• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ
  • GSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ
  • GSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การจัดการกำไรของบริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนในครั้งแรก (Initial Public Offering: IPO)

by ญาดา กีรติพงศ์ภักดี

Title:

การจัดการกำไรของบริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชาชนในครั้งแรก (Initial Public Offering: IPO)

Other title(s):

Earnings management in Thailand: The case of IPOs

Author(s):

ญาดา กีรติพงศ์ภักดี

Advisor:

สรศาสตร์ สุขเจริญสิน

Degree name:

เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

เศรษฐศาสตร์การเงิน

Degree department:

คณะพัฒนาการเศรษฐกิจ 

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2017

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

Asymmetric information occurs when insiders have more information than investors. Managers can manipulate the company’s earnings using accounting standards that allows discretionary decisions for accrual basis and makes judgments following these principles. Managers can use the discretion for earnings management to reach target income, avoid debt covenant violation and smooth income for attracting investors and receiving higher offer price. Obviously, investors are disadvantaged by the asymmetry. This paper explored factors related to earnings management strategy of IPO firms in Thailand. The sample contained 79 companies listing on Stock Exchange of Thailand (SET) and Market for Alternative Investment (mai) during 2008 to 2013 using panel data. The cross-sectional modified Jones model was employed to measure discretionary accruals as a proxy for earnings management. Then, this research measured long-run performance after becoming listed company and investigated the factors affecting firm performance. Market-adjust return on assets, market-adjust return on equity and cash flow from operating activities per total assets were used for assessing companies long-run performance. The sample contained 84 IPO companies’ data between 2008 and 2013 in panel data. Prior studies suggested that companies managed earnings in the year before and the year listed. However, in Thailand, the paper found that Thai listed companies not only controlled their earnings in the pre-IPO and IPO year, but also in the year after they are listed. The results were supported by many reasons. First, Thai listed companies usually grow after listed, then the growth affects actual accruals to exceed expected accruals and becomes earnings management. Second, the management of Thai listed company have plans to smooth earnings of the growing company even though the company is listed. Earnings management is one of tools for smoothing earnings. The results from the second essay suggested that performance of “mai” listed companies had deteriorated after IPO in contrast to companies listed on the main board. The model indicated that earnings management had a positive relationship with firm performance. The results also pointed out that the changes in earnings management activities, either measured by sales growth rate or abnormal accruals, stemmed from normal operations. In addition, the evidence showed that Thai listed companies continued to manage earnings for a few years after IPO, while earnings management was significantly lower for listed firms in other countries.
จากปัญหาความไม่สมมาตรของข้อมูลข่าวสาร (Information Asymmetry) ที่บุคคลภายในบริษัทมีข้อมูลมากกว่านักลงทุนนั้นส่งผลให้ผู้บริหารบริษัทสามารถจัดการกำไรของตนให้เป็นไปตามเป้าหมายได้ และจากมาตรฐานการบัญชีที่อนุญาตให้ผู้บริหารสามารถใช้ดุลยพินิจ ในการประมาณการตัวเลขทางบัญชีโดยใช้เกณฑ์คงค้างจึงอาจเป็นเหมือนการเปิดช่องโหว่ให้ผู้บริหารใช้ดุลยพินิจเป็นโอกาสในการบิดเบือนข้อเท็จจริงของข้อมูลทางการบัญชี ให้ตอบสนองผลประโยชน์ส่วนตัวของผู้บริหารเอง ทั้งกำไรตามเป้าหมายที่ต้องการ การหลีกเลี่ยงการขาดทุน และการเกลี่ยกำไรให้เสมอกัน เพื่อให้ได้รับความสนใจจากนักลงทุนมากขึ้นและได้รับการประเมินราคาเสนอขายที่สูงขึ้น ดังนั้น จึงก่อให้เกิดความเสียเปรียบของนักลงทุนที่ไม่อาจเข้าถึงข้อมูลภายในบริษัท และไม่ได้พิจารณางบการเงินของบริษัทอย่างรอบคอบได้ ดังนั้น รายงานการศึกษาฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการกำไรของบริษัทที่เสนอขายหลักทรัพย์ต่อประชนชนในครั้งแรก (IPO) ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) และตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) และช่วงเวลาที่ผู้บริหารของบริษัทเลือกใช้ในการจัดการกำไร โดยใช้ข้อมูลจำนวน 79 บริษัท ตั้งแต่ พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2559 มีรูปแบบข้อมูลเป็น Panel Data และใช้รายการคงค้างที่ขึ้นกับดุลยพินิจของผู้บริหาร (Discretionary Accruals) เป็นตัวแทนของการจัดการกำไร และใช้แบบจำลอง Cross-section Modified Jones Model ในการประเมินระดับการจัดการกำไร หลังจากนั้น จะศึกษาผลการดำเนินงานในระยะยาวภายหลังการเป็นบริษัทจดทะเบียน และปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดผลการดำเนินงานในระยะยาวนั้น ส่วนสุดท้าย จะศึกษาถึงผลกระทบการจัดการกำไรที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานในระยะยาว ซึ่งพิจารณาผลการดำเนินงานจากอัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมเมื่อเทียบกับตลาด อัตราผลตอบแทนต่อส่วนของเจ้าของเมื่อเทียบกับตลาด และอัตรากระแสเงินสดจากดำเนินงานต่อสินทรัพย์รวม โดยใช้ข้อมูลจำนวน 84 บริษัท ตั้งแต่ พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2559 มีรูปแบบข้อมูลเป็น Panel Data ผลการศึกษาในการศึกษาแรก คือ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการกำไร พบว่าบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศไทยมีการจัดการกำไรตั้งแต่ปีก่อนออกจำหน่ายหลักทรัพย์ ปีออกจำหน่ายหลักทรัพย์ และยืดเวลาไปยังปีภายหลังเป็นบริษัทจดทะเบียน ซึ่งแตกต่างจากการศึกษาของต่างประเทศที่พบว่ามีการจัดการกำไรเพียงปีก่อนออกจำหน่ายหลักทรัพย์และปีออกจำหน่ายหลักทรัพย์เท่านั้น โดยความแตกต่างนี้คาดว่าเกิดจาก 1. บริษัทในประเทศไทยมีการเติบโตของการดำเนินงานหลังออกจำหน่าย ทำให้รายการคงค้างเกินปกติเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ระดับการจัดการกำไรสูงขึ้นตามไปด้วย และ 2. ผู้บริหารของบริษัทในประเทศไทยต้องการจัดการกำไรเพื่อให้กำไรของบริษัทภายหลังการเป็นบริษัทจดทะเบียนมีเสถียรภาพมากขึ้น ส่วนปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการจัดการกำไรนั้นสอดคล้องกับรายงานการศึกษาที่ผ่านมา ได้แก่ กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน ขนาดบริษัท และสัดส่วนการใช้ปัจจัยทุน นอกจากนี้ ผู้วิจัยได้เพิ่มปัจจัยเฉพาะของประเทศไทยลงไปในแบบจำลอง โดยตัวแปรที่มีนัยสำคัญทางสถิติ คือ 1. สัดส่วนของผู้มีอุปการคุณ มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกับการจัดการกำไร บ่งชี้ว่ายิ่งบริษัทมีสัดส่วนของการถือหุ้นโดยผู้มีอุปการคุณมาก จะมีโอกาสที่ผู้มีอุปการคุณเข้ามามีบทบาทในการกำกับให้บริษัทมีการจัดการกำไรที่สูงขึ้น อย่างไรก็ตาม หากบริษัทใช้ผู้สอบบัญชีจากกลุ่ม BIG4 แล้วผู้มีอุปการคุณจะไม่สามารถเข้ามามีบทบาทในการจัดการกำไรก่อนออกจำหน่ายได้ บ่งชี้ถึงคุณภาพของผู้สอบบัญชีที่มาจากกลุ่ม BIG4 แต่ทั้งนี้ ภายหลังเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียน บทบาทของผู้สอบบัญชีกลุ่มนี้ได้หายไป ซึ่งอาจจะเกิดจากกลไกในการตรวจสอบที่บริษัทมหาชนจะต้องรายงานทางการเงินที่ระมัดระวังมากขึ้น รวมถึงผู้มีอุปการคุณไม่มีแรงจูงใจในการจัดการกำไรอีกแล้ว เพราะได้จำหน่ายหลักทรัพย์ไปหมดแล้ว 2. การระดมทุนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาด mai พบว่า บริษัทที่เลือกระดมทุนในตลาด mai จะมีระดับการจัดการกำไรมากกว่าบริษัทที่ระดมทุนจากตลาด SET  ผลการศึกษาถัดมา คือ การจัดการกำไรส่งผลต่อผลการดำเนินงานในระยะยาวของบริษัท จากผลการศึกษา สามารถสรุปได้ว่า บริษัทที่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ (mai) มีผลการดำเนินงานของบริษัทแย่ลง ขณะที่บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) มีผลการดำเนินงานไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ซึ่งจากแบบจำลองบ่งชี้ว่าการจัดการกำไร รวมถึงปัจจัยที่เป็นข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์มีนัยสำคัญทางสถิติและส่งผลในทิศทางเดียวกันกับผลการดำเนินงานของบริษัท และจากผลของงานวิจัยยังชี้ให้เห็นว่ารายการคงค้างเกินปกติที่เพิ่มนั้นเป็นผลมาจากการเติบโตตามปกติของบริษัทซึ่งวัดด้วยอัตราการเติบโตของรายได้จากการขายที่ส่งผลให้บริษัทต้องบันทึกรายการคงค้างเกินปกติเพิ่มขึ้นตามไปด้วย จากผลของงานวิจัยฉบับนี้สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างผู้บริหารของบริษัทในประเทศไทยกับ ผู้บริหารในต่างประเทศ ผู้บริหารในประเทศไทยยังคงจัดการกำไรอย่างต่อเนื่องภายหลังจากเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เรียบร้อยแล้ว ขณะที่ผู้บริหารของบริษัทในต่างประเทศโดยส่วนใหญ่จะลดการจัดการกำไรลงภายหลังจากเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียน หรือหลังจากการพ้นระยะเวลาห้ามขาย

Description:

วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.(เศรษฐศาสตร์การเงิน))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2560

Subject(s):

บริษัทจดทะเบียน
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
กำไร

Keyword(s):

e-Thesis
หุ้นไอพีโอ
การจัดการกำไร
ตลาดหลักทรัพย์เอ็ม เอ ไอ

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

92 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4093
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b203281e.pdf ( 1,772.80 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSDE: Theses [66]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×