ปัญหาทางกฎหมายของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ: ศึกษาเฉพาะกรณีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หมวด 5 ว่าด้วยหน้าที่ของรัฐ
by นภดล จันโหนง
Title: | ปัญหาทางกฎหมายของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ: ศึกษาเฉพาะกรณีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หมวด 5 ว่าด้วยหน้าที่ของรัฐ |
Other title(s): | Legal problems of the consitution : case study of the consitution of the Kingdom of Thailand, B.E. 2560, Chapter 5 "Duties of the State" |
Author(s): | นภดล จันโหนง |
Advisor: | ฌานิทธิ์ สันตะพันธุ์ |
Degree name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | กฎหมายเพื่อการบริหาร |
Degree department: | คณะนิติศาสตร์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2017 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงปัญหาทางกฎหมายของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ: ศึกษาเฉพาะกรณีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 หมวด 5 ว่าด้วย “หน้าที่ของรัฐ” ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่มีลักษณะบังคับเด็ดขาดให้รัฐต้องดำเนินการตามหน้าที่ของรัฐในด้านต่างๆ ซึ่งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้เล็งเห็นถึงสภาพปัญหาของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญว่าด้วยสิทธิเสรีภาพ และบทบัญญัติรัฐธรรมนูญว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับอดีตที่ผ่านมา โดยรัฐมิได้ดำเนินการตามที่บทบัญญัติรัฐธรรมนูญในหมวดดังกล่าวที่ได้กำหนดให้สิทธิ เสรีภาพแก่ประชาชน รวมทั้งภารกิจด้านต่างๆของรัฐเอาไว้ จนประชาชนต้องเสียสิทธิและประโยชน์ที่ควรจะได้รับจากการดำเนินการของรัฐ เพื่อให้มีการดำเนินการตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญดังกล่าวคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจึงได้กำหนดบทบัญญัติหมวดใหม่ขึ้นมาชื่อว่า “หน้าที่ของรัฐ” ซึ่งบัญญัติไว้ในหมวด 5 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560
จากการศึกษาพบว่า บทบัญญัติรัฐธรรมนูญว่าด้วยหน้าที่ของรัฐตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้ให้ความสำคัญกับการกำหนดผลผูกพันทางกฎหมายให้มีลักษณะบังคับเด็ดขาดให้รัฐต้องดำเนินการตามหน้าที่ของรัฐ ซึ่งเป็นหน้าที่ที่สำคัญและมีความจำเป็นต่อการบริหารราชการแผ่นดิน อีกทั้งที่สำคัญที่สุดคือ มีการกำหนดสิทธิให้แก่ประชาชนและชุมชนในการฟ้องร้องรัฐต่อศาล ในกรณีที่เห็นว่ารัฐไม่ดำเนินการตามหน้าที่ของรัฐ เพื่อให้ตนได้รับประโยชน์จากการดำเนินการหน้าที่ของรัฐ อย่างไรก็ตามแม้จะมีการกำหนดหน้าที่ของรัฐไว้ชัดเจนแล้ว แต่บทบัญญัติดังกล่าวยังปรากฏสภาพปัญหาในถ้อยคำ ความชัดเจน และรายละเอียดต่างๆทางกฎหมาย ดังนั้นจึงควรปรับปรุงบทบัญญัติรัฐธรรมนูญว่าด้วยหน้าที่ของรัฐ โดยการแก้ไขถ้อยคำและมีการกำหนดรายละเอียดให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพื่อให้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญว่าด้วยหน้าที่ของรัฐมีความชัดเจนสามารถสนองต่อประโยชน์ที่จะเกิดกับประชาชนตามเจตนารมณ์ของคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้อย่างแท้จริง |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (กฎหมายเพื่อการบริหาร))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560 |
Subject(s): | รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
กฎหมายรัฐธรรมนูญ -- ไทย รัฐ |
Keyword(s): | e-Thesis
หน้าที่ของรัฐ ผลผูกพันทางกฎหมาย |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 187 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4090 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|