• English
    • ไทย
  • ไทย 
    • English
    • ไทย
  • เข้าสู่ระบบ
ดูรายการข้อมูล 
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะการจัดการการท่องเที่ยว
  • GSTM: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะการจัดการการท่องเที่ยว
  • GSTM: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เรียกดูข้อมูล

ข้อมูลทั้งหมดของ คลังปัญญาชุมชน & กลุ่มข้อมูลวันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากรกลุ่มข้อมูลนี้วันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากร

บัญชีของฉัน

เข้าสู่ระบบ

รูปแบบกิจกรรมการส่งเสริมความก้าวหน้าในสายอาชีพเพื่อสนับสนุนความทุ่มเทมีใจต่อองค์กรของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินในธุรกิจการบิน

by ภีมพิพัฒน์ มโนมัยกุล

ชื่อเรื่อง:

รูปแบบกิจกรรมการส่งเสริมความก้าวหน้าในสายอาชีพเพื่อสนับสนุนความทุ่มเทมีใจต่อองค์กรของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินในธุรกิจการบิน

ชื่อเรื่องอื่นๆ:

Activity model of career advancement for supporting organization engagement of flight attendants in airline business

ผู้แต่ง:

ภีมพิพัฒน์ มโนมัยกุล

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

โชคชัย สุเวชวัฒนกูล

ชื่อปริญญา:

การจัดการมหาบัณฑิต

ระดับปริญญา:

Master's

สาขาวิชา:

การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ

คณะ/หน่วยงาน:

คณะการจัดการการท่องเที่ยว

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2561

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับกิจกรรมการส่งเสริมความก้าวหน้าในสายอาชีพเพื่อสนับสนุนความทุ่มเทมีใจต่อองค์กรของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมส่งเสริมความก้าวหน้าในสายอาชีพของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินในธุรกิจการบินกับความทุ่มเทมีใจต่อองค์กร 2) เพื่อศึกษากิจกรรมส่งเสริมความก้าวหน้าในสายอาชีพของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินในธุรกิจการบินที่มีอิทธิพลต่อความทุ่มเทมีใจต่อองค์กร และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบกิจกรรมส่งเสริมความก้าวหน้าในสายอาชีพเพื่อสนับสนุนความทุ่มเทมีใจต่อองค์กรของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินในธุรกิจการบิน โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ผ่านแบบสอบถาม โดยกลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษางานวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของสายการบินที่ให้บริการเต็มรูปแบบในประเทศไทย อันได้แก่ 1) พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของบริษัทการบินไทยจำกัด (มหาชน) และ 2) พนักงานต้อนรับบนเครื่องบินของบริษัทบางกอกแอร์เวย์ส จำกัด (มหาชน) จำนวนกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้มีจำนวนเท่ากับ 138 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 57.2 โดยเกิดตั้งแต่ พ.ศ.2523 - พ.ศ.2540 (Generation Y) คิดเป็นร้อยละ 71.0 และมีวุฒิการศึกษาสูงสุดระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 61.6 ผู้ให้ข้อมูลส่วนใหญ่ดำรงตำแหน่งงานระดับพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน คิดเป็นร้อยละ 96.4  และทำงานที่บริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) คิดเป็นร้อยละ 90.6 โดยมีระยะเวลาปฏิบัติงาน 10-15 ปี คิดเป็นร้อยละ 79.7 กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับกิจกรรมส่งเสริมความก้าวหน้าในสายอาชีพภาพรวมอยู่ในระดับมาก (xˉ = 4.054, S.D. = 0.527) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การประเมินเพื่อการปรับเงินเดือนให้สูงขึ้น    (xˉ = 4.366, S.D. = 0.576) รองลงมา คือ การวางแผนและให้คำปรึกษาเรื่องอาชีพ (xˉ = 4.332, S.D. = 0.667) การสนับสนุนให้มีการเรียนรู้ (xˉ = 3.951, S.D. = 0.737) การประเมินเพื่อเลื่อนตำแหน่งงานให้สูงขึ้น (xˉ = 3.913, S.D. = 0.734) และการเปิดโอกาสให้แสดงความสามารถ (xˉ = 3.708, S.D. = 0.704) ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความทุ่มเทมีใจต่อองค์กรภาพรวมอยู่ในระดับมาก (xˉ = 4.037, S.D. = 0.672) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ความตั้งใจที่จะลาออกจากองค์กรต่ำ (xˉ = 4.127, S.D. = 0.724) รองลงมา คือ ความพึงพอใจในการปฎิบัติงานเพิ่มสูงขึ้น (xˉ = 4.111, S.D. = 0.734) ผลการปฎิบัติงานขององค์กรเพิ่มสูงขึ้น (xˉ = 4.033, S.D. = 0.797) พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร (xˉ = 3.980, S.D. = 0.756) และอัตราการขาดงานของพนักงานต่ำ (xˉ = 3.935, S.D. = 0.787) ตามลำดับ 
The purposes of this research are 1) to study the relationship between career advancement of flight attendants in airline business and the organization engagement. 2) to study the activities of the flight attendant for promoting career progression influencing on the organization engagement and 3) to present activity model of career advancement for supporting organization engagement of flight attendants in airline business by using quantitative research through the questionnaire. The population of this research included full-service airline flight attendants in Thailand such as Thai Airways flight attendants and Bangkok Airways flight attendants. The sample size in this research was 138. The study indicated that most of the samples were male (57.2%), were born in 1980-1997 (Generation Y) (71.0%), had the highest education of bachelor degree (61.6%), worked as flight attendant (96.4%), worked at Thai Airways International Public Company Limited (90.6%) and working time duration of 10-15 years (79.7%). The study was found that majority of the respondents had opinions on promoting activities of career advancement at the high level. Considering each aspect, it was found that the highest mean was higher salary adjustment appraisal. The second was Career planning and counseling, Support for learning, Job evaluation for higher position and support for having opportunity to use the ability respectively. For overall opinions about organizational engagement was at high level. Considering each aspect, it was found that the highest mean was Intention to low resignation from organization. The second was Increased job satisfaction, Increased organization performance, Organizational citizenship behavior and Low staff's absence rate respectively.

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (กจ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561

หัวเรื่องมาตรฐาน:

พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน

คำสำคัญ:

ความก้าวหน้าในสายอาชีพ
ความทุ่มเทมีใจต่อองค์กร
ธุรกิจการบิน
e-Thesis

ประเภททรัพยากร:

วิทยานิพนธ์

ความยาว:

171 แผ่น

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

tha

สิทธิในการใช้งาน:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ลิขสิทธิ์ของสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

ผู้ครอบครองสิทธิ์:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

URI:

http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4501
แสดงระเบียนรายการแบบเต็ม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT)

Thumbnail
ดู
  • b204762.pdf ( 4,639.60 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSTM: Theses [120]
Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Education Service Center | สำนักบริการการศึกษาและบรรณสาร
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Education Service Center | สำนักบริการการศึกษาและบรรณสาร
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×