ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่ในเขตทางพิเศษ : การทางพิเศษแห่งประเทศไทย
by นพวรรณ หล่อปัญญากิจการ
Title: | ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่ในเขตทางพิเศษ : การทางพิเศษแห่งประเทศไทย |
Other title(s): | Legal issues on land development in expressway area of the Expressway Authority of Thailand |
Author(s): | นพวรรณ หล่อปัญญากิจการ |
Advisor: | วราภรณ์ วนาพิทักษ์ |
Degree name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree department: | คณะนิติศาสตร์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2015 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษาวิจัยเรื่อง ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาพื้นที่ในเขตทางพิเศษของการทาง พิเศษแห่งประเทศไทย เป็นการศึกษาในเชิงสังคมวิทยา โดยศึกษาจากข้อมูลเอกสารและข้อมูลจาก การสัมภาษณ์จากบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพื้นที่ และดูแลรักษาพื้นที่ แนวคิด ทฤษฎี ข้อ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง บทความ และงานวิจัยต่างๆ โดยเปรียบเทียบกับการพัฒนาพื้นที่ในเขตทางพิเศษของรัฐฟลอริด้า ประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศญี่ปุ่น ที่ได้มีทางยกระดับและการพัฒนาพื้นที่ในเขตทางพิเศษและประสบความสำเร็จมาแล้ว เพื่อให้การพัฒนาพื้นที่ในเขตทางพิเศษของการทางพิเศษฯ เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อประชาชน และองค์กร ประกอบกับการทางพิเศษฯ มีโครงการก่อสร้างในอนาคตเกิดขึ้นอีกอย่างต่อเนื่อง ก็จะมีพื้นที่ว่างเพิ่มมากขึ้น หากไม่เร่งดำเนินการพัฒนาพื้นที่ก็จะทำให้มีพื้นที่มากขึ้นและเสียประโยชน์ไปอย่างน่าเสียดาย จากการศึกษา พบว่าที่ดินที่การทางพิเศษฯ จะนำมาพัฒนาได้นั้น ต้องเป็นที่ดินที่การทาง พิเศษได้เวนคืนและก่อสร้างทางพิเศษตามวัตถุประสงค์ของการเวนคืนแล้ว กับที่ดินที่การทางพิเศษฯได้ซื้อส่วนที่เหลือจากการเวนคืนโดยคำร้องขอของผู้ถูกเวนคืนเท่านั้น ที่ดินที่การทางพิเศษฯ ได้เวนคืนแล้วแต่ยังไม่ได้ก่อสร้างทางพิเศษ ไม่ว่าด้วยเหตุผลใดๆ ก็ตามจะนำมาพัฒนาพื้นที่ไม่ได้ เนื่องจากจะผิดวัตถุประสงค์ของการเวนคืน และต้องพัฒนาพื้นที่ในเชิงพาณิชย์ควบคู่สาธารณประโยชน์เท่านั้น ซึ่งการพัฒนาพื้นที่ในเขตทางพิเศษดังกล่าว มีข้อจำกัดของกฎหมายบางประการที่ทำให้การพัฒนาพื้นที่ในเขตทางพิเศษดำเนินไปอย่างไม่คล่องตัวนัก จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ยังมีพื้นที่ว่างที่ยังไม่ได้พัฒนาอีกมากจนเกิดปัญหาการบุกรุกพื้นที่ในเขตทางพิเศษ มีภาระค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาพื้นที่เพื่อไม่ให้มีการบุกรุกพื้นที่มากขึ้น และก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกมากมายหลายประการ การศึกษาครั้งนี้ ได้มีข้อสรุปและเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการ พัฒนาพื้นที่ในเขตทางพิเศษ โดยเห็นว่าการพัฒนาพื้นที่ในเขตทางพิเศษ แม้ว่าพระราชบัญญัติการ ทางพิเศษแห่งประเทศไทย พ.ศ.2550 จะให้อำนาจการทางพิเศษฯ ดำเนินการพัฒนาพื้นที่ได้ แต่การพัฒนาพื้นที่ก็ยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ เนื่องจากมีข้อจำกัดของกฎหมายบางประการนโยบายของรัฐบาลที่ขาดการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง และมีขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ยุ่งยากซับซ้อน ดังนั้นควรมีการปรับปรุงข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องบางมาตรา ซึ่งต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล โดยกำหนดเป็นนโยบายที่ชัดเจน และลดขั้นตอนการปฏิบัติงานให้ลดน้อยลง ก็จะทำให้การพัฒนาพื้นที่ในเขตทางพิเศษเป็นไปได้อย่างคล่องตัว และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน และองค์กร |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558 |
Subject(s): | การทางพิเศษแห่งประเทศไทย |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 233 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/3953 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|