Now showing items 1-4 of 4

  • Thumbnail

    กระบวนพิจารณาและความรับผิดทางอาญาของผู้หญิงที่ถูกทำร้ายสะสม 

    ชญาธร ยุติธรรมวงษ์; วัชรชัย จิรจินดากุล (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)

    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนพิจารณาและความรับผิดทางอาญาที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิงที่ถูกทำร้ายสะสม (Battered Woman Syndrome: BWS) โดยผู้เขียนได้แบ่งประเด็นกฎหมายเพื่อวิเคราะห์ออกเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ 1 การนำสืบพยานผู้เชี่ยวชาญในกระบวนพิจารณา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และ 2 โครงสร้างความรับผิดทางอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา รวมถึงวิเคราะห์หาแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายให้มีความเหมาะสมกับสภาพสังคมไทยในปัจจุบัน ในการศึกษานี้ได้นำแนวคิดจากทฤษฎีวงจรความรุนแรง (Cycle Theory of Violence) และทฤษฎีความสิ้นหวังอันเกิดจากการเรียนรู้ ...
  • Thumbnail

    การปรับใช้แนวคิดการลงโทษให้ได้สัดส่วน (Just Deserts) กับการพิจารณาความผิดที่เด็กและเยาวชนเป็นผู้กระทำในฐานความผิดเกี่ยวกับเพศว่าด้วยการข่มขืนกระทำชำเรา 

    อรุณรัตน์ ธำรงศรีสุข; วัชรชัย จิรจินดากุล (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)

    ปัจจุบันการกระทำความผิดทางอาญาของเด็กและเยาวชนในประเทศไทยมีสถิติที่สูงขึ้น จากการศึกษาพบว่า การกระทำความผิดเหล่านั้นมีลักษณะร้ายแรง ไม่ต่างจากการกระทำความผิดของผู้กระทำความผิดที่เป็นผู้ใหญ่ โดยเฉพาะฐานความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาลักษณะ 9 ความผิดเกี่ยวกับเพศว่าด้วยการข่มขืนกระทำชำเรา ซึ่งบทความนี้ศึกษาแนวคิดการลงโทษให้ได้สัดส่วน (Just Desserts) กับการพิจารณาความผิดที่เด็กและเยาชวนเป็นผู้กระทำความผิดกรณีความผิดเกี่ยวกับเพศว่าด้วยการข่มขืนกระทำชำเรา โดยผู้เขียนได้ใช้วิธีการศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการที่เด็กและเยาวชนกระทำความผิดตาม ...
  • Thumbnail

    มาตรการทางกฎหมายในการจัดการปัญหาสุนัขจรจัดในประเทศไทย: ศึกษากรณีบทบาทของเจ้าของสุนัข ผู้ประกอบกิจการเพื่อจำหน่ายสุนัข และหน่วยงานรัฐ 

    ยศนันท์ ปานาภรณ์; วัชรชัย จิรจินดากุล (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2019)

    การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และหลักกฎหมาย เกี่ยวกับการแก้ปัญหา สุนัขจรจัด ศึกษากรณีบทบาทของเจ้าของผู้ประกอบกิจการเพื่อจ้าหน่ายสุนัขและหน่วยงานของรัฐ โดยมีขอบเขตการศึกษาคือ พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 ของประเทศไทย เปรียบเทียบกับกฎหมายหรือมาตรการที่เกี่ยวข้องของประเทศญี่ปุ่น พระราชบัญญัติสวัสดิภาพและการจัดการสัตว์ พ.ศ.2557 (Act on Welfare and Management of Animals 2014) และกฎหมายหรือมาตรการที่เกี่ยวข้องของประเทศนิวซีแลนด์ พระราชบัญญัติ ควบคุมสุนัข พ.ศ.2539 (Dog Control Act 1996) โดยมุ่งวิเ ...
  • Thumbnail

    แนวคิดการพัฒนากฎหมายแรงงานของไทย: ศึกษากรณีแรงงานเด็กเคลื่อนย้ายถิ่นฐานในอุตสาหกรรมงานก่อสร้าง 

    ปานวาด ทับทัง; วัชรชัย จิรจินดากุล (สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2018)

    วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษากฎหมายกับนโยบายว่าด้วยแนวคิดการพัฒนากฎหมายแรงงานของไทย โดยศึกษากรณีปัญหาแรงงานเด็กเคลื่อนย้ายถิ่นฐานในอุตสาหกรรมงานก่อสร้าง เนื่องจากประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่เข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economics Community : AEC) ที่มีนโยบายส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนย้ายเสรีทั้งสิ่งของและคนในภูมิภาค ส่งผลให้ปัจจุบันมีแรงงานเคลื่อนย้ายถิ่นฐานเข้ามาทำงานในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก โดยหนึ่งในนั้นเป็นแรงงานเด็กเคลื่อนย้ายถิ่นฐานที่เข้าทำงานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ทั้งนี้การคุ้มครองสิทธิเด็กและแรงงานเด็กเป็นหนึ่งในเป้าหมายของกา ...