทางเลือกที่ 3 ...