ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความผูกพันของบุคลากรวิชาชีพสาธารณสุขกลุ่มต่างๆที่มีสถานภาพการจ้างงานแตกต่างกัน
Publisher
Issued Date
2017
Issued Date (B.E.)
2560
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
167 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b199714
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
วราภร แซ่ปึง (2017). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความผูกพันของบุคลากรวิชาชีพสาธารณสุขกลุ่มต่างๆที่มีสถานภาพการจ้างงานแตกต่างกัน. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3789.
Title
ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความผูกพันของบุคลากรวิชาชีพสาธารณสุขกลุ่มต่างๆที่มีสถานภาพการจ้างงานแตกต่างกัน
Alternative Title(s)
Factors related to engagement among public health professionals with different employment status
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
หนึ่งในผลพวงจากการปฏิรูประบบราชการ พ.ศ. 2545 คือเกิดรูปแบบของบุคลากรที่แตกต่างกันภายใต้การบริหารของกระทรวงสาธารณสุข อันเป็นผลมาจากการจำกัดจำนวนข้าราชการและเพิ่มรูปแบบการจ้างที่แตกต่างกันตามบริบทของโรงพยาบาลและการบริหารจัดการ ซึ่งผลจากรูปแบบการจ้างที่แตกต่างนี้นำมาซึ่งสิทธิและผลตอบแทนแตกต่างกัน การวิจัยชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับความผูกพันของบุคลากรวิชาชีพสาธารณสุขกลุ่มต่างๆ ทีมีสถานภาพการจ้างงานแตกต่างกัน โดยการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิที่ได้จากการวิจัยเชิงสำรวจภายใต้โครงการ Engagement for Patient Safety มีกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ได้แก่ แพทย์ 1,353 คน ทันตแพทย์ 487 คน เภสัชกร 1,242 คน พยาบาล 19,735 คน รวมทั้งสิ้น 22,817 คน ซึ่งมาจากโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข 101 โรงพยาบาล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) และการวิเคราะห์การการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า วิชาชีพแพทย์กลุ่มข้าราชการ วิชาชีพพยาบาล วิชาชีพทันตแพทย์ วิชาชีพเภสัชกร มีองค์ประกอบของปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันของบุคลากรเหมือนกัน ซึ่งได้องค์ประกอบของปัจจัยทั้งสิ้น 2 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านการสนับสนุนจากกลุ่มงานและองค์การ มี 10 ปัจจัย ได้แก่ งานที่ท้าทาย โอกาสในการพัฒนา การสื่อสารในองค์การ ความมั่นคงในการทำงาน สัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงาน ความก้าวหน้าในงาน ความชัดเจนในหน้าที่รับผิดชอบและอำนาจ การได้รับการยอมรับนับถือ สัมพันธภาพกับหัวหน้างานในระดับถัดไป และภาพลักษณ์องค์การ และองค์ประกอบด้านปัจจัยพื้นฐาน มี 4 ปัจจัย ได้แก่ สวัสดิการ ผลตอบแทนที่ได้รับจากการทำงาน สภาพการทำงาน และสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน ซึ่งปัจจัยด้านการสนับสนุนจากกลุ่มงานและองค์การ และปัจจัยด้านปัจจัยพื้นฐานมีอิทธิพลต่อความอยู่ดีมีสุข ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญขององค์การ ความอยากทุ่มเท กาย ใจที่จะทำงานให้กับองค์การอย่างเต็มที่ และความผูกพันของบุคลากรสาธารณสุขข้างต้น ส่วนบุคลากรสาธารณสุขวิชาชีพแพทย์ กลุ่มที่ไม่ใช่ข้าราชการ มีองค์ประกอบของปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันของบุคลากร 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านงานและกลุ่มงาน มี 6 ปัจจัย ได้แก่ งานที่ท้าทาย โอกาสในการพัฒนา การสื่อสารในองค์การ ความมั่นคงในการทำงาน สัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงาน และความก้าวหน้าในงาน องค์ประกอบด้านปัจจัยสนับสนุนจากหัวหน้างานและองค์การ มี 6 ปัจจัย ได้แก่ ความชัดเจนในหน้าที่รับผิดชอบและอำนาจ การได้รับการยอมรับนับถือ สัมพันธภาพกับหัวหน้างานในระดับถัดไป ภาพลักษณ์องค์การ สมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน และสภาพการทำงาน องค์ประกอบด้านสวัสดิการและผลตอบแทน มี 2 ปัจจัย ได้แก่ ผลตอบแทนที่ได้รับจากการทำงาน และ สวัสดิการ ซึ่งองค์ประกอบด้านงานและกลุ่มงาน ด้านการสนับสนุนจากหัวหน้างานและองค์การมีอิทธิพลต่อความอยู่ดีมีสุข ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญขององค์การ ความอยากทุ่มเท กาย ใจที่จะทำงานให้กับองค์การอย่างเต็มที่ และความผูกพัน ทั้งนี้องค์ประกอบด้านสวัสดิการและผลตอบแทนมีอิทธิพลต่อความอยู่ดีมีสุข แต่ไม่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญขององค์การ ความอยากทุ่มเท กาย ใจที่จะทำงานให้กับองค์การอย่างเต็มที่ และความผูกพัน
การกำหนดนโยบายในการบริหารจัดการและการพัฒนาบุคลากรสำหรับวิชาชีพแพทย์ กลุ่มข้าราชการ วิชาชีพพยาบาล วิชาชีพทันตแพทย์ และวิชาชีพเภสัชกร ควรมุ่งเน้นไปที่ปัจจัยด้านการสนับสนุนจากกลุ่มงานและองค์การ มากกว่าปัจจัยพื้นฐาน ส่วนการกำหนดนโยบายสำหรับบุคลากรวิชาชีพแพทย์ กลุ่มที่ไม่ใช่ข้าราชการ ควรมุ่งเน้นไปที่ปัจจัยด้านการสนับสนุนจากหัวหน้างานและองค์การเป็นอันดับแรก รองลงมา คือ ปัจจัยด้านงานและกลุ่มงาน ส่วนปัจจัยด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการควรมีการกำหนดนโยบายหรือมีการบริหารจัดการบุคลากรรับรู้ถึงการได้รับผลตอบแทนจากการทำงานอย่างยุติธรรม เท่าเทียมและเหมาะสมเพื่อให้ป้องกันมิให้ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของบุคลากรหรือเกิดความไม่พึงพอใจ
One of the consequences of the bureaucratic reform in 2002 was the emergence of many different types of employment under the management of the Ministry of Public Health. As a result of limiting number of civil servants and increasing other types of employment in the hospital thus it brings up the personnel problems regarding compensation and benefit. The purpose of this research is to study the factors related to engagement among public health professionals with different employment status by analyzing the data from Engagement for Patient Safety Project collected on 2016 were used in this study. The samples were 1,353 doctors, 487 dentists, 1,242 pharmacists and 19,735 nurses, total 22,817 respondents from 101 hospitals are under the Ministry of Public Health were used as the samples for this study. Factor Analysis and KMO and Bartlett’s test including Multiple Regression Analysis were used for data analysis. The results from factor analysis found that the civil servants in health care were driven by two group of factors: the first factor was renamed as work group and organization which composed of challenge work, development opportunity, Internal Communication, Job Security, Relationship with Colleague, Career Growth, Clear Accountability/Empowerment, Respects from others, Relationship with Supervisor and Corporate Image) and the second factor was renamed as the basic factors which composed of Benefit, Compensation, Work Environment and Work-life Balance. These two factors found significantly related to well-being, belonging, doing the best, and employee engagement of the civil servant doctors, dentists, pharmacists and nurses. The results indicate that the employment status has some significant in employee engagement, there are three groups of factors as predictors for the government officers engagement: the first factor was the factor named as work and group of work which composed of Challenge Work, Development Opportunity, Internal Communication, Job Security, Relationship with Colleague and Career Growth, the second factor named as supporting from supervisor and organization which composed of Clear Accountability/Empowerment, Respects from others, Relationship with Supervisor, Corporate Image, Work Environment and Work-life Balance and the third factor named as Benefit and Compensation. These three factors found significantly related to well-being of the non-civil servants in healthcare business. The work and group of work, and supporting from supervisor and organization factors found significantly related to belonging, doing the best, and employee engagement of the non-civil servant doctors. The suggestion of this study was that policy formulation for human resource management and development of civil servant in healthcare business should focus on the work group and organization factor rather than the basic factors. For the non-civil servants doctors are engaged by first the supporting from supervisor and organization factor and then the work and work group factor. The policy of Compensation and benefits factors should ensure that employees receive the fair compensation and benefit. Equal and appropriate in term of payment is very important to prevent the impact on the well-being of personnel or dissatisfaction.
One of the consequences of the bureaucratic reform in 2002 was the emergence of many different types of employment under the management of the Ministry of Public Health. As a result of limiting number of civil servants and increasing other types of employment in the hospital thus it brings up the personnel problems regarding compensation and benefit. The purpose of this research is to study the factors related to engagement among public health professionals with different employment status by analyzing the data from Engagement for Patient Safety Project collected on 2016 were used in this study. The samples were 1,353 doctors, 487 dentists, 1,242 pharmacists and 19,735 nurses, total 22,817 respondents from 101 hospitals are under the Ministry of Public Health were used as the samples for this study. Factor Analysis and KMO and Bartlett’s test including Multiple Regression Analysis were used for data analysis. The results from factor analysis found that the civil servants in health care were driven by two group of factors: the first factor was renamed as work group and organization which composed of challenge work, development opportunity, Internal Communication, Job Security, Relationship with Colleague, Career Growth, Clear Accountability/Empowerment, Respects from others, Relationship with Supervisor and Corporate Image) and the second factor was renamed as the basic factors which composed of Benefit, Compensation, Work Environment and Work-life Balance. These two factors found significantly related to well-being, belonging, doing the best, and employee engagement of the civil servant doctors, dentists, pharmacists and nurses. The results indicate that the employment status has some significant in employee engagement, there are three groups of factors as predictors for the government officers engagement: the first factor was the factor named as work and group of work which composed of Challenge Work, Development Opportunity, Internal Communication, Job Security, Relationship with Colleague and Career Growth, the second factor named as supporting from supervisor and organization which composed of Clear Accountability/Empowerment, Respects from others, Relationship with Supervisor, Corporate Image, Work Environment and Work-life Balance and the third factor named as Benefit and Compensation. These three factors found significantly related to well-being of the non-civil servants in healthcare business. The work and group of work, and supporting from supervisor and organization factors found significantly related to belonging, doing the best, and employee engagement of the non-civil servant doctors. The suggestion of this study was that policy formulation for human resource management and development of civil servant in healthcare business should focus on the work group and organization factor rather than the basic factors. For the non-civil servants doctors are engaged by first the supporting from supervisor and organization factor and then the work and work group factor. The policy of Compensation and benefits factors should ensure that employees receive the fair compensation and benefit. Equal and appropriate in term of payment is very important to prevent the impact on the well-being of personnel or dissatisfaction.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560