รูปแบบความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างระหว่างพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของ องค์การกับการแลกเปลี่ยนความรู้ของพนักงานซ่อมบารุงอากาศยาน บริษัทมหาชน
by อิสรภาพ สาลี
Title: | รูปแบบความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างระหว่างพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีของ องค์การกับการแลกเปลี่ยนความรู้ของพนักงานซ่อมบารุงอากาศยาน บริษัทมหาชน |
Other title(s): | Structural equation modeling of organiational citizenship behavior and knowledge sharing : a case study of aircraft technicians in a public company |
Author(s): | อิสรภาพ สาลี |
Advisor: | สมบัติ กุสุมาวลี |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ |
Degree department: | คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2013 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง และทดสอบ ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ และพฤติกรรมย่อยของ พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ 5 พฤติกรรม ได้แก่ พฤติกรรมการช่วยเหลือผู้อื่น พฤติกรรมการคา นึงถึงผู้อื่น พฤติกรรมการอดทนอดกลั้น พฤติกรรมการให้ความร่วมมือ และ พฤติกรรมการสานึกในหน้าที่ ที่ส่งผลต่อการแลกเปลี่ยนความรู้ กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานซ่อม บา รุงอากาศยานบริษัทมหาชนแห่งหนึ่ง จา นวน 336 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 3 ฉบับ ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างที่ ทาการศึกษา แบบสอบถามพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ และแบบสอบถามการ แลกเปลี่ยนความรู้ ทาการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis: CFA) เพื่อเป็นการยืนยันความถูกต้องเหมาะสมขององค์ประกอบที่ ใช้ในการวัดตัวแปร และใช้การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง และทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) โมเดลการวัดพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ และองค์ประกอบย่อย ได้แก่ พฤติกรรมการช่วยเหลือผู้อื่น พฤติกรรมการคา นึงถึงผู้อื่น พฤติกรรมการอดทนอดกลั้น พฤติกรรม การให้ความร่วมมือ และพฤติกรรมการสานึกในหน้าที่ มีความตรงเชิงโครงสร้าง หรือมีความ สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 2) โมเดลการวัดการแลกเปลี่ยนความรู้ ได้แก่ การแลกเปลี่ยนความรู้ที่เห็นได้ชัด และการ แลกเปลี่ยนความรู้ที่เป็นนัย มีความตรงเชิงโครงสร้าง หรือมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ และพฤติกรรมย่อยของพฤติกรรมการเป็น สมาชิกที่ดีขององค์การ 4 พฤติกรรม ได้แก่ พฤติกรรมการช่วยเหลือผู้อื่น พฤติกรรมการคา นึงถึง ผู้อื่น พฤติกรรมการให้ความร่วมมือ และพฤติกรรมการสานึกในหน้าที่ มีอิทธิพลทางตรงเชิงบวก ต่อการแลกเปลี่ยนความรู้ ส่วนพฤติกรรมการอดทนอดกลั้นไม่พบว่าส่งผลต่อการแลกเปลี่ยน ความรู้ โดยพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การมีอา นาจในการทา นายการแลกเปลี่ยนความรู้ เท่ากับ 67% ผลที่พบนี้ทา ให้ระบุได้ว่า การแลกเปลี่ยนความรู้ต้องอาศัยพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดี ต่อองค์การจึงเป็ นพฤติกรรมที่องค์การควรส่งเสริม หรือพัฒนาให้เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ควรมี การศึกษากับพนักงานในกลุ่มอื่น เพื่อค้นหาโครงสร้างพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การ และการแลกเปลี่ยนความรู้ที่แน่ชัดในบริบทสังคมไทยต่อไป |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2556 |
Subject(s): | การเรียนรู้องค์การ
พฤติกรรมองค์การ |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 157 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3200 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|