ทฤษฎีพื้นฐานและสถานภาพการสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมในวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ของประเทศไทย (2541-2555)
Files
Publisher
Issued Date
2013
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
193 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b183828
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ปาริชาติ หอมเกษร (2013). ทฤษฎีพื้นฐานและสถานภาพการสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมในวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ของประเทศไทย (2541-2555). Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3022.
Title
ทฤษฎีพื้นฐานและสถานภาพการสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมในวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ของประเทศไทย (2541-2555)
Alternative Title(s)
Grounded theory and current status of CSR communication in theses and independent studies in Thailand (1998-2012)
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างทฤษฎีพื้นฐานจากแนวทางการศึกษาและอธิบายสถานภาพการศึกษาการสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคม (CSR) ในงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาของประเทศไทย การศึกษาครั้งนี้ได้นำบทความเรื่อง “การสร้างแบบจำลองการสื่อสารระหว่างบุคคลจากการวิเคราะห์ด้วยมุมมองทางทฤษฎีพื้นฐาน” (Stamp, 1999) มาเป็นต้นแบบในการศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือ วิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษาด้านการสื่อสาร CSR ที่จัดทำขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2541-2555 จำนวน 94 ฉบับ
งานวิจัยฉบับนีมี้คำถามนำวิจัย 2 ประเด็น ได้แก่ 1) ในช่วงปี พ.ศ. 2541-2555 มีการศึกษาการสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมในวิทยานิพนธ์และสารนิพนธ์ในแนวทางใดบ้างและ 2) แบบจำลองการสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมที่ได้จากการศึกษาโดยใช้ทฤษฎีพื้นฐานมีลักษณะอย่างไร
ผลการวิจัยพบแนวทางการศึกษาใน 8 ลักษณะ ดังนี้1) การดำเนินงานและการสื่อสาร CSR, 2) การสื่อสาร CSR ในมิติผู้รับสาร, 3) อิทธิพลของการสื่อสาร CSR, 4) การสื่อสาร CSR ในมิติผู้ส่งสาร, 5) การเปิดเผยข้อมูล CSR, 6) ผลกระทบของการสื่อสาร CSR, 7) ความสอดคล้องของการสื่อสาร CSR กับประเด็นอื่นๆที่เกี่ยวข้อง และ 8) การสร้างเครื่องมือและการจัดการความรู้ทั้งนี้การพัฒนาทฤษฎีพื้นฐานจากแนวทางการศึกษาข้างต้นแสดงให้เห็นเงื่อนไขและข้อจำกัดของการศึกษาการสื่อสาร CSR ในประเทศไทยเนื่องจากแบบจำลองการสื่อสาร CSR ที่ได้มีโครงสร้างแบบแผนเป็นเพียงแค่กระบวนการสื่อสารขั้นพื้นฐาน “S-M-C-R” (ผู้ส่งสาร-สาร-ช่องทางการสื่อสาร-ผู้รับสาร) ข้อเสนอแนะของงานวิจัยชิ้นนี้คือการศึกษาวิจัยด้านการสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมในอนาคตควรพิจารณาโครงสร้างแบบแผนที่สูงมากกว่าระดับขั้นพื้นฐาน “S-M-C-R”
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.((การสื่อสารประยุกต์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2556.