• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

การศึกษาเปรียบเทียบการบริหารจัดการของสำนักงานยุติธรรมจังหวัด: กรณีศึกษา สำนักงานยุติธรรมจังหวัดนครปฐม และจังหวัดสมุทรสงคราม

by นุชชา ดอกตาลยงค์

Title:

การศึกษาเปรียบเทียบการบริหารจัดการของสำนักงานยุติธรรมจังหวัด: กรณีศึกษา สำนักงานยุติธรรมจังหวัดนครปฐม และจังหวัดสมุทรสงคราม

Other title(s):

A comparative study of the matrix and new forms of Provincial Justice Offices : A case study of Nakhon Pathom Province and Samut Songkhram Province

Author(s):

นุชชา ดอกตาลยงค์

Advisor:

สุวิชา เป้าอารีย์

Degree name:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree discipline:

การบริหารการพัฒนาสังคม

Degree department:

คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2014

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงการบริหารจัดการของสำนักงานยุติธรรมจังหวัดที่อยู่ในโครงการนำร่องและสำนักงานยุติธรรมจังหวัดแบบเมตริกซ์ 2) ศึกษาเปรียบเทียบการบริหารจัดการของสำนักงานยุติธรรมจังหวัดที่อยู่ในโครงการนำร่องและสำนักงานยุติธรรมจังหวัดแบบเมตริกซ์ และ 3) ศึกษาปัญหา อุปสรรคและแนวทางการส่งเสริมการบริหารจัดการของสำนักงานยุติธรรมจังหวัดให้มีประสิทธิผล วิธีการศึกษาใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการสังเกตพฤติกรรม ผู้ศึกษาได้ทำการรวบรวมข้อมูลที่ได้จากเอกสารและรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์รายบุคคลรวมทั้งสิ้น 17 คน
ผลการศึกษา พบว่า การเปรียบเทียบการบริหารจัดการของสำนักงานยุติธรรมจังหวัดที่อยู่ในโครงการนำร่องและสำนักงานยุติธรรมจังหวัดแบบเมตริกซ์ ด้านการวางแผน 1) ทั้ง 2 จังหวัดได้รับแผนในการปฏิบัติงานมาจากแผนปฏิบัติราชการ 4 ปีของทางกระทรวงยุติธรรมและแผนปฏิบัติราชการ 4 ปีของสำนักงานยุติธรรมจังหวัดทำให้เกิดความคล้ายคลึงกันในด้านการวางแผนการทำงาน 2) โครงการต่างๆ ที่เกิดขึ้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะทำให้คนในพื้นที่ได้รับประโยชน์สูงสุด 3) มีการวิเคราะห์SWOT โดยต่างก็วิเคราะห์ จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาสและอุปสรรค สภาพแวดล้อมต่างๆ ที่มีผลต่อสำนักงานฯ และต่างก็ปรับสิ่งที่ได้จากการวิเคราะห์มาปรับใช้กับสำนักงานของตน 4) มีการบูรณาการในการทำงานร่วมกันของ สยจ.และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯที่อยู่ในพื้นที่ในการทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อทำให้เกิดการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันของเจ้าหน้าที่ 5) จำนวนงบประมาณที่ทั้ง 2 ที่ได้รับส่งผลโดยตรงกับโครงการตามแผนที่ได้กำหนดไว้ โดยงบประมาณจะเป็นตัวกำหนดปริมาณของโครงการและความเล็กใหญ่ของโครงการ ทำให้ สยจ.สมุทรสงครามจะถูกจำกัดโดยงบประมาณที่ได้รับที่มีจำนวนที่น้อย 6) มีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการทำงาน รวมถึงค่านิยมร่วมมีความต่างกันขึ้นอยู่การพิจารณาของแต่ละ สยจ.เพื่อทำให้เกิดความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ด้านการจัดองค์การ 1) เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานให้กับ สยจ.จะเป็นการจ้างแบบการจ้างเหมา และลูกจ้างชั่วคราว 2) มีการตั้งคณะกรรมการบริหารสำนักงานยุติธรรมจังหวัดเพื่อควบคุม ดูแล การทำงานของ สยจ. 3) สยจ.นครปฐมเป็นแบบนำร่อง โดยทางกระทรวงฯได้มีการปรับบทบาทของตำแหน่งประธานกรรมการบริหารสำนักงานยุติธรรมจังหวัด (ประธาน กยจ.)แยกออกมาจากตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานยุติธรรม (หัวหน้า สยจ.) เพื่อให้เกิดความเหมาะสมและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ในส่วนของ สยจ.สมุทรสงครามเป็นการจัดโครงสร้างแบบดั่งเดิมดังนั้นจะบริหารในรูปแบบของคณะกรรมการบริหารสำนักงานยุติธรรม (กยจ.) โดยที่ประธานกรรมการจะพ่วงตำแหน่งยุติธรรมจังหวัดด้วย ด้านการควบคุม 1) สยจ.นครปฐมจะมีตัวชี้วัดในการทำงานที่ชัดเจนซึ่งมาจากกระทรวงฯ โดยมีด้วยกันทั้งหมด 10 ตัวชี้วัดซึ่งทาง สยจ.สมุทรสงครามไม่มีตัวชี้วัดดังกล่าว 2) สยจ.นครปฐมมีการประเมินผลงานของบุคลากรภายในที่มีความชัดเจน โดยมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบ ด้านการนำ 1) การเน้นความสัมพันธ์ในที่ทำงานแบบไม่เป็นทางการ เน้นที่ความสัมพันธ์แบบมีส่วนร่วมของบุคลากรภายในและบุคลากรที่ในสังกัดกระทรวงฯ 2) ความแตกต่างในอำนาจในการจัดการสำนักงานฯ ผู้บริหารสยจ.นครปฐมมีอำนาจในการควบคุมดูแล ตัดสินใจทุกเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ สยจ.ได้ทั้งหมดเป็นอำนาจในการบริหารที่แท้จริง แต่ในส่วนของสมุทรสงครามในการดำเนินการจะต้องผ่านคณะกรรมการบริหารสำนักงานยุติธรรมจังหวัดทั้งหมดทำให้ผู้บริหารไม่มีอำนาจที่แท้จริงในการบริหาร สยจ.
ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น 1) บุคลากรไม่เพียงพอต่องานที่ได้รับ 2) การไม่มีกฎหมายมารองรับของสำนักงานฯและการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่อย่างสมบูรณ์ 3) การลงพื้นที่ในการสร้างเครือข่ายชุมชนไม่ได้รับความร่วมมือมากนักจากคนในพื้นที่ในการสร้างเครือข่าย 4) บุคลากรของสำนักงานฯยังขาดความเชี่ยวชาญในงานที่ได้รับมอบหมาย
ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษา 1) ควรพิจารณาเบี้ยเลี้ยงหรือตัวช่วยเสริมการทำงานให้กับคนที่มาปฏิบัติงานกับทางสำนักงานฯในด้านการสร้างเครือข่ายยุติธรรมชุมชน 2) ควรมีการวางแผนการบริหารจัดการและการกำหนดตัวชี้วัดให้กับสำนักงาน/บุคลากร ในการประเมินการทำงาน

Description:

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2557

Subject(s):

การบริหาร

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

229 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4432
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b190490.pdf ( 2,249.87 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [559]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×