การจัดการปกครองแบบร่วมมือกัน (Collaborative Governance) ในโครงการอุตสาหกรรมเพื่อการสร้างงานที่ยั่งยืนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
by คอรี การีจิ
Title: | การจัดการปกครองแบบร่วมมือกัน (Collaborative Governance) ในโครงการอุตสาหกรรมเพื่อการสร้างงานที่ยั่งยืนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ |
Other title(s): | Collaborative governance in industrial projects for sustainable job creation in Thailand’s three Southern Border Provinces |
Author(s): | คอรี การีจิ |
Advisor: | ณัฐฐา วินิจนัยภาค |
Degree name: | รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree department: | คณะรัฐประศาสนศาสตร์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2018 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 3 ประการ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยหรือเงื่อนไขที่ก่อให้เกิดการจัดการปกครองแบบร่วมมือกันในโครงการอุตสาหกรรมเพื่อการสร้างงานที่ยั่งยืนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) เพื่อศึกษากระบวนการของการจัดการปกครองแบบร่วมมือกันในโครงการอุตสาหกรรมฯ และ 3) เพื่อศึกษาผลผลิตและผลลัพธ์จากการดำเนินโครงการอุตสาหกรรมฯ ผู้วิจัยได้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาค้นคว้าเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกตัวแสดงที่เป็นภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนจำนวนทั้งสิ้น 16 ราย
ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยหรือเงื่อนไขที่ก่อให้เกิดการจัดการปกครองแบบร่วมมือกัน ประกอบด้วย หนึ่ง มิติบริบทของระบบ ที่มีปัจจัยของกรอบแนวคิดของกฎหมายและนโยบาย ลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และประเด็นความมั่นคงในพื้นที่ สอง มิติตัวขับเคลื่อนความร่วมมือ มีปัจจัยของการพึ่งพาซึ่งกันและกัน สิ่งจูงใจที่ตามมา และผู้นำที่ริเริ่มความร่วมมือ 2) กระบวนการของการจัดการปกครองแบบร่วมมือกันมีอยู่สามมิติคือ หนึ่ง หลักการทำงานร่วมกัน มีองค์ประกอบของการปรึกษาหารือและการกำหนดแนวทางการปฏิบัติร่วมกัน สอง ความเชื่อมั่นชึ่งกันและกัน มีองค์ประกอบของการสร้างความเชื่อมั่นระหว่างกันและการสร้างข้อผูกมัดร่วมกัน และ สาม ความสามารถในการดำเนินการร่วมกัน มีองค์ประกอบของการจัดกระบวนการและสถาบัน และภาวะผู้นำ และ 3) ผลผลิตและผลลัพธ์จากการดำเนินโครงการอุตสาหกรรมฯ ประกอบด้วย มิติของผลผลิต เช่น บริบทของอาคารและสถานที่ ภาคเอกชนเข้ามาบริหารโรงงาน และการพัฒนาทักษะแรงงาน และ สอง มิติของผลลัพธ์ ที่ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้เพราะมีการจ้างงานต่ำกว่าที่กำหนดไว้ ส่วนข้อเสนอเชิงนโยบาย ประกอบด้วย 1) การกำหนดนโยบายและโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ จำเป็นจะต้องมีการสร้างการยอมรับและแสวงหาความร่วมมือจากประชาชน 2) การบรรลุข้อตกลงสันติภาพระหว่างกลุ่มก่อความไม่สงบและรัฐบาลไทยควรเกิดขึ้นอย่างเร็วที่สุด จึงจะสามารถขับเคลื่อนกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้ตามปกติ และ 3) การจัดลำดับความสำคัญในวาระทางนโยบายของรัฐบาล เพื่อแก้ไขปัญหาในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ควรจะให้ความสำคัญทั้งในประเด็นความมั่นคงและการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกัน |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (รป.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561 |
Keyword(s): | e-Thesis
การจัดการปกครองแบบร่วมมือกัน โครงการอุตสาหกรรม การสร้างงานที่ยั่งยืน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 212 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4482 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|