• English
    • ไทย
  • ไทย 
    • English
    • ไทย
  • เข้าสู่ระบบ
ดูรายการข้อมูล 
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เรียกดูข้อมูล

ข้อมูลทั้งหมดของ คลังปัญญาชุมชน & กลุ่มข้อมูลวันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากรกลุ่มข้อมูลนี้วันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากร

บัญชีของฉัน

เข้าสู่ระบบ

วิเคราะห์การบริหารจัดเก็บค่าตอบแทนภายใต้องค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์

by นภัค เหล่าสืบสกุล

ชื่อเรื่อง:

วิเคราะห์การบริหารจัดเก็บค่าตอบแทนภายใต้องค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์

ชื่อเรื่องอื่นๆ:

Analysis on the management of copyright collective management organizations

ผู้แต่ง:

นภัค เหล่าสืบสกุล

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

วริยา ล้ำเลิศ

ชื่อปริญญา:

Master of Laws

ระดับปริญญา:

Thesis

คณะ/หน่วยงาน:

คณะนิติศาสตร์

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2561

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบบการบริหารการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์โดยองค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ โดยศึกษาความเป็นมา แนวคิดเกี่ยวกับการบริหารการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ ประเภทขององค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์และการดำเนินงานขององค์กร และกฎหมายที่ใช้บังคับในการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ ทั้งนี้ เพื่อวิเคราะห์แนวทางในการบริหารการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์โดยองค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ที่เหมาะสมและกฎหมายที่ใช้บังคับในการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ เพื่อประโยชน์ในการจัดตั้งองค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ของประเทศไทย ตลอดจนเสนอรูปแบบกฎหมายที่เหมาะสมในการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ จากการศึกษาพบว่า การจัดตั้งองค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ของประเทศไทย ยังพบปัญหาในการจัดตั้งอยู่ เนื่องจากไม่มีกฎหมายรองรับการจัดตั้งองค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ ซึ่งจากการศึกษากฎหมายและองค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ของต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศอังกฤษและญี่ปุ่น พบว่า ประเทศดังกล่าวมีกฎหมายที่ใช้บังคับในการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ เพื่อกำกับดูแลการดำเนินงานขององค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ และองค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เป็นการจัดตั้งขึ้นภายใต้กฎหมาย โดยในประเทศอังกฤษ องค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์จัดตั้งขึ้นโดยอาศัยบทบัญญัติตามกฎหมายลิขสิทธิ์และใช้กฎหมายทั่วไปที่เกี่ยวกับการบริหารการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ในการควบคุมการดำเนินงานขององค์กร ส่วนในประเทศญี่ปุ่นมีกฎหมายเฉพาะที่ใช้บังคับในการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 พบว่าไม่มีบทบัญญัติใดที่เป็นการรองรับการจัดตั้งองค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ และประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายที่ใช้บังคับในการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์เป็นการเฉพาะ จากประเด็นปัญหาข้างต้น ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอแนะว่า ควรจัดตั้งองค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ในรูปแบบที่เหมาะสม และมีการตรากฎหมายเฉพาะเพื่อใช้บังคับในการจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ ซึ่งประกอบไปด้วยโครงสร้างสำคัญ ได้แก่ บททั่วไป การจดทะเบียน หน้าที่ขององค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ การกำกับดูแลองค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ คณะกรรมการกำกับดูแล และบทกำหนดโทษ  
The purpose of this thesis is to study the of collective management system which is carried out by the Collective Management Organizations (CMOs). This was done by surveying background, concept of collective management, the various kinds of CMOs and their functions, including the applicable law that can be implemented to the royalty collection in order to analyze the appropriate guidelines for the collective management which is undertaken by the CMO and the law applicable to this issue for the purpose of establishing the CMO in Thailand as well as offering the proper law applicable to the royalty collection. The results from the study reveal that there has been a problem establishing the CMO since there is no law supporting establishment of the CMO. From the study of law and CMOs of foreign countries including the United Kingdom and Japan, it was found that both countries have their own laws implemented to the royalty collection in order to monitor the administration of CMOs and the CMOs were established by law. In the United Kingdom, the CMOs were established under the provisions of Copyright Acts and their operations were monitored by general laws pertaining to collective management. In contrast, Japan has the special law of royalty collection. However, when considering Thailand’s the Copyright Act B.E. 2537, there are no provisions for supporting the establishment of CMO and there is no special law that can be implemented to royalty collection. From the aforementioned problem, the author recommends that Thailand should set up a proper CMO and sui generis legislation for the royalty collection should be enacted. This Act should consist of the important following chapters: General Provisions, Registration, Obligations of the CMOs, Supervision, Supervisory Committee and Penal Provisions. 

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561

หัวเรื่องมาตรฐาน:

ลิขสิทธิ์
การบริหารค่าตอบแทน

คำสำคัญ:

การบริหารการจัดเก็บ
องค์กรจัดเก็บค่าลิขสิทธิ์
ค่าลิขสิทธิ์
e-Thesis

ประเภททรัพยากร:

วิทยานิพนธ์

ความยาว:

146 แผ่น

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

tha

สิทธิในการใช้งาน:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5031
แสดงระเบียนรายการแบบเต็ม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT)

Thumbnail
ดู
  • b208153.pdf ( 2,792.12 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Theses [187]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×