กระบวนการนำเสนอรูปแบบสารคดีเชิงละครในรายการสารคดีเชิงช่าวเรื่องจริงผ่านจอ
Publisher
Issued Date
2015
Issued Date (B.E.)
2558
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
115 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b190080
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
อังกูร ตะวันวง (2015). กระบวนการนำเสนอรูปแบบสารคดีเชิงละครในรายการสารคดีเชิงช่าวเรื่องจริงผ่านจอ. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4726.
Title
กระบวนการนำเสนอรูปแบบสารคดีเชิงละครในรายการสารคดีเชิงช่าวเรื่องจริงผ่านจอ
Alternative Title(s)
Dramatic documentary presentation of news documentary program 'Rueng Jing Pan Jor'
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการนำ เสนอรูปแบบสารคดีเชิงละครใน
รายการสารคดีเชิงข่าว เรื่องจริงผ่านจอ ที่ส่งผลให้ผู้รับชมรู้เท่าทันสื่อ การวิจัยนี้ใช้รูปแบบการวิจัย
เชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ดว้ย การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้ผลิตรายการ
จำนวน 3 คน การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จำนวน 100 เรื่อง จากเทปที่ออกอากาศ
จำนวน 26 ตอน และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผู้ชมรายการ จำนวน 8 คน
ผลการศึกษาพบว่า รายการ เรื่องจริงผ่านจอ เป็นรายการสารคดีเชิงข่าวที่มีกระบวนการ นำเสนอในรูปแบบสารคดีเชิงละครที่สร้างความเร้าอารมณ์ต่อผู้ชมเริ่มตั้งแต่การคัดเลือกประเด็น การนำเสนอโดยมีนโยบายของบริษัทที่ให้ความสาคัญกับการนา เสนอประเด็นที่ใกล้ตัวผู้ชม และมี ประโยชน์ต่อสังคม
นอกจากนี้ยังพบว่า วิธีการนำเสนอในรูปแบบสารคดีเชิงละครมีการนำเสนอประเด็นการ เตือนภัยมากที่สุด โดยการใช้เทคนิคการนำเสนอรายการ การพากย์เสียงบรรยาย การสัมภาษณ์ผู้ ประสบเหตุ ผู้เห็นเหตุการณ์ และบุคคลใกล้ชิด รวมถึงการลงพื้นที่ถ่ายทำซึ่งส่งผลต่อการกำหนด ประเด็นให้มีความเร้าอารมณ์เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ ยังมีการสร้างบรรยากาศทางละครโทรทัศน์โดยใช้ เสียงดนตรี การปรับแต่งแสง/สีของภาพ การใช้เทคนิคพิเศษเพื่อสร้างความตื่นเต้นมากที่สุด เช่น การตัดต่อเร่ง หรือชะลอภาพ ขณะที่ยังมีการใช้ภาพเหตุการณ์แต่งเติม โดยส่วนใหญ่พบว่าใช้เพื่อ อธิบายเรื่องราวข้อเท็จจริงของเรื่อง และยังมีบางส่วนที่ได้จัดฉากเพื่อเพิ่มเนื้อหา ผลจากการ วิเคราะห์เนื้อหาพบว่า เรื่องที่มีความเร้าอารมณ์มากที่สุด ได้แก่ การใช้คลิปภาพเหตุการณ์จริง และ การใช้ภาพความรุนแรง
ผลการสนทนากลุ่ม พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความชื่นชอบรายการจากการนำเสนอ เนื้อหาด้านการเตือนภัย และรับรู้ถึงความเร้าอารมณ์ของเรื่องจากการใช้เสียงดนตรี มุมกล้อง การ สัมภาษณ์ การจำลองเหตุการณ์ การบรรยาย และการตัดต่อ แต่ไม่ได้ตระหนักถึงการเพิ่มเติมเนื้อหา ของเรื่อง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ชื่นชอบรูปแบบการนำเสนอที่มีการเร้าอารมณ์ อีกทั้งมีการ ปฏิสัมพันธ์กับผู้ผลิตรายการด้วยช่องทางสื่อออนไลน์ เช่น การแสดงความคิดเห็น การกดถูกใจ การ แชร์ ผ่านช่องทาง เฟซบุ๊กแฟนเพจ หรือ ยูทูบของรายการเรื่องจริงผ่านจอ ทาให้มีผลต่อผู้ผลิต รายการในการคัดเลือกประเด็นการนำเสนอ
ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยนี้ ได้แก่ ควรมีการศึกษาแนวทางในการพัฒนารายการที่สร้าง ความน่าสนใจกับผู้ชมรายการในรูปแบบการตรวจสอบข้อเท็จจริงประเภทอื่น อีกทั้งควรทำการวิจัย เชิงทดลองเพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมของผู้ชมรายการ ตลอดจนควรมีการศึกษากระบวนการ นำเสนอรูปแบบสารคดีเชิงละครในรายการข่าวที่เกิดขึ้นใหม่
ผลการศึกษาพบว่า รายการ เรื่องจริงผ่านจอ เป็นรายการสารคดีเชิงข่าวที่มีกระบวนการ นำเสนอในรูปแบบสารคดีเชิงละครที่สร้างความเร้าอารมณ์ต่อผู้ชมเริ่มตั้งแต่การคัดเลือกประเด็น การนำเสนอโดยมีนโยบายของบริษัทที่ให้ความสาคัญกับการนา เสนอประเด็นที่ใกล้ตัวผู้ชม และมี ประโยชน์ต่อสังคม
นอกจากนี้ยังพบว่า วิธีการนำเสนอในรูปแบบสารคดีเชิงละครมีการนำเสนอประเด็นการ เตือนภัยมากที่สุด โดยการใช้เทคนิคการนำเสนอรายการ การพากย์เสียงบรรยาย การสัมภาษณ์ผู้ ประสบเหตุ ผู้เห็นเหตุการณ์ และบุคคลใกล้ชิด รวมถึงการลงพื้นที่ถ่ายทำซึ่งส่งผลต่อการกำหนด ประเด็นให้มีความเร้าอารมณ์เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ ยังมีการสร้างบรรยากาศทางละครโทรทัศน์โดยใช้ เสียงดนตรี การปรับแต่งแสง/สีของภาพ การใช้เทคนิคพิเศษเพื่อสร้างความตื่นเต้นมากที่สุด เช่น การตัดต่อเร่ง หรือชะลอภาพ ขณะที่ยังมีการใช้ภาพเหตุการณ์แต่งเติม โดยส่วนใหญ่พบว่าใช้เพื่อ อธิบายเรื่องราวข้อเท็จจริงของเรื่อง และยังมีบางส่วนที่ได้จัดฉากเพื่อเพิ่มเนื้อหา ผลจากการ วิเคราะห์เนื้อหาพบว่า เรื่องที่มีความเร้าอารมณ์มากที่สุด ได้แก่ การใช้คลิปภาพเหตุการณ์จริง และ การใช้ภาพความรุนแรง
ผลการสนทนากลุ่ม พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความชื่นชอบรายการจากการนำเสนอ เนื้อหาด้านการเตือนภัย และรับรู้ถึงความเร้าอารมณ์ของเรื่องจากการใช้เสียงดนตรี มุมกล้อง การ สัมภาษณ์ การจำลองเหตุการณ์ การบรรยาย และการตัดต่อ แต่ไม่ได้ตระหนักถึงการเพิ่มเติมเนื้อหา ของเรื่อง กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ชื่นชอบรูปแบบการนำเสนอที่มีการเร้าอารมณ์ อีกทั้งมีการ ปฏิสัมพันธ์กับผู้ผลิตรายการด้วยช่องทางสื่อออนไลน์ เช่น การแสดงความคิดเห็น การกดถูกใจ การ แชร์ ผ่านช่องทาง เฟซบุ๊กแฟนเพจ หรือ ยูทูบของรายการเรื่องจริงผ่านจอ ทาให้มีผลต่อผู้ผลิต รายการในการคัดเลือกประเด็นการนำเสนอ
ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยนี้ ได้แก่ ควรมีการศึกษาแนวทางในการพัฒนารายการที่สร้าง ความน่าสนใจกับผู้ชมรายการในรูปแบบการตรวจสอบข้อเท็จจริงประเภทอื่น อีกทั้งควรทำการวิจัย เชิงทดลองเพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมของผู้ชมรายการ ตลอดจนควรมีการศึกษากระบวนการ นำเสนอรูปแบบสารคดีเชิงละครในรายการข่าวที่เกิดขึ้นใหม่
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558