• English
    • ไทย
  • ไทย 
    • English
    • ไทย
  • เข้าสู่ระบบ
ดูรายการข้อมูล 
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม
  • GSSDE: Dissertations
  • ดูรายการข้อมูล
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม
  • GSSDE: Dissertations
  • ดูรายการข้อมูล
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เรียกดูข้อมูล

ข้อมูลทั้งหมดของ คลังปัญญาชุมชน & กลุ่มข้อมูลวันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากรกลุ่มข้อมูลนี้วันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากร

บัญชีของฉัน

เข้าสู่ระบบลงทะเบียน

การพัฒนาตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมและด้านการมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน ตามมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม ของภาคอุตสาหกรรมไทย

by พนิดา ชลังสุทธิ์

ชื่อเรื่อง:

การพัฒนาตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมและด้านการมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน ตามมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม ของภาคอุตสาหกรรมไทย

ชื่อเรื่องอื่นๆ:

Development of environmental and community involvement and development indicators according to corporate social responsibility standard in Thai industrial sector

ผู้แต่ง:

พนิดา ชลังสุทธิ์

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

จำลอง โพธิ์บุญ

ชื่อปริญญา:

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต

ระดับปริญญา:

Doctoral

สาขาวิชา:

พัฒนาสังคมและการจัดการสิ่งแวดล้อม

คณะ/หน่วยงาน:

คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2558

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อม และด้านการมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน ตามมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคอุตสาหกรรมไทย โดยศึกษาองค์ประกอบร่วมด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และทดสอบความสอดคล้องของโมเดลการวัดของตัวชี้วัดที่สร้างขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน กลุ่มตัวอย่างคือ คณะทำงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมในสถานประกอบการจำนวน 874 คน ของโรงงานอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมโครงการความรับผิดชอบต่อสังคมของกรมโรงงานอุตสาหกรรม (CSR-DIW) ตั้งแต่ปี 2551-2557 สร้างกรอบแนวคิดโดยใช้แนวคิดการพัฒนาตัวชี้วัดตามรูปแบบของคณะกรรมาธิการว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ ส่วนตัวชี้วัดนั้น พัฒนามาจากองค์การแห่งความริเริ่มว่าด้วยการรายงานสากล มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคม และมาตรฐานความรับผิดชอบของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมต่อสังคมของกรมโรงงานอุตสาหกรรม
ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจด้านสิ่งแวดล้อมพบว่ามี 4 องค์ประกอบ ทั้งหมด 20 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) การป้องกันมลพิษ มี 7 ตัวชี้วัด 2) การปกป้องฟื้นฟูแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ มี 5 ตัวชี้วัด 3) การบรรเทาและการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมี 4 ตัวชี้วัดและ 4) การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนมี 4 ตัวชี้วัดส่วนด้านการมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชนประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ มีทั้งหมด 15 ตัวชี้วัดได้แก่ 1) การสร้างรายได้และการพัฒนาเทคโนโลยี มี 7 ตัวชี้วัด 2) การมีส่วนร่วมของชุมชนและการศึกษา มี 4 ตัวชี้วัดและ 3) การส่งเสริมสุขภาพและการจ้างงานมี 4 ตัวชี้วัดโดยองค์ประกอบที่สกัดได้ทั้งหมดสามารถอธิบายตัวชี้วัดด้านสิ่งแวดล้อมได้ร้อยละ 65.748 และสามารถอธิบายตัวชี้วัดด้านการมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชนได้ร้อยละ 67.326
ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สามของโมเดลความรับผิดชอบต่อสังคมซึ่งประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลักด้านสิ่งแวดล้อมและองค์ประกอบหลัก ด้านการมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชน พบว่า ค่าไคสแควร์เท่ากับ 945.239 ที่ชั้นองศาอิสระ 513 มี p-value เท่ากับ 0.000 ค่า XP2/df = 1.843, CFI = 0.957, TLI = 0.950, RMSEA = 0.047, SRMR = 0.072 ซึ่ง จากค่าทั้งหมดแสดงให้เห็นว่า โมเดลความรับผิดชอบต่อสังคมมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยที่น้ำหนักองค์ประกอบด้านสิ่งแวดล้อมมีค่า 0.896 ซึ่งมากกว่าองค์ประกอบด้านการมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชนเล็กน้อยคือ 0.869 เมื่อพิจารณาแต่ละโมเดลพบว่าองค์ประกอบการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนในโมเดลสิ่งแวดล้อมมีน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุดคือ 0.871 และองค์ประกอบการสร้างรายได้และการพัฒนาเทคโนโลยีในโมเดลการมีส่วนร่วมและพัฒนาชุมชนมีน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุดคือ 0.985
ดังนั้น สถานประกอบการอุตสาหกรรมที่ดำเนินงานตามมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม ควรให้ความสำคัญ เท่าๆ กัน ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและด้านการพัฒนาชุมชน โดยด้านสิ่งแวดล้อมมุ่งเน้นไปที่การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนทั้งในส่วนการใช้พลังงานภายในและภายนอกองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ การรีไซเคิลน้ำกลับมาใช้ใหม่ การจัดซื้อผลิตภัณฑ์ประหยัดพลังงานการส่งเสริมผู้ส่งมอบและผู้จัดหาที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทาน ให้เกิดความตระหนักในด้านสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการดำเนินงาน และควรส่งเสริมการสร้างรายได้และการพัฒนาเทคโนโลยีในชุมชนใกล้เคียง เลือกการพัฒนาเทคโนโลยีต้นทุนต่ำและช่วยให้เกิดรายได้กับชุมชนโดยสนับสนุนการใช้ทรัพยากรในชุมชน เน้นโครงการที่ให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตัวเองได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่ต้องได้รับการสนับสนุนจากองค์กรอื่น

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (ปร.ด. (พัฒนาสังคมและการจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558

หัวเรื่องมาตรฐาน:

การพัฒนาชุมชน

ประเภททรัพยากร:

ดุษฎีนิพนธ์

ความยาว:

387 แผ่น

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

tha

สิทธิในการใช้งาน:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ผู้ครอบครองสิทธิ์:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4453
แสดงระเบียนรายการแบบเต็ม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT)

Thumbnail
ดู
b190483.pdf ( 4,132.11 KB )

This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Dissertations [26]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center
Tel: (+662) 727-3737, (+622) 727-3743    Email: services@nida.ac.th
 

 

‹›×