มิติทางวัฒนธรรมของการพัฒนาสู่ความเข้มแข็งของชุมชน : กรณีศึกษา ชุมชนบ้านหนองช้าง ตำบลหนองช้าง อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธ์ุ
Publisher
Issued Date
2015
Issued Date (B.E.)
2558
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
236 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b190499
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท (งันลาโสม) (2015). มิติทางวัฒนธรรมของการพัฒนาสู่ความเข้มแข็งของชุมชน : กรณีศึกษา ชุมชนบ้านหนองช้าง ตำบลหนองช้าง อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธ์ุ. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4457.
Title
มิติทางวัฒนธรรมของการพัฒนาสู่ความเข้มแข็งของชุมชน : กรณีศึกษา ชุมชนบ้านหนองช้าง ตำบลหนองช้าง อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธ์ุ
Alternative Title(s)
Cultural dimension of development towards community strengthening : a case study of Ban Nongchang community, Nongnchang Subdistict, Samchai District Kalasin Province
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาลักษณะทางวัฒนธรรมที่เด่นของชุมชนบ้านหนองช้าง ตำบลหนองช้าง อำเภอสามชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ 2) ศึกษารูปแบบการพัฒนาชุมชนของชุมชนบ้านหนองช้าง 3) วิเคราะห์การบูรณาการมิติทางวัฒนธรรมของการพัฒนาไปสู่ความเ ป็นชุมชนเข้มแข็งของชุมชนบ้านหนองช้าง การวิจัยนี้ดำเนินการตามแนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญจำนวน 15 ราย และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์เหตุผลเชิงตรรกะ และการสร้างข้อสรุปเชิงอุปนัย
ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนบ้านหนองช้างเป็นชุมชนของคนชาติพันธุ์ผู้ไทย สมาชิกในชุมชนมีความสัมพันธ์เชิงเครือญาติสูง มีความมุ่งมั่นในการรักษาวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ให้ดำรงอยู่ ทั้งในเรื่องภาษา การแต่งกาย ขนบธรรมเนียมประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อ และภูมิปัญญาดั้งเดิมที่เป็นเอกลักษณ์ อีกทั้งยังสามารถนำมาบูรณาการกับการพัฒนาชุมชน โดยมีการปรับหรือประยุกต์บางส่วนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ กระบวนการพัฒนาชุมชนในหมู่บ้านนี้ เริ่มต้นจากการรวมตัวของสมาชิกชุมชนเพื่อทบทวนแนวทางการพัฒนาในอดีตที่มีผลกระทบทางลบ แล้วหันมาให้ความสำคัญกับมิติทางวัฒนธรรมในการดำเนินชีวิต ด้วยการปลูกฝังวัฒนธรรมของชาวผู้ไทยผ่านสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษาและสถาบันศาสนา มีความพยายามรักษาวัฒนธรรมควบคู่กับการประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตผ่านการมีส่วนร่วมของสมาชิกชุมชน มีการวางแผนด้วยการทำประชาคมหมู่บ้าน ทำให้เกิดการร่วมคิด ร่วมทำและร่วมเรียนรู้ของสมาชิกชุมชน จนเกิดเป็นแผนชุมชนที่ไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะการพัฒนาด้านวัตถุ แต่เน้นไปที่การพึ่งตนเองตามวิถีชีวิตของชุมชนควบคู่กัน ต่อมามีภาคีเครือข่ายมาร่วมสนับสนุนการพัฒนา จนทำให้เกิดโครงการต่าง ๆ มากมาย ซึ่งมีรูปแบบที่ส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกชุมชนในการแก้ปัญหาและปรับปรุงความเป็นอยู่ของคนในชุมชน ด้วยการขับเคลื่อนการพัฒนาที่อยู่บนฐานความเข้าใจบริบทของชุมชน และปรับเนื้อหาให้สอดคล้องกัน จึงเกิดการบูรณาการการพัฒนาด้านต่างๆอ ย่างสมดุล มีการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชนควบคู่กับการนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากภายนอกมาผสมผสานปรับใช้อย่างเหมาะสม แล้วสรุปเป็นบทเรียนเฉพาะของชุมชน จนสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นชุมชนเข้มแข็ง
ข้อเสนอแนะที่สำคัญจากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ การที่จะพัฒนาชุมชนท้องถิ่นนำไปสู่ความเป็นชุมชนเข้มแข็ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและคนในชุมชนควรให้ความสำคัญกับการบูรณาการมิติทางวัฒนธรรมของชุมชน โดยที่ชุมชนควรมีการทบทวนบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิกอยู่เสมอ ควรมีแผนพัฒนาชุมชนที่กำหนดเป้าหมายระยะยาวที่ให้ความสำคัญ กับหลายมิติแบบองค์รวม และการรู้จักพึ่งตนเองของชุมชน ผ่านการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของคนในชุมชน
ผลการศึกษาพบว่า ชุมชนบ้านหนองช้างเป็นชุมชนของคนชาติพันธุ์ผู้ไทย สมาชิกในชุมชนมีความสัมพันธ์เชิงเครือญาติสูง มีความมุ่งมั่นในการรักษาวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ให้ดำรงอยู่ ทั้งในเรื่องภาษา การแต่งกาย ขนบธรรมเนียมประเพณี พิธีกรรม ความเชื่อ และภูมิปัญญาดั้งเดิมที่เป็นเอกลักษณ์ อีกทั้งยังสามารถนำมาบูรณาการกับการพัฒนาชุมชน โดยมีการปรับหรือประยุกต์บางส่วนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ กระบวนการพัฒนาชุมชนในหมู่บ้านนี้ เริ่มต้นจากการรวมตัวของสมาชิกชุมชนเพื่อทบทวนแนวทางการพัฒนาในอดีตที่มีผลกระทบทางลบ แล้วหันมาให้ความสำคัญกับมิติทางวัฒนธรรมในการดำเนินชีวิต ด้วยการปลูกฝังวัฒนธรรมของชาวผู้ไทยผ่านสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษาและสถาบันศาสนา มีความพยายามรักษาวัฒนธรรมควบคู่กับการประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตผ่านการมีส่วนร่วมของสมาชิกชุมชน มีการวางแผนด้วยการทำประชาคมหมู่บ้าน ทำให้เกิดการร่วมคิด ร่วมทำและร่วมเรียนรู้ของสมาชิกชุมชน จนเกิดเป็นแผนชุมชนที่ไม่ได้มุ่งเน้นเฉพาะการพัฒนาด้านวัตถุ แต่เน้นไปที่การพึ่งตนเองตามวิถีชีวิตของชุมชนควบคู่กัน ต่อมามีภาคีเครือข่ายมาร่วมสนับสนุนการพัฒนา จนทำให้เกิดโครงการต่าง ๆ มากมาย ซึ่งมีรูปแบบที่ส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิกชุมชนในการแก้ปัญหาและปรับปรุงความเป็นอยู่ของคนในชุมชน ด้วยการขับเคลื่อนการพัฒนาที่อยู่บนฐานความเข้าใจบริบทของชุมชน และปรับเนื้อหาให้สอดคล้องกัน จึงเกิดการบูรณาการการพัฒนาด้านต่างๆอ ย่างสมดุล มีการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นของชุมชนควบคู่กับการนำองค์ความรู้ที่ได้รับจากภายนอกมาผสมผสานปรับใช้อย่างเหมาะสม แล้วสรุปเป็นบทเรียนเฉพาะของชุมชน จนสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นชุมชนเข้มแข็ง
ข้อเสนอแนะที่สำคัญจากการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ การที่จะพัฒนาชุมชนท้องถิ่นนำไปสู่ความเป็นชุมชนเข้มแข็ง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและคนในชุมชนควรให้ความสำคัญกับการบูรณาการมิติทางวัฒนธรรมของชุมชน โดยที่ชุมชนควรมีการทบทวนบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิกอยู่เสมอ ควรมีแผนพัฒนาชุมชนที่กำหนดเป้าหมายระยะยาวที่ให้ความสำคัญ กับหลายมิติแบบองค์รวม และการรู้จักพึ่งตนเองของชุมชน ผ่านการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันของคนในชุมชน
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การบริหารการพัฒนาสังคม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558