• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะการจัดการการท่องเที่ยว
  • GSTM: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะการจัดการการท่องเที่ยว
  • GSTM: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

แนวทางการส่งเสริมการรับรู้คุณค่าองค์ประกอบแหล่งท่องเที่ยวด้านอรรถประโยชน์ ชุมชนขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช

by อรรฆพร ก๊กค้างพลู

Title:

แนวทางการส่งเสริมการรับรู้คุณค่าองค์ประกอบแหล่งท่องเที่ยวด้านอรรถประโยชน์ ชุมชนขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช

Other title(s):

Guidelines to enhance tourism destination functional value perception: Case study Khanom community, Nakhon Si Thammarat province

Author(s):

อรรฆพร ก๊กค้างพลู

Advisor:

กนกกานต์ แก้วนุช

Degree name:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ

Degree department:

คณะการจัดการการท่องเที่ยว

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2016

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการรับรู้คุณค่าความสำคัญแหล่งท่องเที่ยวชุมชน (Importance) 2) ศึกษาระดับการรับรู้คุณค่าประสิทธิภาพการดำเนินงานแหล่งท่องเที่ยวชุมชน (Performance) 3) ศึกษาเปรียบเทียบระดับการรับรู้คุณค่าความสำคัญ (Importance) และระดับการรับรู้คุณค่าประสิทธิภาพการดำเนินงาน (Performance) แหล่งท่องเที่ยวชุมชน 4) เสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการรับรู้คุณค่าแหล่งท่องเที่ยวชุมชนขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช จากนั้นนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ด้วยเทคนิค Importance-Performance Analysis (IPA) เพื่อให้ทราบแนวทางการส่งเสริมการรับรู้คุณค่าองค์ประกอบแหล่งท่องเที่ยว ด้านอรรถประโยชน์ ชุมชนขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งการศึกษาครั้งนี้อาศัยแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวมรวมข้อมูล ซึ่งกลุ่มตัวอย่างคือนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 400 โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และเพื่อความสมบูรณ์ของเนื้อหาการศึกษาครั้งนี้จึงได้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพร่วมโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview)ในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวชุมชนขนอม ชมรมท่องเที่ยวขนอม ผู้ประกอบการที่พัก ร้านอาหาร และคนในชุมชน ผลการศึกษาพบว่าระดับความสำคัญขององค์ประกอบแหล่งท่องเที่ยว โดยรวมมีระดับความสำคัญมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย พบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด 1 ด้าน ได้แก่ ความปลอดภัย (Safety and Security) และส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก 6 ด้าน ได้แก่ การให้บริการ (Service) สิ่งอำนวยความสะดวก (Amenities) การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว (Accessibilities) ที่พัก (Accommodation) แหล่งท่องเที่ยว (Attraction) กิจกรรม (Activities) ตามลำดับ ประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์ประกอบแหล่งท่องเที่ยว โดยรวมมีระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย พบว่า อยู่ในระดับมาก 7 ด้าน ได้แก่ การให้บริการ (Service) กิจกรรม (Activities) การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว (Accessibilities) แหล่งท่องเที่ยว (Attraction) ที่พัก (Accommodation) ความปลอดภัย (Safety and Security) สิ่งอำนวยความสะดวก (Amenities) ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ระดับความสำคัญและประสิทธิภาพการดำเนินงานขององค์ประกอบแหล่งท่องเที่ยวโดยรวม สามารถสรุปจำแนกข้อมูลออกเป็น 4 Quadrants จากเทคนิค Importance-Performance Analysis (IPA) Quadrants A (Concentrate Here) ได้แก่ สิ่งอำนวยความสะดวก (Amenities) และ ความปลอดภัย (Safety and Security)  Quadrant B (Keep up Good Work) ได้แก่ การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว (Accessibilities) และ การให้บริการ (Service)  Quadrant C (Low Priority) ได้แก่ ที่พัก (Accommodation) แหล่งท่องเที่ยว (Attraction)Quadrant D (Possible Overkill) ได้แก่ กิจกรรม (Activities) จากผลการศึกษาดังกล่าวสามารถเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการรับรู้คุณค่าองค์ประกอบแหล่งท่องเที่ยว ด้านอรรถประโยชน์ ชุมชนขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยชุมชนขนอม จำเป็นอย่างยิ่งที่ควรส่งเสริมการรับรู้คุณค่าองค์ประกอบแหล่งท่องเที่ยว ทางด้าน ความปลอดภัย สิ่งอำนวยความสะดวก ที่พัก และ แหล่งท่องเที่ยว ซึ่งจากองค์ประกอบดังกล่าวนั้นถือว่าเป็นจุดอ่อนของแหล่งท่องเที่ยวชุมชนขนอมที่ต้องให้ความสำคัญและหาวิธีการในการแก้ไขปรับปรุงโดยเร่งด่วนต่อไป
This research aimed to 1) study Importance value perception level of the attraction “Khanom Community”; 2) study Performance Efficiency Value Perception level of the attraction “Khanom Community”; 3) study comparison between Importance Value Perception level (Importance) and Performance Efficiency Value Perception level of the attraction “Khanom Community”; 4) propose Guidelines to Enhance Tourism Destination Functional Value Perception Case Study: Khanom Community, Nakhon Si Thammarat Province. After that obtained data was analyzed by technique of Importance-Performance Analysis (IPA) in order to know Guidelines for Tourism Destination Functional Value Perception of Attraction Khanom Community, Nakhon Si Thammarat Province. This research used questionnaire to be the tool for data collection. The samples were 400 Thai tourists who traveled in Nakhon Si Thammarat Province. Data analysis used Descriptive Statistics. For completeness of Content, this research used qualitative research together with In-Depth Interview to collect data from the samples consisting of the relevant persons of tourism in Khanom Community, Khanom Tourism Club, lodging entrepreneur, food shop, and people in the community. Study results revealed that the overall importance level of attraction composition was at a high level. When this was considered and put in order from high to low, a highest level was Safety and Security. Most were 6 dimensions which were at a high level respectively as follows: Service, Amenities, Accessibilities, Accommodation, Attraction, and Activities. The overall Performance Efficiency of attraction composition was at a high level. When this was considered and put in order from high to low, there were 6 dimensions which were at a high level respectively as follows: Service, Activities, Accessibilities, Attraction, Accommodation, Safety and Security, and Amenities. The overall analysis results of importance level and performance efficiency of attraction composition could be classified into 4 Quadrants by technique of Importance-Performance Analysis (IPA) as follows:Quadrants A (Concentrate Here) consists of Amenities and Safety and Security. Quadrant B (Keep up Good Work) consists of Accessibilities and Service. Quadrant C (Low Priority) consists of Accommodation and Attraction. Quadrant D (Possible Overkill) consists of Activities. The Result of study could be provided the guidelines to enhance tourism destination functional value perception that should be encouraged to recognize tourism components consist of Safety and Security, Amenities, Accommodations and Attraction. These components should be immediately considered for enhancing perceived functional value on tourism destination in Khanom community.

Description:

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559

Subject(s):

การท่องเที่ยว -- นครศรีธรรมราช -- ขนอม

Keyword(s):

แหล่งท่องเที่ยวด้านอรรถประโยชน์
e-Thesis
การส่งเสริมการท่องเที่ยว

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

297 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4047
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • 5711711004.pdf ( 7,035.35 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSTM: Theses [129]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×