dc.contributor.advisor | อรองค์ ชาคร | th |
dc.contributor.author | ธีระพล มะอาจเลิศ | th |
dc.date.accessioned | 2016-10-21T07:54:51Z | |
dc.date.available | 2016-10-21T07:54:51Z | |
dc.date.issued | 2013 | th |
dc.identifier.other | b186096 | th |
dc.identifier.uri | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3227 | th |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การสื่อสารประยุกต์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2556. | th |
dc.description.abstract | งานวิจัยเล่มนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ คือ 1. เพื่อศึกษารูปแบบการนา เสนองานนิพนธ์ในการ
เผยแผ่พุทธธรรมของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) และ 2. เพื่อศึกษาแนวคิดและภาษาที่ใช้
ในการโน้มน้าวใจในการเผยแผ่พุทธธรรมในงานนิพนธ์ของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี)
โดยศึกษาในลักษณะแบบ Content Analysis ซึ่งผู้วิจัยนา ผลงานนิพนธ์ในชุดธรรมประยุกต์สาหรับ
คนรุ่นใหม่ ทั้งหมด 13 เล่ม มาศึกษาวิเคราะห์เชิงคุณภาพและปริมาณ เพื่อนา ไปสู่บทสรุปโดยการ
อภิปรายผลในเชิงพรรณาร่วมกับการนาเสนอสถิติที่เกี่ยวข้อง
ผลการวิจัยนั้นสามารถตอบคา ถามนา วิจัยทั้ง 3 ข้อ เริ่มจากคา ถามเรื่องรูปแบบการตั้งชื่อ
หัวข้อเรื่องในผลงานนิพนธ์ชุดธรรมประยุกต์สาหรับคนรุ่นใหม่ของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิร
เมธี) ผลการวิจัยพบว่าผู้เขียนใช้วลีในการตั้งชื่อหัวเรื่องมากที่สุด คิดเป็น 61.25% รองลงมาคือ การ
ใช้ประโยค คิดเป็น 36.25% และอันดับที่ 3 คือ การใช้คาสัมผัสคล้องจอง คิดเป็น 25.63%
นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้เขียนใช้วิธีการตั้งชื่อหัวข้อเรื่องร่วมกันตั้งแต่ 2 - 4 ลักษณะ ซึ่งที่พบมากที่สุด
คือแบบคู่สัมพันธ์ (สองลักษณะ) โดยพบการใช้คา สัมผัสคล้องจองคู่กับการใช้วลีมากที่สุด (12.5%)
รองลงมาคือแบบสามลักษณะสัมพันธ์ ซึ่งรูปแบบที่พบมากที่สุด ได้แก่ การใช้คา สัมผัสคล้องจอง
การใช้ประโยค และการใช้โวหารภาพพจน์ประกอบกัน (1.88)
สาหรับคาถามเรื่องกลวิธีและอุบายประกอบการสอนของพระพุทธเจ้าที่พบในผลงาน
นิพนธ์ชุดธรรมประยุกต์สาหรับคนรุ่นใหม่ของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) นั้น ผลการวิจัย
พบว่า ผู้เขียนใช้กลวิธีและอุบายประกอบการสอนของพระพุทธเจ้ามากที่สุด คือ การยกอุทาหรณ์
และการเล่านิทานประกอบ คิดเป็น 79.37% รองลงมาคือ การเปรียบเทียบด้วยข้ออุปมา คิดเป็น 53.12% และอันดับ 3 คือ อุบายการเลือกคนและการปฏิบัติรายบุคคล คิดเป็น 29.37% นอกจากนี้
ยังพบไว้ว่า ผู้เขียนใช้กลวิธีและอุบายประกอบการสอนของพระพุทธเจ้าร่วมกันตั้งแต่ 2-4 กลวิธี
ซึ่งที่พบมากที่สุดคือแบบคู่สัมพันธ์ (สองลักษณะ) โดยพบการยกอุทาหรณ์และการเล่านิทาน
ประกอบ คู่กับ การเปรียบเทียบด้วยข้ออุปมา (39.38%) รองลงมาคือแบบสามลักษณะสัมพันธ์ ซึ่ง
รูปแบบที่พบมากที่สุด ได้แก่ การยกอุทาหรณ์และการเล่านิทานประกอบ การเปรียบเทียบด้วยข้อ
อุปมา และการเล่นภาษา เล่นคา และใช้คา ในความหมายใหม่ (8.75%)
คา ถามนา วิจัยข้อสุดท้ายในเรื่องกลยุทธ์การสื่อสารเพื่อจูงใจที่พบในผลงานนิพนธ์ชุดธรรม
ประยุกต์สาหรับคนรุ่นใหม่ของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) นั้น ผลการวิจัยพบว่า ผู้เขียน
ใช้กลวิธีการเขียนเพื่อสื่อสารในการจูงใจชนิด “การเสนอแนะ เป็นวิธีการจูงใจหลีกเลี่ยงความ
คิดเห็นโต้แย้ง” มากที่สุด โดยคิดเป็น 86.25% รองลงมาคือ “การใช้บุคลิกหรือชื่อเสียงส่วนตัวเป็น
เครื่องจูงใจ” คิดเป็น 76.87% และอันดับที่ 3 คือ “การให้เหตุผลมีวิธีการเริ่มจากการให้ข้อเท็จจริง”
คิดเป็น 58.12% นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้เขียนใช้กลวิธีการเขียนเพื่อสื่อสารในการจูงใจร่วมกันตั้งแต่
2 กลวิธีขึ้นไป ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ลักษณะ คือ 1) คู่สัมพันธ์ ซึ่งคู่อันดับที่มากที่สุดคือ “การใช้
บุคลิกหรือชื่อเสียงส่วนตัวเป็นเครื่องจูงใจ” คู่กับ “การเสนอแนะ เป็นวิธีการจูงใจหลีกเลี่ยงความ
คิดเห็นโต้แย้ง” คิดเป็น 63.75% 2) สามลักษณะสัมพันธ์ ซึ่งประกอบด้วย “การเสนอแนะ เป็ น
วิธีการจูงใจหลีกเลี่ยงความคิดเห็นโต้แย้ง” “การให้เหตุผลมีวิธีการเริ่มจากการให้ข้อเท็จจริง” และ
“การใช้บุคลิกหรือชื่อเสียงส่วนตัวเป็นเครื่องจูงใจ” นั้นมีการใช้มากที่สุด คิดเป็น 35.63 % และ 3)
สี่ลักษณะสัมพันธ์ ซึ่งใช้ทั้งหมดทั้ง 4 กลวิธีร่วมกัน คิดเป็น 10.63%
ผลการวิจัยครั้งนี้นา ไปสู่ข้อเสนอแนะสาหรับผู้เขียนผลงานทางพระพุทธศาสนาเพื่อให้
สามารถบรรลุถึงประสิทธิภาพในด้านรูปแบบการนา เสนอและกลยุทธ์การจูงใจผู้อ่านให้ติดตาม อีก
ทั้งยังมีข้อเสนอแนะในการทา วิจัยครั้งต่อไป เช่น ควรศึกษาบริบทของผู้เขียนร่วมกับบริบทของ
ผู้อ่านในเชิงสา รวจทัศนคติต่อผลงานเขียนทางพระพุทธศาสนา หรือบริบทเชิงเปรียบเทียบระหว่าง
สื่อบันทึกเสียงธรรมบรรยายกับสื่อโทรทัศน์ที่นา เสนอรายการด้านพระพุทธศาสนา เป็นต้น | th |
dc.description.provenance | Submitted by Budsakorn Kaewpitakkan (toomool@gmail.com) on 2016-10-21T07:54:51Z
No. of bitstreams: 1
b186096.pdf: 4485318 bytes, checksum: 64c5b18c278c83cde0eb4bd90b22aad1 (MD5) | th |
dc.description.provenance | Made available in DSpace on 2016-10-21T07:54:51Z (GMT). No. of bitstreams: 1
b186096.pdf: 4485318 bytes, checksum: 64c5b18c278c83cde0eb4bd90b22aad1 (MD5)
Previous issue date: 2013 | th |
dc.format.extent | 303 แผ่น | th |
dc.format.mimetype | application/pdf | th |
dc.language.iso | tha | th |
dc.publisher | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
dc.rights | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) | th |
dc.subject | ว.วชิรเมธี | th |
dc.subject.other | การสื่อสาร | th |
dc.subject.other | วาทศิลป์ | th |
dc.subject.other | พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) | th |
dc.subject.other | พุทธศาสนา -- การเผยแพร่ | th |
dc.title | การวิเคราะห์รูปแบบการนำเสนอและกลยุทธ์การสื่อสารในการเผยแผ่พุทธธรรมของพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) : กรณีศึกษาผลงานนิพนธ์ชุดธรรมประยุกต์สำหรับคนรุ่นใหม่ | th |
dc.title.alternative | Analysis of presentation styles and communication process in the propagation of Buddhism by V. Vajiramedhi : a case study of literary work in applied dharma for new generation | th |
dc.type | Text | th |
mods.genre | วิทยานิพนธ์ | th |
mods.physicalLocation | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา | th |
thesis.degree.name | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต | th |
thesis.degree.level | Master's | th |
thesis.degree.discipline | การสื่อสารประยุกต์ | th |
thesis.degree.grantor | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ | th |
thesis.degree.department | คณะภาษาและการสื่อสาร | th |