แนวทางการผลิตพลังงานหมุนเวียนเพื่อความยั่งยืนของชุมชนในจังหวัดสุรินทร์
by ดวงกมล อิศรางพร
Title: | แนวทางการผลิตพลังงานหมุนเวียนเพื่อความยั่งยืนของชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ |
Other title(s): | Guideline of sustainable renewable energy supply for communities in Surin Province |
Author(s): | ดวงกมล อิศรางพร |
Advisor: | วิสาขา ภู่จินดา |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การจัดการสิ่งแวดล้อม |
Degree department: | คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2017 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพของพลังงานหมุนเวียนที่เหมาะสมต่อความต้องการของชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ และประเมินความเป็นไปได้ในการผลิตพลังงานด้วยพลังงานหมุนเวียนในชุมชน ด้านกายภาพ สังคม การบริหารจัดการ เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม และเสนอแนวทางการผลิตพลังงานจากพลังงานหมุนเวียนเพื่อความยั่งยืนของชุมชนในจังหวัดสุรินทร์ การวิจัยนี้ใช้แบบสัมภาษณ์และการสังเกตการณ์เป็นเครื่องมือในการศึกษา ตามกรอบแนวคิด CIPP-I Model ได้แก่ คำถามเกี่ยวกับนโยบาย (Context) สิ่งที่นำเข้า (Input) คำถามเกี่ยวกับการดำเนินงานเพื่อหาศักยภาพที่เหมาะสมของพื้นที่ (Process) คำถามเกี่ยวกับผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น (Output) และคำถามเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น (Impact) โดยกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาคือ ตัวแทนเจ้าหน้าที่จากสำนักงานพลังงานจังหวัด และประชาชนจากชุมชน ที่มีการเลือกใช้พลังงานทดแทนแตกต่างกัน ได้แก่ ชุมชนเกษตรสมบูรณ์ ชุมชนเทศบาลตำบลนิคมปราสาท มูลนิธิพัฒนาอีสาน โดยผู้วิจัยใช้ CIPP-I Model, SWOT Analysis, Force Field Analysis และ GIS เป็นทฤษฎีในการวิเคราะห์ผลการศึกษา
ผลการศึกษาด้านกายภาพพบว่าจังหวัดสุรินทร์มีศักยภาพพลังงานหมุนเวียนแสงอาทิตย์สูงสุดโดยมีค่าความเข้มแสงเฉลี่ยอยู่ที่ 17.0-18.5 เมกะจูล/ตารางเมตร/วัน ในแต่ละปี ซึ่งสามารถเทียบเป็นปริมาณพลังงานได้กว่า 11,000 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ พลังงานลมมีค่าเฉลี่ยความเร็วลมอยู่ที่ 4.07 เมตร/วินาที ในแต่ละปีและพลังงานชีวมวลซึ่งได้จากผลผลิตทางการเกษตร ได้แก่ ใบอ้อย ชานอ้อย ฟางข้าว แกลบ และเหง้ามันสำปะหลัง โดยใบอ้อยสามารถแปลงเป็นปริมาณพลังงานได้สูงสุด 283.02 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ และเหง้าจากมันสำปะหลังแปลงเป็นปริมาณพลังงานได้ต่ำสุดอยู่ที่ 2.0 - 4.7 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ ในด้านสังคมและการบริหารจัดการ ประชาชนและผู้นำชุมชนในหมู่บ้านหรือตำบลต่าง ๆ ให้ความร่วมมือ และมีความสนใจในการอบรมจัดกิจกรรมพลังงานหมุนเวียนของทางภาครัฐเป็นอย่างดี และส่วนใหญ่พร้อมที่จะนำพลังงานหมุนเวียนมาประยุกต์ใช้กับชุมชนตนเอง อีกทั้งในด้านเศรษฐกิจ เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนสามารถส่งเสริมการทำเกษตรกรรมในชุมชนซึ่งยังผลให้ประชาชนมีรายได้เพิ่ม และลดค่าใช้จ่ายภายในครัวเรือน รวมถึงสร้างอาชีพให้แก่คนว่างงาน ช่วยเสริมสร้างครอบครัวเข้มแข็งและความสุขภายในชุมชน สำหรับผลการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมพบว่าการใช้พลังงานหมุนเวียนไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใด ๆ ต่อสิ่งแวดล้อม อนึ่งเนื่องจากจังหวัดสุรินทร์มีการบริหารงานในรูปแบบไตรภาคี ส่งผลให้เกิดความรวดเร็วในการดำเนินงาน แต่ยังพบอุปสรรคหลักในการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน คือ ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจ ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพในการพัฒนาพลังงานหมุนเวียนดำเนินไปอย่างล่าช้า และไม่สมบูรณ์ในบางพื้นที่ ดังนั้นการอบรมให้ความรู้ การจัดกิจกรรมส่งเสริมด้านพลังงานหมุนเวียน พัฒนาการฝึกทักษะให้แก่ประชาชน การจัดสรรงบประมาณและบุคลากรที่เหมาะสม เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้จังหวัดสุรินทร์มีการใช้พลังงานหมุนเวียนได้อย่างสมบูรณ์ และยั่งยืน
|
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560 |
Subject(s): | พลังงาน -- วิจัย |
Keyword(s): | พลังงานหมุนเวียน
e-Thesis |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 137 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Rights holder(s): | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3786 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View b197525e.pdf ( 2,739.33 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
|