• English
    • ไทย
  • ไทย 
    • English
    • ไทย
  • เข้าสู่ระบบ
ดูรายการข้อมูล 
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
  •   หน้าแรกของ คลังปัญญา
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร
  • GSSDE: Theses
  • ดูรายการข้อมูล
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

เรียกดูข้อมูล

ข้อมูลทั้งหมดของ คลังปัญญาชุมชน & กลุ่มข้อมูลวันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากรกลุ่มข้อมูลนี้วันที่เผยแพร่ผู้แต่งชื่อเรื่องหัวเรื่องวันที่เพิ่มข้อมูลประเภททรัพยากร

บัญชีของฉัน

เข้าสู่ระบบ

การนำนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมไปปฏิบัติ : ศึกษากรณี การพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่แบบองค์รวม ของบริษัทเอฟู๊ด

by วัชระ สายสมาน

ชื่อเรื่อง:

การนำนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมไปปฏิบัติ : ศึกษากรณี การพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่แบบองค์รวม ของบริษัทเอฟู๊ด

ชื่อเรื่องอื่นๆ:

Implementation of the corporate social responsibility policy : a case study of holistic area based community development of a food company

ผู้แต่ง:

วัชระ สายสมาน

ผู้ควบคุมงานวิจัย:

สมศักดิ์ สามัคคีธรรม

ชื่อปริญญา:

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

ระดับปริญญา:

Master's

สาขาวิชา:

การเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา

คณะ/หน่วยงาน:

คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม

หน่วยงานที่ประสาทปริญญา:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

วันที่เผยแพร่:

2562

หน่วยงานที่เผยแพร่:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ:

การศึกษาเรื่อง “การนำนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมไปปฏิบัติ : ศึกษากรณี การพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่แบบองค์รวม ของบริษัทเอฟู๊ด” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการนำนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมไปปฏิบัติ ในโครงการพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่แบบองค์รวม ของบริษัทเอฟู๊ด และ 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคจากการนำนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมไปปฏิบัติ ในโครงการพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่แบบองค์รวม ของบริษัทเอฟู๊ด การศึกษานี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ และการสังเกตแบบมีส่วนร่วมจากประสบการณ์ปฏิบัติงานในหน่วยงานที่นำนโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมไปปฏิบัติ จากการศึกษาพบว่า บริษัทเอฟู๊ด ได้ดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมตามหลักการสมดุล 3 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม โดยผู้บริหารได้ให้ความสำคัญและสื่อสารนโยบาย รวมทั้งจัดตั้งสำนักกิจกรรมเพื่อสังคม โดยจัดสรรทรัพยากร งบประมาณ และมีบุคลากรทำหน้าที่ในการรับนโยบายไปปฏิบัติในด้านสังคมโดยเฉพาะ ซึ่งเป็นการดำเนินงานความรับผิดชอบต่อสังคมนอกกระบวนการของบริษัท เพื่อดำเนินโครงการพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่แบบองค์รวม ในพื้นที่ตัวแบบซึ่งเป็นที่ตั้งฐานการผลิตของบริษัท ส่งผลให้เกิดการมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนระหว่างบริษัทและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง โดยพบว่ามีปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น คือ การแปลงนโยบายเป็นแผนงานและโครงการโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบ ไม่สอดคล้องกับประเด็นปัญหาและความต้องการของประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากบริษัท โดยเฉพาะปัญหาด้านความเสื่อมโทรมของทรัพยากรแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร และปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากกระบวนการประกอบกิจการของบริษัท
This research aimed to study the implementation, problems, and obstacles of corporate social responsibility (CSR) policy of A FOOD Company in the holistic area-based community development projects. The qualitative methodology was used and data was collected by interviewing key informants and participant observation in the CSR policy implementing department. The results found that the CSR policy of A FOOD committed to the Triple Bottom Line (TBL) framework that focused on economic, social, and environment aspect. Also found that the board of directors emphasize and impose the policy. Therefore, the Corporate Social Contribution Office was established and organized specifically as known as the CSR after process and was supported by resources including budgets and human resource. The Corporate Social Contribution Office aimed to manage the holistic area-based community development projects in the manufacturing area model. The projects caused a community development involvement between company and stakeholders. However, it can be generally found that the transforming policy to programs and projects were not necessary to problems and local community niche around manufacturing areas. Especially, agricultural water resource degeneration and environmental impact from the manufacturing process.

รายละเอียดเพิ่มเติม:

วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (การเมืองและยุทธศาสตร์การพัฒนา))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2562

หัวเรื่องมาตรฐาน:

การนำนโยบายไปปฏิบัติ
ความรับผิดชอบต่อสังคม

คำสำคัญ:

การพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่แบบองค์รวม

ประเภททรัพยากร:

วิทยานิพนธ์

ความยาว:

132 แผ่น

ชนิดของสื่อ:

Text

รูปแบบแฟ้มข้อมูล:

application/pdf

ภาษา:

tha

สิทธิในการใช้งาน:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5081
แสดงระเบียนรายการแบบเต็ม

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT)

Thumbnail
ดู
  • b208794.pdf ( 2,266.14 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSSDE: Theses [559]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×