การคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ที่ได้จากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์
Publisher
Issued Date
2014
Issued Date (B.E.)
2557
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
128 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b190071
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ฐปนจันทร์ ยศตรีสรณ์ (2014). การคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ที่ได้จากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4118.
Title
การคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ที่ได้จากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์
Alternative Title(s)
The prevention of new varieties of plant from scientific research
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
พืชถือเป็นพื้นฐานของปัจจัยสี่ที่มนุษย์จำเป็นต้องพึ่งพาอาศัยและเป็นสิ่งที่มีความสาคัญกับชีวิตมนุษย์มากที่สุด โดยประชากรส่วนใหญ่บนโลกล้วนอาศัยพืชเป็นปัจจัยในการดารงชีวิตไม่ว่าจะเป็นอาหาร ยารักษาโรคต่างๆ และยิ่งประชากรบนโลกมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องย่อมส่งผลให้พืชยิ่งทวีความสาคัญมากขึ้นไปด้วย ในขณะที่ปัจจุบันสังคมมีความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ การนาเอาความเจริญก้าวหน้าในด้านเหล่านี้มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับพืช ย่อมเป็นผลดีต่อประชากรโลก ซึ่งการพัฒนาด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมใช้แนวความคิด“การพัฒนาอย่างยั่งยืน” เป็นหลักเพื่อคำนึงถึงการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ โดยไม่ให้เกิดผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติเหล่านั้นอันถือเป็นมรดกของคนรุ่นหลังโดยเฉพาะอย่างยิ่งชุมชนที่มีวิถีชีวิตใกล้ชิดและพึ่งพาอาศัยทรัพยากรธรรมชาติ
นักปรับปรุงพันธุ์ได้นาความรู้ด้านพันธุศาสตร์สมัยใหม่มาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืช ซึ่งทาให้การพัฒนาปรับปรุงพันธุ์พืชเป็นไปอย่างมีระบบมากยิ่งขึ้น โดยมีการวิจัยพันธุ์พืชในห้องทดลองปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้พันธุ์พืชใหม่ที่มีคุณสมบัติที่ดีในด้านต่างๆ เช่น มีความต้านทานต่อโรคสูง ให้ผลผลิตสูง มีรสชาดดี สีสรรสวยงาม มีกลิ่นหอม และที่สาคัญมีมูลค่าทางการตลาดสูงก่อให้เกิดผลตอบแทนสูงที่สุด การวิจัยและพัฒนาเพื่อปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อให้ได้พันธุ์พืชใหม่ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้นนั้น จาต้องใช้ระยะเวลานานและอาศัยเงินลงทุนจำนวนมาก จึงเกิดกระแสการเรียกร้องให้มีการคุ้มครองพันธุ์พืชจากนักปรับปรุงพันธุ์ให้มีการนาระบบสิทธิบัตรมาใช้ในการคุ้มครองพันธุ์พืชแต่ก็ไม่ได้รับการยอมรับเนื่องจากกฎหมายสิทธิบัตรได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเกี่ยวข้องกับกลไกการทางานของเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ แต่พืชเป็นสิ่งที่มีชีวิตที่มีความแตกต่างจากการประดิษฐ์ดังกล่าวนั้น จึงเป็นการยากที่จะแสดงให้เห็นว่าพันธุ์พืชที่ขอรับสิทธิบัตรนั้นมีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น ทั้งการเปิดเผยรายละเอียดการประดิษฐ์ก็ไม่ใช่สิ่งที่กระทาได้โดยง่ายนัก และอีกเหตุผลหนึ่งที่สาคัญ คือ พืชเป็นสิ่งที่มีความสาคัญต่อการเกษตรและการดารงชีวิตของผู้คนจำนวนมากแต่สิทธิบัตรเป็นการให้สิทธิผูกขาดที่สมบูรณ์ซึ่งจะส่งผลกระทบในทางเศรษฐกิจและสังคม
จากข้อจำกัดดังกล่าวนี้เองทาให้หลายประเทศได้พยายามที่จะบัญญัติกฎหมายขึ้นมาเพื่อให้เป็นกฎหมายเฉพาะและมีวัตถุประสงค์โดยตรงในการคุ้มครองพันธุ์พืชเพื่อที่จะไม่ต้องอาศัยเทียบเคียงกับกฎหมายสิทธิบัตร สาหรับประเทศไทยมีพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 โดยให้ความคุ้มครองพันธุ์พืชเพื่อเป็นการส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจให้มีการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์พืชใหม่ๆภายใต้หลักความปลอดภัยทางชีวภาพด้วยการให้สิทธิคุ้มครองตามกฎหมายอีกทั้งเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์และพัฒนาการใช้ประโยชน์พันธุ์พืชพื้นเมืองและพันธุ์พืชป่าและเพื่อการกระตุ้นให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ในทรัพยากรพันธุพืชอย่างยั่งยืน
หลักการในเรื่องที่จะส่งเสริมให้มีการพัฒนาคิดค้นพันธุ์พืชใหม่ที่ได้จากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเฉพาะนั้น ควรคำนึงแยกระหว่างหลักการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ กับอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุกรรมพืชซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรมพืชซึ่งสมควรจะอนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่ต่อไป แต่ขณะเดียวกันก็ควรจะส่งเสริมให้มีการคิดค้น พัฒนาพันธุ์พืชใหม่ที่ได้จากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ควบคู่กันได้ด้วย ซึ่งอาจเป็นการต่อยอดมาจากพันธุกรรมพืชเดิมที่มีอยู่ หรือเป็นการคิดค้น พัฒนาให้เกิดเป็นสายพันธุ์ใหม่เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชากรที่เพิ่มมากขึ้น และเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อเกษตรกรไทย รวมไปถึงสามารถแข่งขันทางเศรษฐกิจกับประเทศอื่นๆ ได้
แต่อย่างไรก็ตามการให้ความคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ที่ได้จากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ยังคงเป็นปัญหาว่าจะอยู่ความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 หรือไม่ จึงควรมีการแก้ไขมาตรา 3 โดยเพิ่มคำจำกัดความของคำว่า “พันธุ์พืชใหม่ หมายความรวมถึง พันธุ์พืชใหม่ที่ได้จากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ด้วย” เพื่อให้พันธุ์พืชใหม่ที่ได้จากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายนี้และเพื่อเป็นการขจัดข้อขัดแย้งในเรื่องการตีความข้อกฎหมาย จึงควรเพิ่ม“พันธุ์พืชใหม่ที่ได้จากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์” เข้าไปในบทนิยามของพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 ซึ่งจะเกิดผลดีต่อประชากรโดยส่วนใหญ่มากกว่าการคุ้มครองภายใต้กฎหมายสิทธิบัตรโดยเฉพาะผลดีที่จะเกิดขึ้นกับเกษตรกรซึ่งถือเป็นรากฐานสาคัญในการผลิตอาหาร เพื่อสนองต่อความต้องการของประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ
ดังนั้น วิทยานิพนธ์เล่มนี้จึงศึกษาแนวทางการให้ความคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ที่ได้จากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ภายใต้อนุสัญญาหรือกฎหมายของต่างประเทศ และแนวทางในการให้ความคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ที่ได้จากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของประเทศไทย โดยศึกษาเปรียบเทียบภายใต้กฎหมายสิทธิบัตรและกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชเพื่อให้ทราบถึงข้อดีข้อเสียของกฎหมายทั้งสองฉบับและนามาเป็นแนวทางการให้ความคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ที่ได้จากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งนักปรับปรุงพันธุ์พืชและเกษตรกรของไทย
นักปรับปรุงพันธุ์ได้นาความรู้ด้านพันธุศาสตร์สมัยใหม่มาใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืช ซึ่งทาให้การพัฒนาปรับปรุงพันธุ์พืชเป็นไปอย่างมีระบบมากยิ่งขึ้น โดยมีการวิจัยพันธุ์พืชในห้องทดลองปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อให้ได้พันธุ์พืชใหม่ที่มีคุณสมบัติที่ดีในด้านต่างๆ เช่น มีความต้านทานต่อโรคสูง ให้ผลผลิตสูง มีรสชาดดี สีสรรสวยงาม มีกลิ่นหอม และที่สาคัญมีมูลค่าทางการตลาดสูงก่อให้เกิดผลตอบแทนสูงที่สุด การวิจัยและพัฒนาเพื่อปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อให้ได้พันธุ์พืชใหม่ที่มีคุณสมบัติดังกล่าวข้างต้นนั้น จาต้องใช้ระยะเวลานานและอาศัยเงินลงทุนจำนวนมาก จึงเกิดกระแสการเรียกร้องให้มีการคุ้มครองพันธุ์พืชจากนักปรับปรุงพันธุ์ให้มีการนาระบบสิทธิบัตรมาใช้ในการคุ้มครองพันธุ์พืชแต่ก็ไม่ได้รับการยอมรับเนื่องจากกฎหมายสิทธิบัตรได้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเกี่ยวข้องกับกลไกการทางานของเครื่องจักรหรือเครื่องยนต์ แต่พืชเป็นสิ่งที่มีชีวิตที่มีความแตกต่างจากการประดิษฐ์ดังกล่าวนั้น จึงเป็นการยากที่จะแสดงให้เห็นว่าพันธุ์พืชที่ขอรับสิทธิบัตรนั้นมีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น ทั้งการเปิดเผยรายละเอียดการประดิษฐ์ก็ไม่ใช่สิ่งที่กระทาได้โดยง่ายนัก และอีกเหตุผลหนึ่งที่สาคัญ คือ พืชเป็นสิ่งที่มีความสาคัญต่อการเกษตรและการดารงชีวิตของผู้คนจำนวนมากแต่สิทธิบัตรเป็นการให้สิทธิผูกขาดที่สมบูรณ์ซึ่งจะส่งผลกระทบในทางเศรษฐกิจและสังคม
จากข้อจำกัดดังกล่าวนี้เองทาให้หลายประเทศได้พยายามที่จะบัญญัติกฎหมายขึ้นมาเพื่อให้เป็นกฎหมายเฉพาะและมีวัตถุประสงค์โดยตรงในการคุ้มครองพันธุ์พืชเพื่อที่จะไม่ต้องอาศัยเทียบเคียงกับกฎหมายสิทธิบัตร สาหรับประเทศไทยมีพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 โดยให้ความคุ้มครองพันธุ์พืชเพื่อเป็นการส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจให้มีการพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์พืชใหม่ๆภายใต้หลักความปลอดภัยทางชีวภาพด้วยการให้สิทธิคุ้มครองตามกฎหมายอีกทั้งเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์และพัฒนาการใช้ประโยชน์พันธุ์พืชพื้นเมืองและพันธุ์พืชป่าและเพื่อการกระตุ้นให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ในทรัพยากรพันธุพืชอย่างยั่งยืน
หลักการในเรื่องที่จะส่งเสริมให้มีการพัฒนาคิดค้นพันธุ์พืชใหม่ที่ได้จากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเฉพาะนั้น ควรคำนึงแยกระหว่างหลักการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ กับอนุรักษ์ทรัพยากรพันธุกรรมพืชซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางพันธุกรรมพืชซึ่งสมควรจะอนุรักษ์ไว้ให้คงอยู่ต่อไป แต่ขณะเดียวกันก็ควรจะส่งเสริมให้มีการคิดค้น พัฒนาพันธุ์พืชใหม่ที่ได้จากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ควบคู่กันได้ด้วย ซึ่งอาจเป็นการต่อยอดมาจากพันธุกรรมพืชเดิมที่มีอยู่ หรือเป็นการคิดค้น พัฒนาให้เกิดเป็นสายพันธุ์ใหม่เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชากรที่เพิ่มมากขึ้น และเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อเกษตรกรไทย รวมไปถึงสามารถแข่งขันทางเศรษฐกิจกับประเทศอื่นๆ ได้
แต่อย่างไรก็ตามการให้ความคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ที่ได้จากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ยังคงเป็นปัญหาว่าจะอยู่ความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 หรือไม่ จึงควรมีการแก้ไขมาตรา 3 โดยเพิ่มคำจำกัดความของคำว่า “พันธุ์พืชใหม่ หมายความรวมถึง พันธุ์พืชใหม่ที่ได้จากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ด้วย” เพื่อให้พันธุ์พืชใหม่ที่ได้จากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายนี้และเพื่อเป็นการขจัดข้อขัดแย้งในเรื่องการตีความข้อกฎหมาย จึงควรเพิ่ม“พันธุ์พืชใหม่ที่ได้จากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์” เข้าไปในบทนิยามของพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 ซึ่งจะเกิดผลดีต่อประชากรโดยส่วนใหญ่มากกว่าการคุ้มครองภายใต้กฎหมายสิทธิบัตรโดยเฉพาะผลดีที่จะเกิดขึ้นกับเกษตรกรซึ่งถือเป็นรากฐานสาคัญในการผลิตอาหาร เพื่อสนองต่อความต้องการของประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ
ดังนั้น วิทยานิพนธ์เล่มนี้จึงศึกษาแนวทางการให้ความคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ที่ได้จากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ภายใต้อนุสัญญาหรือกฎหมายของต่างประเทศ และแนวทางในการให้ความคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ที่ได้จากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของประเทศไทย โดยศึกษาเปรียบเทียบภายใต้กฎหมายสิทธิบัตรและกฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืชเพื่อให้ทราบถึงข้อดีข้อเสียของกฎหมายทั้งสองฉบับและนามาเป็นแนวทางการให้ความคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่ที่ได้จากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งนักปรับปรุงพันธุ์พืชและเกษตรกรของไทย
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ม.) -- สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557