นวัตกรรมอินเทอร์เน็ตมีมในการสื่อสารทางการเมืองไทย: ศึกษากรณี การคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมในปี พ.ศ. 2556
Publisher
Issued Date
2014
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
190 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
ba187883
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
คริษฐ์ ลิ้มตระกูล (2014). นวัตกรรมอินเทอร์เน็ตมีมในการสื่อสารทางการเมืองไทย: ศึกษากรณี การคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมในปี พ.ศ. 2556. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3612.
Title
นวัตกรรมอินเทอร์เน็ตมีมในการสื่อสารทางการเมืองไทย: ศึกษากรณี การคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมในปี พ.ศ. 2556
Alternative Title(s)
The innovation of internet memes in Thai political communication : A case study of opposition to the Amnesty Bill in 2013
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาเรื่อง นวัตกรรมอินเตอร์เน็ตมีมในการสื่อสารทางการเมืองไทย: ศึกษากรณีการคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ในปี พ.ศ. 2556 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1)
เพื่อศึกษารูปแบบและประเภทของอินเทอร์เน็ตมีมที่ใช้ในการสื่อสารทางการเมืองเพื่อคัดค้านร่าง
พระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ในปี พ.ศ. 2556 2) เพื่อศึกษาช่องทางการสื่อสารของอินเทอร์เน็ตมีมในสื่อสังคมออนไลน์ที่ใช้ในการสื่อสารทางการเมืองเพื่อคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมในปี พ.ศ.2556 และ 3) เพื่อศึกษาผลของนวัตกรรมอินเทอร์เน็ตมีมในสื่อสังคมออนไลน์ที่ใช้ในการสื่อสารทางการเมืองต่อการคัดค้านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม ในปี พ.ศ. 2556
ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบที่ใช้ในการโพสต์เพื่อแสดงความเห็นจนกลายเป็นอินเทอร์เน็ตมีมทางการเมืองอยู่ 6 รูปแบบ คือ การนำเสนอตนเอง (Self-promotion) ดาราจาเป็น (Inadvertent Celebrity) ข่าวลือ/ข่าวลวงในเมือง (Urban Rumors and Hoaxes) การประชาสัมพันธ์และการตลาด (Advertising and Marketing) การตัดต่อภาพ (Image Editing) และการอิงกระแสวัฒนธรรม ปัจจุบัน (References to Pop Culture) โดยแบ่งประเภทของอินเทอร์เน็ตมีมที่ใช้ในการคัดค้าน ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมออกเป็น 4 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ อินเทอร์เน็ตมีมประเภทข้อความ (Text Internet Meme) อินเทอร์เน็ตมีมประเภทรูปภาพ (Picture Internet Meme) อินเทอร์เน็ตมีมประเภทรูปภาพผสมข้อความ (Picture and Text Internet Meme) และอินเทอร์เน็ต มีมประเภทคลิปวิดีโอ (Video Clip Internet Meme) ส่วนช่องทางสาคัญในการนาอินเทอร์เน็ตมีมมาใช้ในการสื่อสารทางการเมืองไทยนัน้ มีอยู่ 2 ช่องทางหลัก คือ เว็บไซต์และเฟซบุ๊ก โดยมีการใช้ช่องทางในการสื่อสารทางเว็บไซต์มากกว่าช่องทางเฟซบุ๊กอยู่ไม่มากนัก นอกจากนั้น พบว่าผลของนวัตกรรมอินเทอร์เน็ตมีมในการสื่อสารทางการเมืองไทยนั้น สามารถพิจารณาได้ใน 2 ประการ คือ ประการแรกอินเทอร์เน็ตมีมในการสื่อสารทางการเมืองไทยกรณีการคัดค้าน พ.ร.บ. นิรโทษกรรม ในปี พ.ศ. 2556 ในรูปแบบอิงกระแสวัฒนธรรมปัจจุบัน และประเภทรูปภาพผสมข้อความ ได้รับความนิยมและกลายเป็นอินเทอร์เน็ตมีม และพัฒนาเป็นแอปพลิเคชั่นทางการเมืองในการสื่อสารเพื่อคัดค้าน พ.ร.บ. นิรโทษกรรม และประการที่สองการใช้อินเทอร์เน็ตมีมในการสื่อสารเพื่อคัดค้านร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรม ในปี พ.ศ. 2556 ประสบความสาเร็จ เนื่องจากนวัตกรรมอินเทอร์เน็ตมีมได้รับ การยอมรับ และมีการนามาประยุกต์ใช้ในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย ก่อให้เกิดการตื่นตัวทางการเมืองอย่างกว้างขวาง และกลายเป็นส่วนหนึ่งของมวลมหาประชาชน จนเป็นแรงบีบคั้นให้รัฐบาลในยุคนั้น ต้องประกาศยุบสภาไปในที่สุด
ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบที่ใช้ในการโพสต์เพื่อแสดงความเห็นจนกลายเป็นอินเทอร์เน็ตมีมทางการเมืองอยู่ 6 รูปแบบ คือ การนำเสนอตนเอง (Self-promotion) ดาราจาเป็น (Inadvertent Celebrity) ข่าวลือ/ข่าวลวงในเมือง (Urban Rumors and Hoaxes) การประชาสัมพันธ์และการตลาด (Advertising and Marketing) การตัดต่อภาพ (Image Editing) และการอิงกระแสวัฒนธรรม ปัจจุบัน (References to Pop Culture) โดยแบ่งประเภทของอินเทอร์เน็ตมีมที่ใช้ในการคัดค้าน ร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมออกเป็น 4 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ อินเทอร์เน็ตมีมประเภทข้อความ (Text Internet Meme) อินเทอร์เน็ตมีมประเภทรูปภาพ (Picture Internet Meme) อินเทอร์เน็ตมีมประเภทรูปภาพผสมข้อความ (Picture and Text Internet Meme) และอินเทอร์เน็ต มีมประเภทคลิปวิดีโอ (Video Clip Internet Meme) ส่วนช่องทางสาคัญในการนาอินเทอร์เน็ตมีมมาใช้ในการสื่อสารทางการเมืองไทยนัน้ มีอยู่ 2 ช่องทางหลัก คือ เว็บไซต์และเฟซบุ๊ก โดยมีการใช้ช่องทางในการสื่อสารทางเว็บไซต์มากกว่าช่องทางเฟซบุ๊กอยู่ไม่มากนัก นอกจากนั้น พบว่าผลของนวัตกรรมอินเทอร์เน็ตมีมในการสื่อสารทางการเมืองไทยนั้น สามารถพิจารณาได้ใน 2 ประการ คือ ประการแรกอินเทอร์เน็ตมีมในการสื่อสารทางการเมืองไทยกรณีการคัดค้าน พ.ร.บ. นิรโทษกรรม ในปี พ.ศ. 2556 ในรูปแบบอิงกระแสวัฒนธรรมปัจจุบัน และประเภทรูปภาพผสมข้อความ ได้รับความนิยมและกลายเป็นอินเทอร์เน็ตมีม และพัฒนาเป็นแอปพลิเคชั่นทางการเมืองในการสื่อสารเพื่อคัดค้าน พ.ร.บ. นิรโทษกรรม และประการที่สองการใช้อินเทอร์เน็ตมีมในการสื่อสารเพื่อคัดค้านร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรม ในปี พ.ศ. 2556 ประสบความสาเร็จ เนื่องจากนวัตกรรมอินเทอร์เน็ตมีมได้รับ การยอมรับ และมีการนามาประยุกต์ใช้ในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมาย ก่อให้เกิดการตื่นตัวทางการเมืองอย่างกว้างขวาง และกลายเป็นส่วนหนึ่งของมวลมหาประชาชน จนเป็นแรงบีบคั้นให้รัฐบาลในยุคนั้น ต้องประกาศยุบสภาไปในที่สุด
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557