แนวทางการใช้ประโยชน์จากเปลือกทุเรียนและเปลือกมังคุดเป็นเชื้อเพลิงเขียวอัดแท่งและปุ๋ย : กรณีศึกษาอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี
by วิลาสินี หอมระรื่น
Title: | แนวทางการใช้ประโยชน์จากเปลือกทุเรียนและเปลือกมังคุดเป็นเชื้อเพลิงเขียวอัดแท่งและปุ๋ย : กรณีศึกษาอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี |
Other title(s): | Utilization of durian shell and mangosteen shell as fuel briquette and fertilizer : a case study of Keang Hang Maeo District, Chanthaburi Province |
Author(s): | วิลาสินี หอมระรื่น |
Advisor: | วิสาขา ภู่จินดา |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การจัดการสิ่งแวดล้อม |
Degree department: | คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2017 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ และการดำเนินการการใช้ประโยชน์จากเปลือกทุเรียนและเปลือกมังคุด ศึกษาความต้องการและความเป็นไปได้ และเสนอแนวทางการส่งเสริมการผลิตเชื้อเพลิงเขียวอัดแท่งและปุ๋ยของกลุ่มเกษตรกรในอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี ใช้แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ จำนวน 3 คน และแบบสอบถามความคิดเห็นของเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน จำนวน 200 คน โดยใช้ Triple Bottom Line มาเป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์แนวทางการใช้ประโยชน์จากเปลือกทุเรียนและเปลือกมังคุดเป็นเชื้อเพลิงเขียวอัดแท่งและปุ๋ย กรณีศึกษาอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี โดยมี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม
จากการศึกษาพบว่า กลุ่มเกษตรกรในอำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี มีความต้องการในการลดปริมาณเปลือกทุเรียน และเปลือกมังคุด เกษตรกรจะใช้ประโยชน์หลักโดยการทำปุ๋ย แต่จะใช้ประโยชน์รอง เป็นเชื้อเพลิงเขียวอัดแท่ง ส่วนเปลือกมังคุดใช้เป็นยารักษาโรค เชื้อเพลิงเขียวอัดแท่ง และการวิเคราะห์ความคุ้มค่าในการลงทุนการผลิตเชื้อเพลิงเขียวอัดแท่งพบว่ามีระยะเวลาคืนทุน 46 วัน เห็นได้ว่าการทำอาชีพผลิตเชื้อเพลิงเขียวอัดแท่งเป็นอาชีพที่มีความคุ้มค่า แนวทางการส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากเปลือกทุเรียนและเปลือกมังคุดเป็นเชื้อเพลิงเขียวอัดแท่งและปุ๋ย คือ 1) ด้านเศรษฐกิจ การใช้เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรทดแทนการซื้อเชื้อเพลิงที่ใช้ในครัวเรือนและผลิตเพื่อจำหน่ายเชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นโอกาสในการสร้างเสริมรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชน 2) ด้านสังคม ส่งเสริมการพัฒนาคนและสังคมในชุมชนโดยการให้เกษตรกรในพื้นที่มีส่วนร่วมและทำให้เกิดการสร้างงานสร้างอาชีพ 3) ด้านสิ่งแวดล้อม สามารถใช้ประโยชน์จากเศษวัสดุที่เหลือใช้ โดยการกำจัดขยะและเศษเปลือกผลไม้เหลือทิ้ง ทั้งนี้เทคโนโลยีการเผาไหม้ เป็นการเปลี่ยนรูปชีวมวลด้วยความร้อน และความร้อนที่ได้จะถูกนำไปใช้ประโยชน์โดยตรง ไม่เป็นการเพิ่มปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ชั้นบรรยากาศ (Carbon Zero) และลดการใช้ก๊าซ LPG ที่ใช้ในการหุงต้มภายในครัวเรือน ซึ่งก๊าซ LPG 1 ถัง (15 กิโลกรัม) เพราะชีวมวลจัดเป็นวัสดุที่ใช้คาร์บอนในการเจริญเติบโต มีค่า Emission Factor เท่ากับ 3.1133 kgCO2 eq./kg. พบว่าก๊าซ LPG 1 ถัง (15 กิโลกรัม) สามารถทดแทนได้โดยใช้เชื้อเพลิงเขียวอัดแท่งจากเปลือกทุเรียน 47.10 กิโลกรัม และเชื้อเพลิงเขียวอัดแท่งจากเปลือกมังคุด 39.75 กิโลกรัม ตามลำดับ |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560 |
Subject(s): | ปุ๋ย
ชีวมวล พลังงานชีวมวล |
Keyword(s): | e-Thesis
เชื้อเพลิงเขียวอัดแท่ง เปลือกทุเรียนและเปลือกมังคุด |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 136 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3802 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|