แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวชายแดนแม่สาย - ท่าขี้เหล็ก อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
Publisher
Issued Date
2015
Issued Date (B.E.)
2558
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
191 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b189686
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ปิยะพร ศรีสมุทร (2015). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวชายแดนแม่สาย - ท่าขี้เหล็ก อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3721.
Title
แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวชายแดนแม่สาย - ท่าขี้เหล็ก อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
Alternative Title(s)
Tourism development approaches at Maesai-Tachileik Border, Maesai district, Changrai province
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพบริบทและศักยภาพด้านการท่องเที่ยวชายแดนแม่สาย-ท่าขี้เหล็ก อาเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวชายแดนแม่สาย-ท่าขี้เหล็ก อาเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และ3) เสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวชายแดนแม่สาย-ท่าขี้เหล็ก อาเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Method) ใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากแหล่งข้อมูลที่เป็นทางการ ทั้งข้อมูลภายในของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผลงานวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิใช้การสัมภาษณ์ (Interview) จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย ผู้ประกอบการให้บริการการท่องเที่ยว ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวและเจ้าหน้าที่ด้านการท่องเที่ยวของหน่วยงานภาครัฐ จานวน 11 คน แบบสอบถาม (Questionnaire) จากผู้ประกอบการชายแดนแม่สาย-ท่าขี้เหล็ก จานวน 100 ราย และอีกจากนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในพื้นที่ชายแดนแม่สาย-ท่าขี้เหล็ก จานวน 400 ราย จากนั้นทาการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จากผลการสัมภาษณ์ และใช้วิธีการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา จากแบบสอบถาม
ผลการวิจัย พบว่า สภาพบริบททางการท่องเที่ยวชายแดนแม่สายและท่าขี้เหล็กในมิติของความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยวถือได้ว่ายังต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและจริงจังเกี่ยวแหล่งท่องเที่ยว การดึงความเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ชายแดนออกมา การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานมีรูปแบบการพัฒนาที่ไม่สอดคล้องกัน เนื่องด้วยการเมืองภายในประเทศเมียนมาร์ที่ยังไม่ให้ความสาคัญต่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานชายแดนท่าขี้เหล็กทาให้รัฐบาลท้องถิ่นท่าขี้เหล็กไม่มีงบประมาณเพียงพอในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานได้อย่างทั่วถึง ผู้ประกอบการธุรกิจ/กิจการส่วนใหญ่เห็นว่าศักยภาพด้านการตลาดการท่องเที่ยวชายแดนแม่สาย-ท่าขี้เหล็กในผลรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.56 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.819 โดยให้มีความสาคัญสูงสุดต่อศักยภาพด้านปัจจัยพื้นฐานของพื้นที่ท่องเที่ยวชายแดนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.63 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.901 รองลงมาคือ ศักยภาพด้านร้านอาหารและเครื่องดื่ม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.57 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.750 ศักยภาพด้านที่พักมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.51 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.818 และศักยภาพด้านกิจกรรมการท่องเที่ยวมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.42 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.818 อยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน
สาหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวชายแดนแม่สายและท่าขี้เหล็กส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่เคยเดินทางมาท่องเที่ยวที่แม่สาย-ท่าขี้เหล็กแล้วกลับมาอีก คิดเป็นร้อยละ 89.2 เดินทางมาท่องเที่ยวแม่สาย-ท่าขี้เหล็กในช่วงเวลาวันหยุดราชการและ/หรือตามเทศกาลคิดเป็นร้อยละ 31.0 มีวัตถุประสงค์หลักในการเดินทางมาชายแดนแม่สาย-ท่าขี้เหล็ก เพื่อการท่องเที่ยวและพักผ่อน คิดเป็นร้อยละ 33.8 ส่วนใหญ่ไม่พักค้างคืน คิดเป็นร้อยละ 80.2 กิจกรรมที่นักท่องเที่ยวนิยมทาระหว่างเดินทางมาท่องเที่ยวชายแดนแม่สาย-ท่าขี้เหล็ก คือ ซื้อของใช้/ของงฝาก/ของที่ระลึก (ของอุปโภคบริโภค) และสินค้าฟุ่มเฟือยเป็นลาดับแรก คิดเป็นร้อยละ 82.7 โดยมีความพึงพอใจต่อศักยภาพด้านการตลาดการท่องเที่ยวชายแดนแม่สาย-ท่าขี้เหล็ก ในผลรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.31 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.911 โดยให้มีความพึงพอใจสูงสุดต่อด้านที่พักมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.37 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.937 รองลงมาคือ ด้านปัจจัยพื้นฐานของพื้นที่ท่องเที่ยวชายแดนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.32 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.999 ด้านร้านอาหารและเครื่องดื่มมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.31 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.869 และด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.26 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.841 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลางเช่นเดียวกัน
เมื่อเปรียบเทียบระดับศักยภาพด้านการตลาดการท่องเที่ยวชายแดนแม่สาย-ท่าขี้เหล็กของผู้ประกอบการ และระดับความพึงพอใจต่อศักยภาพด้านการตลาดการท่องเที่ยวชายแดนแม่สาย-ท่าขี้เหล็กของนักท่องเที่ยว ภาพรวมแล้วมีความแตกต่างกันของระดับความพึงพอใจต่อศักยภาพด้านการตลาดการท่องเที่ยวชายแดนแม่สาย-ท่าขี้เหล็ก นั่นหมายความว่า ช่องว่างของศักยภาพด้านการตลาดการท่องเที่ยวมีความไม่สอดคล้องกันที่ต้องได้รับการพัฒนาให้เกิดความสอดคล้องต่อความต้องการและการรองรับนักท่องเที่ยวซึ่งจากผลการศึกษาจะนาไปสู่ข้อเสนอแนวทาง1การพัฒนาการท่องเที่ยวชายแดนแม่สาย-ท่าขี้เหล็ก ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ ด้านปัจจัยพื้นฐานของพื้นที่ท่องเที่ยวชายแดนด้านร้านอาหารและเครื่องดื่ม ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว และด้านที่พัก
สาหรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวชายแดนแม่สายและท่าขี้เหล็กส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่เคยเดินทางมาท่องเที่ยวที่แม่สาย-ท่าขี้เหล็กแล้วกลับมาอีก คิดเป็นร้อยละ 89.2 เดินทางมาท่องเที่ยวแม่สาย-ท่าขี้เหล็กในช่วงเวลาวันหยุดราชการและ/หรือตามเทศกาลคิดเป็นร้อยละ 31.0 มีวัตถุประสงค์หลักในการเดินทางมาชายแดนแม่สาย-ท่าขี้เหล็ก เพื่อการท่องเที่ยวและพักผ่อน คิดเป็นร้อยละ 33.8 ส่วนใหญ่ไม่พักค้างคืน คิดเป็นร้อยละ 80.2 กิจกรรมที่นักท่องเที่ยวนิยมทาระหว่างเดินทางมาท่องเที่ยวชายแดนแม่สาย-ท่าขี้เหล็ก คือ ซื้อของใช้/ของงฝาก/ของที่ระลึก (ของอุปโภคบริโภค) และสินค้าฟุ่มเฟือยเป็นลาดับแรก คิดเป็นร้อยละ 82.7 โดยมีความพึงพอใจต่อศักยภาพด้านการตลาดการท่องเที่ยวชายแดนแม่สาย-ท่าขี้เหล็ก ในผลรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.31 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.911 โดยให้มีความพึงพอใจสูงสุดต่อด้านที่พักมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.37 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.937 รองลงมาคือ ด้านปัจจัยพื้นฐานของพื้นที่ท่องเที่ยวชายแดนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.32 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.999 ด้านร้านอาหารและเครื่องดื่มมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.31 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.869 และด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.26 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.841 ซึ่งอยู่ในระดับปานกลางเช่นเดียวกัน
เมื่อเปรียบเทียบระดับศักยภาพด้านการตลาดการท่องเที่ยวชายแดนแม่สาย-ท่าขี้เหล็กของผู้ประกอบการ และระดับความพึงพอใจต่อศักยภาพด้านการตลาดการท่องเที่ยวชายแดนแม่สาย-ท่าขี้เหล็กของนักท่องเที่ยว ภาพรวมแล้วมีความแตกต่างกันของระดับความพึงพอใจต่อศักยภาพด้านการตลาดการท่องเที่ยวชายแดนแม่สาย-ท่าขี้เหล็ก นั่นหมายความว่า ช่องว่างของศักยภาพด้านการตลาดการท่องเที่ยวมีความไม่สอดคล้องกันที่ต้องได้รับการพัฒนาให้เกิดความสอดคล้องต่อความต้องการและการรองรับนักท่องเที่ยวซึ่งจากผลการศึกษาจะนาไปสู่ข้อเสนอแนวทาง1การพัฒนาการท่องเที่ยวชายแดนแม่สาย-ท่าขี้เหล็ก ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ ด้านปัจจัยพื้นฐานของพื้นที่ท่องเที่ยวชายแดนด้านร้านอาหารและเครื่องดื่ม ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว และด้านที่พัก
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ)) -- สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558