• English
    • ไทย
  • ไทย 
    • English
    • ไทย
  • เข้าสู่ระบบ
ดูรายการข้อมูล 
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เรียกดูข้อมูล

ข้อมูลทั้งหมดของ คลังปัญญาชุมชน & กลุ่มข้อมูลวันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากรกลุ่มข้อมูลนี้วันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากร

บัญชีของฉัน

เข้าสู่ระบบ

มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ในมุมมุงทางกฎหมายมหาชน

by บัณฑิต บุญกระเตื้อง

ชื่อเรื่อง:

มาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ในมุมมุงทางกฎหมายมหาชน

ชื่อเรื่องอื่นๆ:

Section 12 of the national health Act B.E. 2550 in aspect of public law

ผู้แต่ง:

บัณฑิต บุญกระเตื้อง

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

บรรเจิด สิงคะเนติ

ชื่อปริญญา:

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

ระดับปริญญา:

Master's

สาขาวิชา:

นิติศาสตร์

คณะ/หน่วยงาน:

คณะนิติศาสตร์

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2557

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

การศึกษาเรื่องนี้มีความมุ่งหมายที่จะวิเคราะห์และตอบปัญหาทางกฎหมายมหาชนที่เกิดจากการบังคับใช้ มาตรา 12 ของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ซึ่งกฎหมายดังกล่าวเป็นสิทธิของบุคคลในการที่จะปฏิเสธการรักษาพยาบาลในขณะที่อยู่ในระยะสุดท้ายของชีวิต และแพทย์ได้วินิจฉัยตามมาตรฐานทางการแพทย์แล้วว่าไม่มีหนทางที่จะรักษาให้หายจากอาการ หรือโรคที่เป็นอยู่ได้โดยปฏิเสธที่จะรับกระบวนการรักษาจากเครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เขาถือว่าไม่เป็นประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิตของขา และอาจทำให้ต้องอยู่ในสภาพไร้ศศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และก่อให้เกิดปัญหาที่ตามมาต่อญาติพี่น้องและครอบครัว ที่ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายที่สูงมากจากเทคโนโลยีเหล่านั้น
ปัญหาที่ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการใช้สิทธิปฏิเสธการรักษาในประเทศไทย เกิดจากผู้เกี่ยวข้องโดยตรงต่อการใช้สิทธิของผู้ป่วย โดยเฉพาะแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ส่วนหนึ่งที่ยังไม่มีความเข้าใจในหลัการและเจตนารมณ์ซึ่งเป็นหลักการทางกฎหมายมหาชน อันได้แก่หลักการ สิทธิเสรีภาพ สิทธิมนุษยชน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มาตรา 12 ของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 จึงทำให้เกิดความกังวลว่าจะต้องรับผิด หากต้องปฏิบัติตามหนังสือแสดงเจตนาของผู้ป่วยที่ปฏิเสธการรักษาพยาบาล
จากการศึกษาและวิเคราะห์กฎหมายมาตรา 12 ของพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ในมุมมองทางกฎหมายมหาชน และปัญหาที่เกิดจากการบังคับใช้กฎหมาย ผู้ศึกษาขอเสนอว่ากฎหมายเกี่ยวกับสิทธิปฏิเสธการรักษาควรจะยกฐานะให้เป็นกฏหมายระดับพระราชบัญญัติโดยนำหลักเกณฑ์ในกฏกระทรวงมากำหนดเป็นมาตราที่สำคัญ ซึ่งกฎหมายปัจจุบันยังไม่มีบัญญัติไว้ชัดเจน เช่น บทบัญญัติที่กำหนดในเรื่องบทบาทหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้อง กำหนดให้มีบทลงโทษทั้งทางแพ่งและอาญากับบุคคลที่มีเจตนาทุจริต ฉ้อฉล และลงโทษแพทย์ที่ได้กระทำผิดจรรยาบรรณของแพทย์จนทำให้ผู้ป่วยเสียหายหรือได้รับอันตราย และเงื่อนไขอื่นๆ ที่จำเป็นในการคุ้มครองสิทธิของประชาชนบทบัญญัติที่เกี่ยวกับองค์กรและวิธีการในการตัดสินหรือไกล่เกลี่ยกรณีมีปัญหาการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้สิทธิของประชาชนตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อป้องกันหรือลดการฟ้องร้องให้เป็นคดีต่อศาลและควรส่งเสริมให้มีหน่วยงานในการให้บริการกับประชาชน ในการใช้สิทธิปฏิเสธการรักษาพยาบาลในวาระสุดท้ายของชีวิต ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องเป็นองค์กรของรัฐ ให้มีหน้าที่ในการให้บริการแก่ประชาชนและดำเนินการเกี่ยวกับการทำหนังสือแสดงเจตจำนงล่วงหน้าในการปฏิเสธ การรักษาพยาบาลและเป็นแหล่งรวมทั้งทางด้านกฎหมาย วิชาการ ศาสนาและด้านอื่นๆ เพื่อประโยชน์แก่ประชาชนและผู้ต้องการใช้สิทธิปฎิเสธการรักษาอย่างเป็นรูปธรรมและมีประสิทธิภาพ

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557

หัวเรื่องมาตรฐาน:

กฎหมาย

ประเภททรัพยากร:

วิทยานิพนธ์

ความยาว:

155 แผ่น

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

tha

สิทธิในการใช้งาน:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3654
แสดงระเบียนรายการแบบเต็ม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT)

Thumbnail
ดู
  • ba185730.pdf ( 8,948.43 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Theses [187]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×