แนวทางการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมชายฝั่งและนอกชายฝั่งในประเทศไทย
by กนกวรรณ สุวรรณมุข
Title: | แนวทางการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมชายฝั่งและนอกชายฝั่งในประเทศไทย |
Other title(s): | Guidelines for promoting electricity generation from onshore and offshore windfarm in Thailand |
Author(s): | กนกวรรณ สุวรรณมุข |
Advisor: | วิสาขา ภู่จินดา |
Degree name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree discipline: | การจัดการสิ่งแวดล้อม |
Degree department: | คณะบริหารการพัฒนาสิ่งแวดล้อม |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2018 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การวิจัยเรื่องแนวทางการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมชายฝั่งและนอกชายฝั่งในประเทศไทยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพทางด้านกายภาพ ด้านเทคนิค ด้านเศรษฐศาสตร์และการเงิน ด้านสังคม ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านบริหารโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมชายฝั่งและนอกชายฝั่ง อีกทั้งเปรียบเทียบผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนและวิเคราะห์เปรียบเทียบนโยบายสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมชายฝั่งและนอกชายฝั่ง เพื่อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมชายฝั่งและนอกชายฝั่งที่เหมาะสมกับประเทศไทย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมจากหน่วยงานภาครัฐจำนวน 6 ท่าน และผู้ประกอบกิจการการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม จำนวน 6 ท่าน โดยนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษามาทำการวิเคราะห์โดยจับกลุ่มประเด็นตามหลักการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ (feasibility study) และนำมาวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน นอกจากนั้นอาศัยการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT analysis) เพื่อหาแนวทางการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมชายฝั่งและนอกชายฝั่งในประเทศไทย
ผลการศึกษาพบว่า ประเทศไทยมีศักยภาพในการพัฒนาการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมชายฝั่งและนอกชายฝั่งในหลายพื้นที่ เช่น บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และบริเวณนอกชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ภาครัฐมีการดำเนินการจัดทำโครงการต้นแบบและให้การสนับสนุนการดำเนินโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมชายฝั่งผ่านมาตรการทางการเงิน เช่น การรับซื้อไฟฟ้าแบบ FiT สำหรับการสนับสนุนโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมนอกชายฝั่ง ภาครัฐควรดำเนินนโยบายรับซื้อไฟฟ้าในรูปแบบ FiT แต่ควรแบ่งอัตราที่คำนึงถึงประเภทของเทคโนโลยีและพื้นที่ที่ติดตั้งกังหันลมที่คำนึงถึงความลึกของน้ำและระยะห่างจากชายฝั่ง โดยการพิจารณาตามแต่ละโครงการ
การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมชายฝั่งและนอกชายฝั่ง มีค่าผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุนคิดเป็น 4.9 และ 3.52 ตามลำดับ ด้านเศรษฐกิจ คือ การได้รับประโยชน์จากการใช้ไฟฟ้าของชุมชน การจ้างงานสามารถเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร การพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว ด้านสังคม คือ การสร้างหรือปรับปรุงถนนและสาธารณูปโภคในชุมชน และด้านสิ่งแวดล้อม คือ การสร้างรายได้จากการซื้อขายคาร์บอนเครดิต
แนวทางการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมชายฝั่ง ภาครัฐควรส่งเสริมการผลิตชิ้นส่วนกังหันลมและเทคโนโลยีการจัดเก็บไฟฟ้าที่ผลิตได้ภายในประเทศ เพื่อให้สามารถจ่ายไฟฟ้าได้ตรงตามความต้องการ และส่งเสริมการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ด้านเทคโนโลยีให้กับชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถเป็นเจ้าของโรงไฟฟ้าจากพลังงานลมได้เอง สำหรับแนวทางการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมนอกชายฝั่งในประเทศไทยนั้น ภาครัฐควรให้การส่งเสริมการศึกษาความเหมาะสมและศักยภาพของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมนอกชายฝั่ง ทั้งด้านความเร็วลม เทคโนโลยี ต้นทุนและผลประโยชน์ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ผลกระทบทางสังคมและผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม และจัดทำแผนที่ซึ่งแสดงถึงศักยภาพของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมนอกชายฝั่งในแต่ละพื้นที่และจัดตั้งโครงการสาธิตการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมนอกชายฝั่งเช่นเดียวกับการจัดตั้งโครงการนำร่องของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมชายฝั่ง เพื่อเป็นตัวอย่างในการสร้างแรงจูงใจให้กับภาคเอกชนในการลงทุน รวมทั้งศึกษารูปแบบการส่งเสริมและสนับสนุนในอัตราที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาในอนาคต
|
Description: |
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561 |
Subject(s): | พลังงานลม
ไฟฟ้า -- การผลิต |
Keyword(s): | e-Thesis
การส่งเสริมการผลิตไฟฟ้า พลังงานลมชายฝั่ง พลังงานลมนอกชายฝั่ง |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 185 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4391 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|