นโยบายอุตมะในการดำเนินงานเขื่อนภูมิพล
Publisher
Issued Date
1977
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
233 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
อวยชัย มิตรทองแท้ (1977). นโยบายอุตมะในการดำเนินงานเขื่อนภูมิพล. Retrieved from: http://repository.nida.ac.th/handle/662723737/510.
Title
นโยบายอุตมะในการดำเนินงานเขื่อนภูมิพล
Alternative Title(s)
Optimal policy for operating Bhumibol Dam
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงปริมาณน้ำที่เหมาะสม ที่จะปล่อยไปเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าและการชลประทานในแต่ละสภาวะของปริมาณน้ำในเขื่อนในคาบเวลาหนึ่ง เพื่อให้ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเนื่องจากการดำเนินงานเขื่อนเฉลี่ยในระยะยาวมีค่าต่ำสุด ค่าใช้จ่ายที่จะพิจารณาในที่นี้จะพบว่าเป็น 2 ประเภทคือ ค่าใช้จ่ายในการผลิตไฟฟ้าและความเสียหายในด้านเกษตรกรรม เนื่องจากปริมาณน้ำในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามีมากกว่าหรือน้อยกว่าความต้องการทางเกษตรกรรม
นอกจากนี้ วิทยานิพนธ์นี้ยังศึกษาต่อไปถึงผลกระทบกระเทือนต่อนโยบายอุตมะเมื่อความเสียหายต่อหน่วยของน้ำที่เกินและไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรรมเปลี่ยนแปลงไปด้วย.
วิธีการศึกษา.
1. ศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวกับนโยบายการดำเนินงานของเขื่อนจากวารสารเรื่อง "นโยบายที่ดีที่สุดสำหรับการดำเนินงานเขื่อนเอนกประสงค์" (An optimal policy for operating a multipurpose reservoir) เขียนโดย G. Bradley Russell ซึ่งได้ศึกษาต่อจากผลงานของ John Fessford, Samuel Karlin และผลงานของ John D.C. Little.
2. ศึกษาทฤษฎี Infinite stage markov programming จากหนังสือ Dynamic programming with management application.
ผลการวิเคราะห์สรุปได้ดังนี้
1. เมื่อเปลี่ยนแปลงความเสียหายต่อหน่วยของน้ำที่เกินและไม่เพียงพอกับความต้องการทางด้านชลประทานในสภาวะของปริมาณน้ำที่ไหลเข้ามาในเขื่อนเมื่อเดือนที่แล้วเดียวกัน นโยบายอุตมะจะเปลี่ยนแปลงในสภาวะของปริมาณน้ำในเขื่อนแถบกลาง ๆ คือ ประมาณสภาวะที่ 27 ถึง 39 ดังเปรียบเทียบไว้ในตาราง 7.1 สำหรับสภาวะของปริมาณน้ำที่ไหลเข้ามาในเขื่อนเมื่อเดือนที่แล้วอยู่ในสภาวะที่ 3 คือ เมื่อค่าใช้จ่ายต่อหน่วยของน้ำที่ที่ไม่เพียงพอกับความต้องการทางด้านชลประทานเพิ่มขึ้น นโยบายอุตมะจะเปลี่ยนไปในทางตัดสินใจปล่อยน้ำเพิ่มขึ้น ในทำนองเดียวกัน การเพิ่มค่าใช้จ่ายต่อหน่วยของน้ำที่เกินจากความต้องการทางด้านชลประทาน นโยบายอุตมะจะเปลี่ยนไปในทางตัดสินใจปล่อยน้ำลดลง.
2. เมื่อทราบความน่าจะเป็นของการเปลี่ยนแปลงสภาวะของปริมาณน้ำที่ไหลเข้ามาในเขื่อนภูมิพล และเปลี่ยนสภาวะของปริมาณน้ำที่ไหลเข้ามาในเขื่อนเป็นปริมาณน้ำมีหน่วยเป็นล้านลูกบาศก์เมตร ก็สามารถหาปริมาณน้ำเฉลี่ยที่ไหลเข้ามาในเดือนนี้ได้ เช่น ถ้าทราบว่าสภาวะของปริมาณน้ำที่ไหลเข้ามาในเขื่อนเมื่อเดือนที่แล้วและอยู่ในสภาวะที่ 2.
นอกจากนี้ วิทยานิพนธ์นี้ยังศึกษาต่อไปถึงผลกระทบกระเทือนต่อนโยบายอุตมะเมื่อความเสียหายต่อหน่วยของน้ำที่เกินและไม่เพียงพอต่อความต้องการของเกษตรกรรมเปลี่ยนแปลงไปด้วย.
วิธีการศึกษา.
1. ศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวกับนโยบายการดำเนินงานของเขื่อนจากวารสารเรื่อง "นโยบายที่ดีที่สุดสำหรับการดำเนินงานเขื่อนเอนกประสงค์" (An optimal policy for operating a multipurpose reservoir) เขียนโดย G. Bradley Russell ซึ่งได้ศึกษาต่อจากผลงานของ John Fessford, Samuel Karlin และผลงานของ John D.C. Little.
2. ศึกษาทฤษฎี Infinite stage markov programming จากหนังสือ Dynamic programming with management application.
ผลการวิเคราะห์สรุปได้ดังนี้
1. เมื่อเปลี่ยนแปลงความเสียหายต่อหน่วยของน้ำที่เกินและไม่เพียงพอกับความต้องการทางด้านชลประทานในสภาวะของปริมาณน้ำที่ไหลเข้ามาในเขื่อนเมื่อเดือนที่แล้วเดียวกัน นโยบายอุตมะจะเปลี่ยนแปลงในสภาวะของปริมาณน้ำในเขื่อนแถบกลาง ๆ คือ ประมาณสภาวะที่ 27 ถึง 39 ดังเปรียบเทียบไว้ในตาราง 7.1 สำหรับสภาวะของปริมาณน้ำที่ไหลเข้ามาในเขื่อนเมื่อเดือนที่แล้วอยู่ในสภาวะที่ 3 คือ เมื่อค่าใช้จ่ายต่อหน่วยของน้ำที่ที่ไม่เพียงพอกับความต้องการทางด้านชลประทานเพิ่มขึ้น นโยบายอุตมะจะเปลี่ยนไปในทางตัดสินใจปล่อยน้ำเพิ่มขึ้น ในทำนองเดียวกัน การเพิ่มค่าใช้จ่ายต่อหน่วยของน้ำที่เกินจากความต้องการทางด้านชลประทาน นโยบายอุตมะจะเปลี่ยนไปในทางตัดสินใจปล่อยน้ำลดลง.
2. เมื่อทราบความน่าจะเป็นของการเปลี่ยนแปลงสภาวะของปริมาณน้ำที่ไหลเข้ามาในเขื่อนภูมิพล และเปลี่ยนสภาวะของปริมาณน้ำที่ไหลเข้ามาในเขื่อนเป็นปริมาณน้ำมีหน่วยเป็นล้านลูกบาศก์เมตร ก็สามารถหาปริมาณน้ำเฉลี่ยที่ไหลเข้ามาในเดือนนี้ได้ เช่น ถ้าทราบว่าสภาวะของปริมาณน้ำที่ไหลเข้ามาในเขื่อนเมื่อเดือนที่แล้วและอยู่ในสภาวะที่ 2.
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (พบ.ม. (สถิติประยุกต์))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2520.