จริยธรรมนักข่าวพลเมืองในการนำเสนอข่าวเด็กผ่านสื่อสังคมออนไลน์
by เทียนทิพย์ เดียวกี่
Title: | จริยธรรมนักข่าวพลเมืองในการนำเสนอข่าวเด็กผ่านสื่อสังคมออนไลน์ |
Other title(s): | The ethics of citizen journalist on children news reporting via social media |
Author(s): | เทียนทิพย์ เดียวกี่ |
Advisor: | บุหงา ชัยสุวรรณ |
Degree name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม |
Degree department: | คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2017 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาของการนำเสนอข่าวเด็กของนักข่าวพลเมืองในสื่อสังคมออนไลน์ 2) สร้างแนวทางจริยธรรมในการนำเสนอข่าวเด็กของนักข่าวพลเมืองในสื่อสังคมออนไลน์ที่เหมาะสม และ 3) ศึกษาแนวความคิดเห็นจากแนวทางจริยธรรมการนำเสนอข่าวเด็กของนักข่าวพลเมืองในสื่อสังคมออนไลน์ โดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods research) ซึ่งศึกษาจากเอกสาร และการให้ข้อมูลของผู้ให้ข้อมูลหลัก โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จำนวน 16 คน แบ่งออกเป็นตัวแทนนักข่าวพลเมือง 4 คน ตัวแทนกลุ่มนักข่าววิชาชีพ จำนวน 4 คน ตัวแทนกลุ่มนักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน จำนวน 4 คน และตัวแทนนักวิชาการด้านเด็กและเยาวชน จำนวน 4 คน และการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey) แอดมินเพจนักข่าวพลเมือง จำนวน 30 คน โดยมีผลการวิจัย ดังนี้
1.ปัญหาในการนำเสนอข่าวเด็กผ่านสื่อสังคมออนไลน์ของนักข่าวพลเมือง แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ปัญหาด้านการละเมิดสิทธิเด็ก ปัญหาด้านความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูล และปัญหาด้านความเป็นกลาง โดยสาเหตุของปัญหาดังกล่าว แบ่งเป็น 8 สาเหตุ ได้แก่ สาเหตุที่เกิดจากการขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องจริยธรรมจรรยาบรรณสื่อ สาเหตุที่เกิดจากการมีข้ออ้างให้กับตัวเอง สาเหตุที่เกิดจากการขาดแนวปฏิบัติที่ชัดเจน สาเหตุที่เกิดจากการไม่มีกระบวนการกลั่นกรองข้อมูลข่าวสาร สาเหตุที่เกิดจากอิทธิพลทางการตลาดเข้ามาครอบงำ สาเหตุที่เกิดจากการรู้เท่าไม่ถึงการณ์ สาเหตุที่เกิดจากค่านิยมในสังคมและความต้องการของผู้รับสาร และสาเหตุที่เกิดจากข้อจำกัดด้านบุคลากรและเครื่องมือ
2.แนวทางจริยธรรมในการนำเสนอข่าวเด็กของนักข่าวพลเมืองในสื่อสังคมออนไลน์ที่เหมาะสม แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านรูปภาพ ด้านเสียง และด้านการได้มาของข่าว
3.นักข่าวพลเมืองส่วนใหญ่ มีการยอมรับแนวทางจริยธรรมในการนำเสนอข่าวเด็กของนักข่าวพลเมืองผ่านสื่อสังคมออนไลน์และมีความคิดเห็นว่าแนวทางจริยธรรมดังกล่าวมีประโยชน์
จากการวิจัย ยังพบข้อเสนอแนะในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการนำเสนอข่าวของนักข่าวพลเมืองผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดยหน่วยงานภาครัฐ หรือสถาบันการศึกษา ควรให้ความรู้ เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาการนำเสนอข่าวของนักข่าวพลเมืองผ่านสื่อสังคมออนไลน์ โดยมีหลักสูตรให้นักข่าวพลเมืองได้รับการอบรม มีการทำความเข้าใจที่ตรงกัน ร่วมกันสร้างแนวปฏิบัติที่ชัดเจน และมีใบประกาศหรือใบรับรองแก่นักข่าวพลเมือง ผ่านกระบวนการ MEL ที่ย่อมาจาก การตรวจสอบ (Monitor), การให้ความรู้ (Educate) และ การบังคับใช้กฎหมาย (Law enforcement) รวมทั้งผู้บริโภคต้องช่วยกันตรวจสอบด้วย |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560 |
Subject(s): | จริยธรรมสื่อมวลชน |
Keyword(s): | e-Thesis
นักข่าวพลเมือง ข่าวเด็ก สื่อสังคมออนไลน์ จริยธรรมนักข่าว |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 184 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4086 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|