• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะการจัดการการท่องเที่ยว
  • GSTM: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะการจัดการการท่องเที่ยว
  • GSTM: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

สมรรถนะบุคลากรในอุตสาหกรรมไมซ์เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมความภักดีต่อตราสินค้าแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

by ธนพล รุ่งเรือง

Title:

สมรรถนะบุคลากรในอุตสาหกรรมไมซ์เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมความภักดีต่อตราสินค้าแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

Other title(s):

สมรรถนะบุคลากรในอุตสาหกรรมไมซ์เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมความภักดีต่อตราสินค้าแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

Author(s):

ธนพล รุ่งเรือง

Advisor:

โชคชัย สุเวชวัฒนกูล

Degree name:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ

Degree department:

คณะการจัดการการท่องเที่ยว

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2015

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของสมรรถนะบุคลากรในอุตสาหกรรมไมซ์กับพฤติกรรมความภักดีต่อตราสินค้าของผู้เข้าร่วมกิจกรรม 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลของสมรรถนะบุคลากรในอุตสาหกรรมไมซ์ที่มีผลต่อพฤติกรรมความภักดีต่อตราสินค้าของผู้เข้าร่วมกิจกรรม 3) เพื่อเสนอแนะสมรรถนะบุคลากรในอุตสาหกรรมไมซ์เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมความภักดีต่อตราสินค้าแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research Method) และใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มผู้เข้าร่วมกิจกรรมไมซ์ อันได้แก่ กิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อการจัดการประชุมหรือสัมมนาองค์กร กิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล กิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อการจัดการประชุมหรือสัมมนาระดับชาติหรือนานาชาติ กิจกรรมการท่องเที่ยวเพื่อการจัดการแสดงสินค้าหรือนิทรรศการ และกิจกรรมการท่องเที่ยวพิเศษ จำนวน 213 คน จากกิจกรรมไมซ์ทั่วประเทศ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ซึ่งประกอบด้วยค่าการแจกแจงความถี่ (Frequency) และค่าร้อยละ (Percentage) และสถิติเชิงอ้างอิง(Inferential Statistics) ซึ่งประกอบด้วยการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (Correlation Analysis) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) จากนั้นจึงนำการวิเคราะห์ข้อมูลในเชิง ปริมาณมาผนวกกับการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผ่านการนำเสนอในเชิงพรรณนา(Descriptive) เพื่อเสนอแนะสมรรถนะบุคลากรในอุตสาหกรรมไมซ์เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมความภักดีต่อตราสินค้าแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม
ผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะบุคลากรในอุตสาหกรรมไมซ์ในทุกรายด้านมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมความภักดีต่อตราสินค้าของผู้เข้าร่วมกิจกรรมโดยรวม และในทุกรายด้าน 2) สมรรถนะบุคลากรในอุตสาหกรรมไมซ์ที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความภักดีต่อตราสินค้าของผู้เข้าร่วมกิจกรรมด้านการบอกต่อเชิงบวก มีทั้งหมด 5 สมรรถนะ ดังนี้ เชาวน์ปัญญา, ทักษะการสื่อสารที่ชัดเจน กระชับ และมีตรรกะ, ทักษะการประสานงาน, ความมีจิตบริการ, ข่าวกรองทางการตลาด:แนวโน้มทางการตลาด และข่าวกรองเกี่ยวกับสถานการณ์การแข่งขันด้านการกลับมาใช้บริการซ้ำ มีทั้งหมด 3 สมรรถนะ ดังนี้ ทักษะการสื่อสารที่ชัดเจนกระชับ และมีตรรกะ, ความรู้เกี่ยวกับลูกค้า วัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมไมซ์ ความต้องการเป้าหมายเชิงธุรกิจ ปัจจัยความสำเร็จหลัก และกระบวนการตัดสินใจ, เชาวน์ปัญญาด้านการมีส่วนร่วมในการปกป้ องตราสินค้า มีทั้งหมด 4 สมรรถนะ ดังนี้ ทักษะต้นทุนกำไรเบื้องต้น, ความรู้เกี่ยวกับลูกค้า วัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมไมซ์ ความต้องการ เป้ าหมายเชิงธุรกิจปัจจัยความสำเร็จหลัก และกระบวนการตัดสินใจ, ทัศนคติเชิงบวกเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน, ทักษะการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และด้านรวม มีทั้งหมด 4 สมรรถนะ ดังนี้ ทักษะการสื่อสารที่ชัดเจน กระชับ และมีตรรกะ,ความรู้เกี่ยวกับลูกค้า วัตถุประสงค์การจัดกิจกรรมไมซ์ ความต้องการ เป้าหมายเชิงธุรกิจ ปัจจัยความสำเร็จหลัก และกระบวนการตัดสินใจ, เชาวน์ปัญญา, ทักษะการประสานงาน3) สมรรถนะบุคลากรในอุตสาหกรรมไมซ์เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมความภักดีต่อตราสินค้าแก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งสามารถจำแนกได้เป็น 4 แนวทาง ตามแต่ละด้าน ดังนี้ (1) ด้านการบอกต่อเชิงบวก (2) ด้านการกลับมาใช้บริการซ้ำ (3) ด้านการมีส่วนร่วมในการปกป้ องตราสินค้าและ (4) ด้านรวม_

Description:

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ)) -- สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558

Subject(s):

อุตสาหกรรมท่องเที่ยว

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

177 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Rights holder(s):

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3722
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b189687.pdf ( 2,518.81 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSTM: Theses [119]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Education Service Center | สำนักบริการการศึกษาและบรรณสาร
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Education Service Center | สำนักบริการการศึกษาและบรรณสาร
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×