การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์และวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ตามหลักการประเมินวัฏจักรชีวิตของอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังเพื่อกำหนดนโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อม
Publisher
Issued Date
2015
Issued Date (B.E.)
2558
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
452 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b190482
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ธารทิพย์ เศรษฐชาญวิทย์ (2015). การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์และวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ตามหลักการประเมินวัฏจักรชีวิตของอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังเพื่อกำหนดนโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อม. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4445.
Title
การประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์และวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ตามหลักการประเมินวัฏจักรชีวิตของอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังเพื่อกำหนดนโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อม
Alternative Title(s)
Carbon and water footprints in life cycle assessment of native starch industry for environmental management policy formulation
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
ดุษฎีนิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประยุกต์ใช้หลักการประเมินวัฏจักรชีวิตในการประเมินคาร์บอนฟุตพริ้นท์และวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ของอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังในรูปก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า 2) เสนอนโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังที่ยั่งยืน
วิธีการศึกษาในเรื่องนี้แบ่งออกเป็น 4 ส่วนที่ 1 การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหาร นักวิชาการ นักวิจัย ของสถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ภาพรวมของอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง และจัดทำข้อสรุปและเสนอแนะนโยบายด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังที่จะเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่ 2 เก็บข้อมูลจากโรงงานอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง ขนาดกำลังการผลิต 200-400 ตันแป้ง/วัน จำนวน 3 โรงงาน โดยประยุกต์หลักการประเมินวัฏจักรชีวิตเพื่อมาทำการคำนวณวิเคราะห์หาค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์และวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ของโรงงานแป้งมันสำปะหลังแต่ละโรงงาน ส่วนที่ 3 เป็นการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ของการลงทุนผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า โดยผ่านนโยบายและมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ ได้แก่ มาตรการสนับสนุนการรับซื้อไฟฟ้ าในแบบ Feed in Tariffs และมาตราการส่งเสริมการลงทุนด้านพลังงานทดแทนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และส่วนที่ 4 การนำผลที่ได้ทั้ง 3 ส่วนมาจัดทำแนวทางเพื่อกำหนดนโยบายด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมค้าและสิ่งแวดล้อมและจัดทำยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังเพื่อการผลิตและส่งออกที่ยั่งยืน
ผลการศึกษาพบว่า 1) โรงงานอุตสาหกรรมแป้ งมันสำปะหลังที่สำรวจทั้ง 3 แห่ง มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากมากไปน้อย เท่ากับ 202.715, 106.388 และ 69.963 kgCO2eq ต่อ 1 ตันแป้ง ตามลำดับ (ค่าเฉลี่ย 128.866 kgCO2eq. ต่อ 1 ตันแป้ง) คิดเป็นทั้งอุตสาหกรรม 338.137 ล้านตันCO2eq ในปี 2557 จากปริมาณแป้งที่ส่งออก 3,011,940.725 ล้านตันโดยส่วนใหญ่มาจาก (1) การใช้กระแสไฟฟ้าในกระบวนการผลิต (2) การใช้ความร้อนในการอบแป้ง และ (3) น้ำเสียจากระบบผลิตและระบบบำบัดก๊าซชีวภาพ 2) การวิเคราะห์ค่าวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ มีค่าเฉลี่ย 22.399 ลูกบาศก์เมตร/1 ตันแป้ง ประกอบด้วยค่าฟุตพริ้นท์สีฟ้า (Blue Water Footprint) ระหว่าง 3.368-5.933 ลูกบาศก์เมตร/1 ตันแป้ง และค่าฟุตพริ้น์สีเทา (Grey Water Footprint) ระหว่าง 10.081-14.855 ลูกบาศก์เมตร/ตันแป้งตามลำดับ 3) ผลการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์และการเงินเบื้องต้นของการลงทุนติดตั้งระบบก๊าซชีวภาพระบบ Anaerobic Fixed Film: AFF 4 กรณี: (1) การลงทุนเองโดยผู้ประกอบการมิได้ขอรับการสนับสนุนใดๆ จากภาครัฐ (2)-(4) ผู้ประกอบการลงทุนผ่านมาตรการสนับสนุนอัตรารับซื้อไฟฟ้ าแบบ FiT ของกระทรวงพลังงานโดยมีการจำหน่ายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 50%, 100% และการจำหน่ายไฟฟ้า 100% ร่วมกับมาตรการลดหย่อนภาษีรายได้นิติบุคคลแก่การลงทุนโครงการพลังงานทดแทนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน) ที่ระยะเวลาชำระเงินกู้ 7 ปี นั้นมีความคุมค่าอย่างยิ่งโดยมีอัตราผลตอบแทนการลงทุนระหว่าง 24.16-59.60% สามารถคืนทุนในระยะเวลาสั้น 1.678-4.139 ปี
วิธีการศึกษาในเรื่องนี้แบ่งออกเป็น 4 ส่วนที่ 1 การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้บริหาร นักวิชาการ นักวิจัย ของสถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ภาพรวมของอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง และจัดทำข้อสรุปและเสนอแนะนโยบายด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังที่จะเป็นประโยชน์ต่อภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วนที่ 2 เก็บข้อมูลจากโรงงานอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง ขนาดกำลังการผลิต 200-400 ตันแป้ง/วัน จำนวน 3 โรงงาน โดยประยุกต์หลักการประเมินวัฏจักรชีวิตเพื่อมาทำการคำนวณวิเคราะห์หาค่าคาร์บอนฟุตพริ้นท์และวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ของโรงงานแป้งมันสำปะหลังแต่ละโรงงาน ส่วนที่ 3 เป็นการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ของการลงทุนผลิตก๊าซชีวภาพเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า โดยผ่านนโยบายและมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐ ได้แก่ มาตรการสนับสนุนการรับซื้อไฟฟ้ าในแบบ Feed in Tariffs และมาตราการส่งเสริมการลงทุนด้านพลังงานทดแทนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) และส่วนที่ 4 การนำผลที่ได้ทั้ง 3 ส่วนมาจัดทำแนวทางเพื่อกำหนดนโยบายด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมค้าและสิ่งแวดล้อมและจัดทำยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลังเพื่อการผลิตและส่งออกที่ยั่งยืน
ผลการศึกษาพบว่า 1) โรงงานอุตสาหกรรมแป้ งมันสำปะหลังที่สำรวจทั้ง 3 แห่ง มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกหรือคาร์บอนฟุตพริ้นท์จากมากไปน้อย เท่ากับ 202.715, 106.388 และ 69.963 kgCO2eq ต่อ 1 ตันแป้ง ตามลำดับ (ค่าเฉลี่ย 128.866 kgCO2eq. ต่อ 1 ตันแป้ง) คิดเป็นทั้งอุตสาหกรรม 338.137 ล้านตันCO2eq ในปี 2557 จากปริมาณแป้งที่ส่งออก 3,011,940.725 ล้านตันโดยส่วนใหญ่มาจาก (1) การใช้กระแสไฟฟ้าในกระบวนการผลิต (2) การใช้ความร้อนในการอบแป้ง และ (3) น้ำเสียจากระบบผลิตและระบบบำบัดก๊าซชีวภาพ 2) การวิเคราะห์ค่าวอเตอร์ฟุตพริ้นท์ มีค่าเฉลี่ย 22.399 ลูกบาศก์เมตร/1 ตันแป้ง ประกอบด้วยค่าฟุตพริ้นท์สีฟ้า (Blue Water Footprint) ระหว่าง 3.368-5.933 ลูกบาศก์เมตร/1 ตันแป้ง และค่าฟุตพริ้น์สีเทา (Grey Water Footprint) ระหว่าง 10.081-14.855 ลูกบาศก์เมตร/ตันแป้งตามลำดับ 3) ผลการวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์และการเงินเบื้องต้นของการลงทุนติดตั้งระบบก๊าซชีวภาพระบบ Anaerobic Fixed Film: AFF 4 กรณี: (1) การลงทุนเองโดยผู้ประกอบการมิได้ขอรับการสนับสนุนใดๆ จากภาครัฐ (2)-(4) ผู้ประกอบการลงทุนผ่านมาตรการสนับสนุนอัตรารับซื้อไฟฟ้ าแบบ FiT ของกระทรวงพลังงานโดยมีการจำหน่ายไฟฟ้าให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 50%, 100% และการจำหน่ายไฟฟ้า 100% ร่วมกับมาตรการลดหย่อนภาษีรายได้นิติบุคคลแก่การลงทุนโครงการพลังงานทดแทนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน) ที่ระยะเวลาชำระเงินกู้ 7 ปี นั้นมีความคุมค่าอย่างยิ่งโดยมีอัตราผลตอบแทนการลงทุนระหว่าง 24.16-59.60% สามารถคืนทุนในระยะเวลาสั้น 1.678-4.139 ปี
Table of contents
Description
ดุษฎีนิพนธ์ (ปร.ด. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558.