ผลกระทบของการท่องเที่ยวต่อวิถีชุมชน ตำบลดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฏร์ธานี
Publisher
Issued Date
2015
Issued Date (B.E.)
2558
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
289 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b190491
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
กิตติกร เมืองเกิด (2015). ผลกระทบของการท่องเที่ยวต่อวิถีชุมชน ตำบลดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฏร์ธานี. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4435.
Title
ผลกระทบของการท่องเที่ยวต่อวิถีชุมชน ตำบลดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฏร์ธานี
Alternative Title(s)
The impact of tourism on lifestyle a case study of Tumbon Donsak, Suratthani Province
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของประชาชนชุมชนดอนสัก 2) ศึกษาผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อวิถีชีวิตของของประชาชน และ 3) ศึกษาแนวทางในการควบคุมผลกระทบทางลบจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ต่อการพัฒนาในเทศบาลตำบลดอนสัก อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฏร์ธานี วิธีการศึกษาใช้แนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth interview) กับผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ (Key-Informant) จำนวน 18 คน และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม (Non -Participant Observation)
ผลการวิจัยพบว่า การเปลี่ยนแปลงจากการท่องเที่ยวได้ส่งผลกระทบที่สำคัญต่อชุมชน ดังนี้ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ 1) ปัญหาขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่เกิดจากแหล่งรองรับนักท่องเที่ยว ที่ใช้บริการของบริษัทราชาเฟอร์รี่ จำกัด และบริษัทซีทรานเฟอร์รี่ จำกัด เริ่มก่อให้เกิดผลเสียให้กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือได้ว่าเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างยิ่งของประชาชน ซึ่งเห็นได้จากชุมชนเต็มไปด้วยขยะ 2) ปัญหาการขุดลอกร่องน้ำและทิ้งดินเลนลงทะเลของผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยว ส่งผลให้ชาวประมงพื้นบ้าน และประชาชนที่อาศัยอยู่ในตำบลดอนสัก ได้รับผลกระทบโดยตรง จึงเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องได้รับการแก้ไข
ปัญหาที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อเศรษฐกิจ ประกอบด้วย 1) ปัญหาคุณภาพของแรงงาน เกิดจากการถ่ายเทแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน เข้ามาทำงานในชุมชนที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว และอาจมีแรงงานส่วนหนึ่งที่ด้อยคุณภาพเข้ามาประกอบอาชีพ ด้วยค่าแรงที่ต่ำกว่าแรงงานคนไทยมาก ซึ่งคาดว่าเมื่อมีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อาจจะมีการเคลื่อนย้ายมาของแรงงานเข้ามาอีกจำนวนมาก 2) ปัญหาราคาสินค้าที่ขยับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในตำบลดอนสัก ต้องแบกรับค่าครองชีพที่สูงไปด้วย และนอกจากนี้ยังทำให้ราคาที่ดินในชุมชนเพิ่มสูงขึ้น
ผลกระทบต่อสังคม ประกอบด้วย 1) การเข้ามาจับจองที่ดินสาธารณะ เพื่อใช้ปลูกสร้างเป็นที่พักอาศัย ก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย เช่น การไปทำลายพื้นที่ป่าไม้ การไปทำลายพื้นที่ป่าชายเลนอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และสืบเนื่องถึงการทิ้งขยะ และสิ่งปฏิกูลที่เกิดจากครัวเรือนลงในทะเล จนส่งผลต่อระบบนิเวศทางทะเล ตลอดจนการเข้ามาครอบครองพื้นที่ของกลุ่มผู้มีอิทธิพลและกลุ่มนักลงทุน ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ได้เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ด้วยการรุกล้ำที่ดินสาธารณะ 2) ปัญหาการขาดที่อยู่อาศัย อันเป็นผลสืบเนื่องจากจำนวนครัวเรือนที่มีเพิ่มขึ้นในเขตเทศบาลตำบลดอนสัก ทำให้พื้นที่บางส่วน มีประชาชนเข้าไปปลูกสร้างที่อยู่อาศัยส่งผลให้พื้นที่สาธารณะถูกทำลายลงไปอย่างรวดเร็ว
ผลการวิจัยพบว่า การเปลี่ยนแปลงจากการท่องเที่ยวได้ส่งผลกระทบที่สำคัญต่อชุมชน ดังนี้ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ 1) ปัญหาขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลที่เกิดจากแหล่งรองรับนักท่องเที่ยว ที่ใช้บริการของบริษัทราชาเฟอร์รี่ จำกัด และบริษัทซีทรานเฟอร์รี่ จำกัด เริ่มก่อให้เกิดผลเสียให้กับสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือได้ว่าเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างยิ่งของประชาชน ซึ่งเห็นได้จากชุมชนเต็มไปด้วยขยะ 2) ปัญหาการขุดลอกร่องน้ำและทิ้งดินเลนลงทะเลของผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยว ส่งผลให้ชาวประมงพื้นบ้าน และประชาชนที่อาศัยอยู่ในตำบลดอนสัก ได้รับผลกระทบโดยตรง จึงเป็นปัญหาเร่งด่วนที่ต้องได้รับการแก้ไข
ปัญหาที่ส่งผลกระทบด้านลบต่อเศรษฐกิจ ประกอบด้วย 1) ปัญหาคุณภาพของแรงงาน เกิดจากการถ่ายเทแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้าน เข้ามาทำงานในชุมชนที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว และอาจมีแรงงานส่วนหนึ่งที่ด้อยคุณภาพเข้ามาประกอบอาชีพ ด้วยค่าแรงที่ต่ำกว่าแรงงานคนไทยมาก ซึ่งคาดว่าเมื่อมีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อาจจะมีการเคลื่อนย้ายมาของแรงงานเข้ามาอีกจำนวนมาก 2) ปัญหาราคาสินค้าที่ขยับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในตำบลดอนสัก ต้องแบกรับค่าครองชีพที่สูงไปด้วย และนอกจากนี้ยังทำให้ราคาที่ดินในชุมชนเพิ่มสูงขึ้น
ผลกระทบต่อสังคม ประกอบด้วย 1) การเข้ามาจับจองที่ดินสาธารณะ เพื่อใช้ปลูกสร้างเป็นที่พักอาศัย ก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย เช่น การไปทำลายพื้นที่ป่าไม้ การไปทำลายพื้นที่ป่าชายเลนอย่างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และสืบเนื่องถึงการทิ้งขยะ และสิ่งปฏิกูลที่เกิดจากครัวเรือนลงในทะเล จนส่งผลต่อระบบนิเวศทางทะเล ตลอดจนการเข้ามาครอบครองพื้นที่ของกลุ่มผู้มีอิทธิพลและกลุ่มนักลงทุน ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ ได้เข้ามาแสวงหาผลประโยชน์ด้วยการรุกล้ำที่ดินสาธารณะ 2) ปัญหาการขาดที่อยู่อาศัย อันเป็นผลสืบเนื่องจากจำนวนครัวเรือนที่มีเพิ่มขึ้นในเขตเทศบาลตำบลดอนสัก ทำให้พื้นที่บางส่วน มีประชาชนเข้าไปปลูกสร้างที่อยู่อาศัยส่งผลให้พื้นที่สาธารณะถูกทำลายลงไปอย่างรวดเร็ว
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558