บทบาทของเครือข่ายในการจัดการพลังงานชุมชน: ศึกษากลุ่มอาสาสมัครพลังงานจังหวัดสิงห์บุรี
by ทิพย์วิมล แสงสุวรรณ
Title: | บทบาทของเครือข่ายในการจัดการพลังงานชุมชน: ศึกษากลุ่มอาสาสมัครพลังงานจังหวัดสิงห์บุรี |
Other title(s): | The role of network in community energy management : a case study of Singburi renewable energy group |
Author(s): | ทิพย์วิมล แสงสุวรรณ |
Advisor: | วิชชุดา สร้างเอี่ยม |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การจัดการสิ่งแวดล้อม |
Degree department: | คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2018 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างและการจัดการของเครือข่ายกลุ่มอาสาสมัครพลังงานชุมชนจังหวัดสิงห์บุรี อธิบายบทบาทของเครือข่ายในการจัดการพลังงานชุมชนของกลุ่มอาสาสมัครพลังงานชุมชนจังหวัดสิงห์บุรี และการเสนอแนะแนวทางในการพัฒนาเครือข่ายในการจัดการพลังงานชุมชน จากการวิเคราะห์ปัญหาของการจัดการเครือข่าย เพื่อให้เครือข่ายและชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้และเกิดความยั่งยืน การศึกษาครั้งนี้อาศัยวิธีวิทยาเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม ตลอดจนนำเสนอผลการศึกษาด้วยวิธีการบรรยายเชิงพรรณนา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ สมาชิกเครือข่ายกลุ่มอาสาสมัครพลังงานชุมชนจังหวัดสิงห์บุรี และเจ้าหน้าที่สำนักงานพลังงานจังหวัดสิงห์บุรี
ผลการศึกษาพบว่า เครือข่ายกลุ่มอาสาสมัครพลังงานจังหวัดสิงห์บุรี เป็นการรวมกลุ่มกันของอาสาสมัครพลังงานชุมชนจังหวัดสิงห์บุรีที่ได้เข้าอบรมด้านพลังงานจากการสนับสนุนของสำนักงานพลังงานจังหวัดสิงห์บุรี เพื่อต่อยอดความรู้จากการอบรมไปสู่การปฏิบัติ มีการจัดระบบเครือข่ายตามลักษณะเครือข่ายกึ่งทางการ สมาชิกส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ เกษตรกร รับราชการ และข้าราชการเกษียณ และสมาชิกบางส่วนเป็นสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล โดยมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ของสมาชิกตามศักยภาพและความสนใจ เครือข่ายกลุ่มอาสาสมัครพลังงานจังหวัดสิงห์บุรีมีการดำเนินกิจกรรมด้านพลังงานชุมชนร่วมกันอย่างต่อเนื่อง โดยใช้งบประมาณจากกองทุนของเครือข่ายที่รวบรวมจากสมาชิก โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพลังงานจังหวัดสิงห์บุรีในการให้ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และอำนวยความสะดวกด้านสถานที่ในการดำเนินกิจกรรม จากการดำเนินกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอทำให้เครือข่ายกลุ่มอาสาสมัครพลังงานจังหวัดสิงห์บุรีประสบความสำเร็จในระยะแรก เป็นที่ยอมรับจากภาครัฐและเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง สมาชิกบางส่วนได้กลายเป็นวิทยากรในการให้ความรู้ด้านพลังงานชุมชนให้กับสื่อและหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในจังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดอื่น มีการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ด้านพลังงานชุมชนภายในบ้านของสมาชิก ทำให้ประชาชนจากชุมชนต่าง ๆ ในจังหวัดสิงห์บุรีเกิดความสนใจในเครือข่ายและเข้าร่วมเป็นสมาชิกเครือข่าย จึงเกิดการขยายตัวของเครือข่ายจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนสมาชิก อย่างไรก็ตาม การไม่มีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างสมาชิกรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ ทำให้การดำเนินกิจกรรมและการพัฒนาของเครือข่ายในระยะต่อไปเป็นไปอย่างล่าช้า
เครือข่ายกลุ่มอาสาสมัครพลังงานจังหวัดสิงห์บุรี เป็นเครือข่ายที่มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมและจัดการพลังงานชุมชน ทั้งในแง่การใช้ประโยชน์จากทุนทางสังคมในการจัดการพลังงานชุมชน การส่งเสริมการพึ่งพาตนเองด้านพลังงาน และการสร้างพลังทางการขับเคลื่อนนโยบายด้านพลังงานชุมชน อย่างไรก็ตาม เครือข่ายยังคงประสบปัญหาเรื่องของความไม่สม่ำเสมอของสมาชิกในการเข้ามามีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันภายในเครือข่าย การขาดเป้าหมายร่วมกันของสมาชิกภายในเครือข่าย และการเก็บเงินกองทุนของเครือข่าย ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ ได้แก่ การรักษาความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของเครือข่าย โดยอาศัยกิจกรรมร่วมกัน ได้แก่ กิจกรรมการสัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้านพลังงานชุมชน การสานต่อการกำหนดเป้าหมายร่วมกันของสมาชิกในการดำเนินกิจกรรมขั้นต่อไปของเครือข่าย และการกำหนดกติกาทางการเงินที่ชัดเจน ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาและการดำเนินการของเครือข่ายที่ยั่งยืนในการจัดการพลังงานชุมชน |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561 |
Subject(s): | ชุมชน -- การมีส่วนร่วมของประชาชน |
Keyword(s): | e-Thesis
เครือข่าย พลังงานชุมชน เครือข่ายกลุ่มอาสาสมัครพลังงานชุมชนจังหวัดสิงห์บุรี การวางแผนพลังงานชุมชน |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 105 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4389 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|
Related items
Showing items related by title, author, creator and subject.
-
การพัฒนาพลังงานไฟฟ้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ปัญหาในการวางแผนและดำเนินการ
สุพิณ ปัญญามาก; ไพบูลย์ ช่างเรียน, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 1972)
ศึกษาและวิเคราะห์การวางแผนพัฒนาพลังงานไฟฟ้าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเริ่มศึกษาตั้งแต่การก่อสร้างโครงการน้ำพอง และโครงการน้ำพุงแล้วเสร็จ คือ ตั้งแต่ต้นปี 2510 เป็นต้นมา ผู้เขียนได้บรรยายความเป็นมาของการพัฒนาโครงการน้ำพอง โครงการน้ำพุง และโครงการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการจัดตั้งการไฟฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือขึ้น แล้วพิจารณาความต้องการพลังงานไฟฟ้า วิเคราะห์แนวโน้มการขยายตัวทางด้านพลังงานไฟฟ้าภายหลังที่โครงการน้ำพองและโครงการน้ำพุงแล้วเสร็จ รวมทั้งพิจารณาการคิดคำนวณความต้องการใช้ไฟฟ้าในระยะ 5 ปีข้างหน้า ศึกษาการดำเนินงานในด้านการวางแผนพัฒนาพลังง ... -
แนวทางการจัดการจราจรและขนส่งเพื่อการประหยัดพลังงานและลดมลพิษสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : กรณีศึกษาเทศบาลเมืองชลบุรี
ฉันทนา สมยา; จำลอง โพธิ์บุญ, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2004) -
การจราจรที่ยั่งยืนของกรุงเทพมหานครเพื่อลดการใช้พลังงานและบรรเทาปัญหาภาวะโลกร้อน
ณัฐวรา งามละม่อม; จำลอง โพธิ์บุญ, อาจารย์ที่ปรึกษา (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2011)