• English
    • ไทย
  • ไทย 
    • English
    • ไทย
  • เข้าสู่ระบบ
ดูรายการข้อมูล 
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะการจัดการการท่องเที่ยว
  • GSTM: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะการจัดการการท่องเที่ยว
  • GSTM: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เรียกดูข้อมูล

ข้อมูลทั้งหมดของ คลังปัญญาชุมชน & กลุ่มข้อมูลวันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากรกลุ่มข้อมูลนี้วันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากร

บัญชีของฉัน

เข้าสู่ระบบ

การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอัตลักษณ์ทางกลุ่มชาติพันธุ์ม้งผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: กรณีศึกษาหมู่บ้านม้งกิ่วกาญจน์ ตำบลริมโขง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

by หัสนัย ผัดวงศ์

ชื่อเรื่อง:

การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอัตลักษณ์ทางกลุ่มชาติพันธุ์ม้งผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์: กรณีศึกษาหมู่บ้านม้งกิ่วกาญจน์ ตำบลริมโขง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย

ชื่อเรื่องอื่นๆ:

Creating added value for Hmong ethnic identity in the context of creative tourism activities : a case study of Hmong Kiew Kan Village, Rim Khong Subdistrict, Chiang Khong District, Chiang Rai Province

ผู้แต่ง:

หัสนัย ผัดวงศ์

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

ไพฑูรย์ มนต์พานทอง

ชื่อปริญญา:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

ระดับปริญญา:

Master's

สาขาวิชา:

การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ

คณะ/หน่วยงาน:

คณะการจัดการการท่องเที่ยว

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2561

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 4 วัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อสำรวจอัตลักษณ์ทางกลุ่มชาติพันธุ์ม้งของหมู่บ้านชาวม้งกิ่วกาญจน์ (2) เพื่อศึกษาศักยภาพของอัตลักษณ์ทางกลุ่มชาติพันธุ์ม้งที่สามารถนำเอาไปสร้างมูลค่าเพิ่มทางการท่องเที่ยวผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ได้ (3) เพื่อศึกษาศักยภาพในการจัดการการท่องเที่ยวของหมู่บ้านชาวม้งกิ่วกาญจน์ และ (4) เพื่อสร้างรูปแบบการท่องเที่ยว โดยการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอัตลักษณ์ทางกลุ่มชาติพันธุ์ม้งผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างของการศึกษานี้ ประกอบไปด้วย 4 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน ประชาชนในท้องถิ่น และนักท่องเที่ยว รวมทั้งหมดจำนวน 73 คน โดยใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์แก่นสาร ผลการศึกษาพบว่าอัตลักษณ์ทางกลุ่มชาติพันธุ์ม้งของหมู่บ้านม้งกิ่วกาญจน์มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและสามารถนำเอาไปสร้างมูลค่าเพิ่มทางการท่องเที่ยวผ่านกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ได้ ตลอดจนหมู่บ้านม้งกิ่วกาญจน์มีศักยภาพการจัดการการท่องเที่ยวในด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ดังนั้นรูปแบบการท่องเที่ยวของหมู่บ้านม้งกิ่วกาญจน์ที่สร้างขึ้นจึงเป็นการท่องเที่ยวแบบผสมผสานและประกอบไปด้วยกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ 8 ฐานกิจกรรม ได้แก่ วิถีเกษตรกรชาวม้ง อาภรณ์แห่งขุนเขา ความเชื่อและศรัทธา ปีใหม่ม้ง จังหวะชาวม้ง เรือนพื้นถิ่นเขา ภูมิปัญญาแห่งไพร และสีสันแห่งผืนผ้า
This qualitative research contained four objectives which were (1) to survey Hmong ethnic identity of Homg Kiew Kan Village, (2) to study the competency of Hmong ethnic identity which could increase the value of tourism through a creative tourism activity, (3) to study the tourism management competency of Hmong Kiew Kan Village, and (4) to create a tourism pattern that increases the value of tourism through a creative tourism activity. The sample of this study included four sample groups which were a state unit, private unit, local people, and tourists, total of 73 people. The tools were a semi-structured interview and participatory observation, and data are summarized by thematic analysis. Based on the study, it was found that the Hmong ethnic identity of Homg Kiew Kan Village contained a diversity of cultures and could increase the value of tourism through a creative tourism activity. In addition, the village had the competency to manage tourism conservation, culture, and local wisdom. Consequently, the created tourism pattern of Homg Kiew Kan Village must be combined tourism that consists of eight creative tourism activities which are Hmong agricultural lifestyle, Costume of the Mountain, Belief and Faith, Hmong’s New Year, Hmong Rhythm, Home on the Mountains, Wisdom of the Forest, and Color of their Clothes.

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561

หัวเรื่องมาตรฐาน:

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม -- ไทย -- เชียงราย -- เชียงของ -- ริมโขง
อัตลักษณ์ชาติพันธุ์
ม้ง -- ไทย -- เชียงราย -- เชียงของ -- ริมโขง

คำสำคัญ:

e-Thesis
อัตลักษณ์ทางกลุ่มชาติพันธุ์
การสร้างมูลค่าเพิ่ม
กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

ประเภททรัพยากร:

วิทยานิพนธ์

ความยาว:

417 แผ่น

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

tha

สิทธิในการใช้งาน:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/4989
แสดงระเบียนรายการแบบเต็ม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT)

Thumbnail
ดู
  • b207954.pdf ( 1.69 MB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSTM: Theses [126]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×