การพัฒนาแบบจำลองรูปแบบการส่งออกผลไม้จากประเทศไทยไปประเทศจีนภายใต้นโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง : กรณีศึกษาการส่งออกทุเรียน
by วุฒิภาค พูลบัว
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาแบบจำลองรูปแบบการส่งออกผลไม้จากประเทศไทยไปประเทศจีนภายใต้นโยบายหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง : กรณีศึกษาการส่งออกทุเรียน |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Developing mode choice model for fruit export from Thailand to China under one belt one road initiative : a case study of durian export |
ผู้แต่ง: | วุฒิภาค พูลบัว |
ผู้ควบคุมงานวิจัย: | สราวุธ จันทร์สุวรรณ |
ชื่อปริญญา: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | Master's |
สาขาวิชา: | การจัดการโลจิสติกส์ |
คณะ/หน่วยงาน: | คณะสถิติประยุกต์ |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
ยุทธศาสตร์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (One Belt One Road) เป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการพัฒนาความเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทยและประเทศจีน งานวิจัยได้พัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อใช้ในการเลือกรูปแบบการส่งออกทุเรียนสดจากภาคตะวันออกของประเทศไทยไปประเทศจีน โดยศึกษาเปรียบเทียบการส่งออกไปจุดหมายปลายทางสองแห่งในประเทศจีน ได้แก่ 1) เมืองกว่างโจว โดยการขนส่งทางเรือ 2) ด่านโหย่วอี้กวานที่เมืองผิงเสียง โดยการขนส่งทางรถบรรทุก และการส่งออกทางรถไฟภายใต้ยุทธศาสตร์ดังกล่าวเพื่อเชื่อมโยงทั้งสองปลายทาง วิธีดำเนินการศึกษาแบ่งออกเป็น 1) ศึกษาปัจจัยเชิงเศรษฐศาสตร์ที่มีแนวโน้มต่อการพยากรณ์ปริมาณการส่งออกในรูปแบบปัจจุบัน ด้วยการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นตรงแบบพหุโดยวิธีกำลังสองน้อยที่สุดแบบธรรมดา (OLS) การศึกษาพบว่า มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริงต่อหัว (GDP) ของประเทศจีนมีความสัมพันธ์กับปริมาณการส่งออก และ 2) ศึกษาปัจจัยเชิงดำเนินการที่มีผลต่อการเลือกรูปแบบการส่งออก ซึ่งพบว่าคือ ต้นทุนโลจิสติกส์ ระยะเวลาการขนส่ง และความน่าเชื่อถือของการให้บริการ แล้วใช้เทคนิค Stated Preference สร้างสถานการณ์สมมติที่ใช้ปัจจัยทั้งสามดังกล่าวสำรวจกับบริษัทผู้ส่งออก เพื่อพัฒนาแบบจำลองการเลือกรูปแบบการส่งออกด้วยการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกทวิ (Binary Logit) ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ผู้ส่งออกมีแนวโน้มเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งจากทางเรือและรถบรรทุกมาเป็นการขนส่งทางรถไฟสูงขึ้นตามปริมาณการส่งออกที่เพิ่มขึ้น ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ในการวางแผนปริมาณการจัดเตรียมและการขนส่งสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกผ่านระบบรางที่จะเชื่อมโยงกับประเทศจีนต่อไป |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการโลจิสติกส์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561 |
หัวเรื่องมาตรฐาน: | ทุเรียน
การวิเคราะห์ถดถอย |
คำสำคัญ: | การเลือกรูปแบบการขนส่ง
ยุทธศาสตร์หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง วิธีการกำหนดสถานการณ์สมมติ การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกทวิ การวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นตรงแบบพหุ การขนส่งระบบราง e-Thesis |
ประเภททรัพยากร: | วิทยานิพนธ์ |
ความยาว: | 219 แผ่น |
ชนิดของสื่อ: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
ผู้ครอบครองสิทธิ์: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4035 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู b203100e.pdf ( 5,709.31 KB ) |
This item appears in the following Collection(s) |
|
|