การศึกษาพระสงฆ์กับการพัฒนาท้องถิ่น : กรณีศึกษาวัดเทพปูรณาราม ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
by พระมหาอนุชา สิริวณฺโณ (พละกุล)
Title: | การศึกษาพระสงฆ์กับการพัฒนาท้องถิ่น : กรณีศึกษาวัดเทพปูรณาราม ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น |
Other title(s): | A study of monks and locality development : A case study of Theppuranaram Temple Thaphra District Muang District Khon Kaen Province |
Author(s): | พระมหาอนุชา สิริวณฺโณ (พละกุล) |
Advisor: | สุวิชา เป้าอารีย์ |
Degree name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การบริหารการพัฒนาสังคม |
Degree department: | คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2013 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาท้องถิ่น กรณีศึกษาวัดเทพปูรณาราม ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อศึกษาองค์ประกอบที่ส่งผลต่อบทบาทพระสงฆ์ในการพัฒนาท้องถิ่น และ3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของพระสงฆ์ในการพัฒนาท้องถิ่นและเพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมบทบาทพระสงฆ์ในการพัฒนาท้องถิ่น ส่วนการศึกษาใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์ในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย 1) พระสงฆ์ระดับผู้นำ 5 รูป 2) ผู้นำระดับท้องถิ่น 6 ท่าน และ3) ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดขอนแก่น 1 ท่าน รวมทั้งหมด 12 รูป/ท่าน และได้จัดการสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group) 2 กลุ่ม มีสมาชิกทั้งหมด 13 ท่าน ผลการศึกษาพบว่า 1) บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาท้องถิ่น โดยภาพรวมแล้วพระสงฆ์ยังคงมีบทบาทด้านการพัฒนาในท้องถิ่นเสมอมา ด้วยการปรับใช้ภาระหน้าที่ทั้ง 6 ด้าน ซึ่งได้แก่ (1) การปกครอง พระสงฆ์ระดับเจ้าอาวาสยังคงทำหน้าที่ดูแลกิจการในวัดเป็นสำคัญ (2) การศาสนศึกษา ให้การส่งเสริมการศึกษาแก่พระสงฆ์สามเณรในวัด (3) การเผยแผ่ ตอบรับนโยบายของมหาเถรสมาคมทั้งของรัฐและของท้องถิ่น (4) การสาธารณูปการ ดำเนินการก่อสร้างศาสนสถานให้เพียงพอต่อพระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนทั่วไป (5) การศึกษาสงเคราะห์ พระสงฆ์ที่มีศักยภาพด้านสอนหลักธรรมมีบทบาทในการสอนจริยธรรมในสถานศึกษา และ(6) การสาธารณสงเคราะห์มีส่วนในการร่วมก่อสร้างสาธารณประโยชน์ที่สำคัญในชุมชน อย่างไรก็ตามหากเป็นพระสงฆ์ที่ไม่ใช่พระนักพัฒนาก็ดำเนินการพัฒนาไปตามบทบาทหน้าที่ที่ตนดำรงอยู่ บางรูปอยู่ในฐานะผู้ส่งเสริมบทบาท บางรูปอยู่ในฐานะผู้ปฏิบัติการ แต่หากเป็นพระสงฆ์นักพัฒนาท่านจะดำเนินการเอง โดยจัดทำในรูปโครงการส่งเสริมชุมชน มีทั้งมุ่งพัฒนารายได้ พัฒนาจริยธรรม และพัฒนาการศึกษา ส่วนบทบาทพระสงฆ์วัดเทพปูรณารามยังคงเป็นบทบาทตามลักษณะงานที่คณะสงฆ์กำหนดให้ โดยความโดดเด่นคือการส่งเสริมค่านิยมทางจริยธรรมด้วยกลวิธีเผยแผ่ต่างๆ แต่ที่น่าสนใจคือการยกระดับคุณธรรมด้วยวรรณกรรมพื้นบ้าน การนี้จึงส่งผลเชิงกระตุ้นเตือนวิธีใหม่ต่อทัศนคติของพุทธศาสนิกชน(4) 2) องค์ประกอบที่ส่งผลต่อบทบาทพระสงฆ์ในการพัฒนาท้องถิ่น มีผลมาจากพุทธดำรัสพระธรรมวินัย และวัดที่มีลักษณะเกื้อกูลสงเคราะห์พุทธศาสนิกชนในระบบความสัมพันธ์ ผนวกกับกฎระเบียบทางคณะสงฆ์ที่ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ให้พระสงฆ์ควบคุมดูแล ทั้งผู้ใต้ปกครองและประชาชนตามความสามารถ แต่บทบาทที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ชุมชนมักมาจากความมุ่งมั่นเสียสละเฉพาะตัวของพระสงฆ์แต่ละรูป โดยมักมีแรงผลักดันมาจากสภาพปัญหาในชุมชนที่บางครั้งหน่วยงานท้องถิ่นก็ตอบสนองต่อรูปแบบการปฏิบัติของพระสงฆ์ 3) ปัญหาและอุปสรรคของพระสงฆ์ในการพัฒนาท้องถิ่นและแนวทางการส่งเสริมบทบาทพระสงฆ์ในการพัฒนาท้องถิ่น หากเป็นการดำเนินงานอย่างปกติปัญหาหลักคือระบบคู่สัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนภาระงาน ทั้งความสัมพันธ์ของพระสงฆ์แต่ละระดับและความสัมพันธ์กับประชาชนในแต่ละสถานะตำแหน่ง ทั้งนี้พระสงฆ์ระดับผู้ปกครองขาดการกำกับดูแลบริหารสั่งการและติดตามประเมินผล ผนวกกับขาดการกำหนดนโยบายเชิงพัฒนาอย่างสอดคล้องกับนโยบายท้องถิ่น แม้กระทั่งพระสงฆ์ก็ยังขาดทักษะเชิงลึกทั้งด้านหลักธรรมและศาสตร์สมัยใหม่ในการทำงานการพัฒนาหลายๆ รูปแบบ สำหรับแนวทางส่งเสริมต้องเริ่มที่องค์กรสงฆ์ควรปรับรูปแบบวิธีการทำงานของพระสงฆ์ให้สอดคล้องกับลักษณะทางสังคมใหม่ โดยที่เจ้าคณะผู้ปกครองต้องควบคุมและแก้ไขปัญหากระตุ้นให้วัดโดยเจ้าอาวาสต้องจัดกิจกรรมให้เกิดสัมพันธ์ที่ดีต่อชุมชนและผู้นำของแต่ละหน่วยงาน พร้อมทั้งโน้มน้าวชี้แจงบทบาทพระสงฆ์ต่อสังคมถึงการอิงอาศัยกันต่อการพัฒนาอย่างจริงใจ ด้วยการเปิดรับวิสัยทัศน์ระดับองค์กร ผู้นำ และชุมชน ให้เกิดการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป ประกอบด้วย 1) การพัฒนาในปัจจุบันซึ่งมีหน่วยงานท้องถิ่นรับผิดชอบ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ลดบทบาทของพระสงฆ์นักพัฒนาหรือไม่ หรือเพราะพระสงฆ์ไม่มีรูปแบบและวิธีการพัฒนาที่เหมาะสมกับยุคสมัยปัจจุบัน และการพัฒนาโดยพระสงฆ์ที่เป็นรูปธรรมต้องดำเนินการภายใต้โครงการหรือกิจกรรมที่ส่งเสริมอาชีพเท่านั้นหรือไม่อย่างไร และ2) วรรณกรรมทางพระพุทธศาสนาซึ่งผสมผสานความเป็นไปในท้องถิ่น มีอิทธิพลต่อความคิดของพุทธศาสนิกชนในท้องถิ่นอย่างไร |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2556. |
Subject(s): | สงฆ์กับการพัฒนาชุมชน -- ไทย -- ขอนแก่น -- ท่าพระ |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 248 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Rights holder(s): | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3070 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View b185057.pdf ( 1.15 MB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
|