การมีส่วนร่วมของประชาชนในการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ กรณีศึกษา โครงการขยายกำลังการผลิตโรงไฟฟ้ากระบี่
Files
Publisher
Issued Date
2016
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
252 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b195706
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
มานิดา เฟื่องชูนนุช (2016). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ กรณีศึกษา โครงการขยายกำลังการผลิตโรงไฟฟ้ากระบี่. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5295.
Title
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ กรณีศึกษา โครงการขยายกำลังการผลิตโรงไฟฟ้ากระบี่
Alternative Title(s)
A public participation in environmental health impact assessment: a case study of Krabi Power Plant Expansion Project
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
ปัจจุบันปัญหาความขัดแย้งจากโครงการพัฒนาขนาดใหญ่ที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพอย่างรุนแรงทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่าง แท้จริง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วม ปัจจัยความสำเร็จปัญหา และอุปสรรค เพื่อนำไปสู่การนำเสนอแนวทางในการส่งเสริมและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของ ประชาชนในการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ประยุกต์หลัก CIPP-I Model มา ทำการศึกษากระบวนการดังกล่าว โดยใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บ รวบรวมข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ร่วมกับการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษา กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนตามกรอบการประเมิน พบว่า พื้นที่โครงการอยู่ใกล้กับพื้นที่ ชุ่มน้ำปากแม่น้ำกระบี่ที่มีความสำคัญระดับนานาชาติเป็นแหล่งเศรษฐกิจและศูนย์กลางความ หลากหลายทางชีวภาพทางทะเล ในส่วนของกฎหมายที่มีช่องว่างในทางปฏิบัติทำให้กระบวนการ มีส่วนร่วมดังกล่าวยังไม่สามารถบรรลุเจตนารมย์ที่แท้จริงของกฎหมายได้และแผนพัฒนากำลัง การผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยมิได้พิจารณาถึงศักยภาพด้านพลังงานที่มีอยู่ รวมถึงความ ต้องการของคนในพื้นที่อย่างแท้จริง นอกจากนี้ประชาชนยังมีอุปสรรคในด้านการได้รับข้อมูล ซึ่ง อาจยังไม่เพียงพอต่อกระบวนการตัดสินใจ เนื่องจากข้อมูลที่โครงการนำเสนอแก่ประชาชนเป็นข้อมูลเดียวและยังไม่ชัดเจนเพียงพอ ทำให้ประชาชนเกิดความสับสน ในส่วนของรายงานการ วิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ พบว่า มีอุปสรรคเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูลด้าน สุขภาพ ทำให้ไม่สามารถวิเคราะห์เชื่อมโยงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมกับผลกระทบด้านสุขภาพ จากการดำเนินโครงการฯ ได้นำไปสู่ความไม่ชัดเจนของมาตรการลดผลกระทบต่อสุขภาพ ด้านความขัดแย้งในพื้นที่เป็นผลมาจากการได้รับผลประโยชน์ที่แตกต่างกันของคนสองกลุ่ม ทั้งนี้ แนวทางในการพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมฯ ของโครงการให้ประสบความสำเร็จ ภาครัฐควร พิจารณาปรับปรุงกฎหมายให้ทันสมัยและกำหนดบทลงโทษของกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้ชัดเจน พัฒนาระบบฐานข้อมูลด้านสุขภาพ มีความโปร่งใสในการดำเนินงาน รับฟังความคิดเห็นของประชาชนตั้งแต่เริ่มกระบวนการ เพื่อให้ทราบความต้องการที่แท้จริงของประชาชนในพื้นที่ เสริมขีดความสามารถของชุมชนในด้านวิชาการ เพื่อให้ชุมชนมีพื้นฐานความเข้าใจด้านวิชาการ ในส่วนของภาคประชาชนนั้นควรเปิดใจรับข้อมูลทั้งด้านบวกและด้านลบของโครงการอย่างไม่มีอคติ
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (วท.ม. (การจัดการสิ่งแวดล้อม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559
504