ปัญหากฎหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการมีส่วนร่วมบริหารจัดการที่ดินของรัฐ
Publisher
Issued Date
2016
Issued Date (B.E.)
2559
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
161 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b194329
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
พัสตาภรณ์ ชัยปัญหา (2016). ปัญหากฎหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการมีส่วนร่วมบริหารจัดการที่ดินของรัฐ. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5310.
Title
ปัญหากฎหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการมีส่วนร่วมบริหารจัดการที่ดินของรัฐ
Alternative Title(s)
The legal problems on the participation of the local administrative organization on state land
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การศึกษาเรื่อง ปัญหากฎหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการมีส่วนร่วมบริหาร จัดการที่ดินของรัฐมีวัตถุประสงค์ของการศึกษาคือ ศึกษาถึงหลักเกณฑ์ แนวคิดทฤษฎี การมีส่วนร่วม มาตรการทางกฎหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหารจัดการที่ดินของรัฐ ประเทศไทยและ ต่างประเทศ เพื่อวิเคราะห์ ปัญหา กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมีการส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นในการมีส่วนร่วมบริหารจัดการที่ดินของรัฐ และเสนอแนะเกี่ยวกับ การเข้าไปมีส่วนร่วมของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการมีส่วนร่วมบริหารจัดการที่ดินของรัฐ จากกการศึกษาพบว่า 1. ใน ปัจจุบันไม่มีกฎหมายให้อํานาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการอนุมัติ อนุญาตให้ใช้ พื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นการจัดให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินของรัฐให้เหมาะสมกับพื้นที่นั้น การขอเพิกถอน พื้นที่รกร้างว่างเปล่าตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 6 เพื่อนําที่ดินไปใช้ประโยชน์ รวมทั้ง บทบัญญัติของกฎหมายที่ขาดความชัดเจนและตามแนวคําพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ทําให้การ บริหารจัดการที่ดินของรัฐขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น เกิดจากโครงสร้างและอํานาจหน้าที่ที่ ซ้ําซ้อน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งอยู่ภายใต้การกํากับดูแลจากราชการส่วนกลาง ราชการส่วน ภูมิภาคไม่สามารถดําเนินการบริหารจัดการที่ดินของรัฐได้โดยอิสระ ทําให้ไม่มีอํานาจบริหารจัดการ ที่ดินของรัฐในพื้นที่ของตน 2. ปัญหาทางกฎหมายด้านงบประมาณในการบริหารจัดการที่ดินของรัฐขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น การดูแลรักษาและคุ้มครองที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินสําหรับพลเมืองใช้ ร่วมกัน ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2551 มาตรา 122 ประกอบกับ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยเรื่องการรักษาดูแลและคุ้มครองป้องกันที่ดินอันเป็นสาธารณสมบัติของ แผ่นดินสําหรับพลเมืองใช้ประโยชน์ร่วมกัน พ.ศ.2553 ซึ่งได้กําหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เป็นผู้รับภาระด้านงบประมาณในการดําเนินการดูแลรักษา คุ้มครองป้องกัน การตรวจสอบแนวเขต การรังวัดที่ดินภายในพื้นที่ของตนเอง 3. ปัญหาทางกฎมายในการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการที่ดินของรัฐขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น การประกาศกําหนดแนวเขตที่ดินสงวนหวงห้ามของรัฐ ซึ่งรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานคณะกรรมการจัดที่ดินแห่งชาติเป็นผู้มีอํานาจในการประกาศสงวนหวงห้ามที่ดิน ก่อให้เกิดการโต้แย้งสิทธิระหว่างรัฐกับ ประชาชนในหลายพื้นที่ เนื่องจากอํานาจหน้าที่ในการสงวน หรือหวงห้ามที่ดินเพื่อประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกันเป็นของหน่วยงานราชการส่วนกลางและราชการ ส่วนภูมิภาค ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่มีส่วนร่วมในการตัดสินใจก่อนจะประกาศสงวนหวงห้าม ที่ดิน ข้อเสนอแนะของการศึกษานี้ 1. เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถดําเนินการบริหารจัดการที่ดินให้ประสบ ผลสําเร็จตามความมุ่งหมายของการกระจายอํานาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และตามความ ต้องการของประชาชนในพื้นที่นั้น จําเป็นจะต้องมีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น โดยราชการส่วนกลาง และส่วนภูมิภาคต้องกระจายอํานาจการบริหารจัดการที่ดินของรัฐ ทั้งในด้านขอบเขตอํานาจหน้าที่ การใช้งบประมาณ การออกกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่ดิน ในพื้นที่ รวมถึงแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการที่ดินของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นอกจากนี้จะต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ เข้ามีบทบาทในการแก้ไขปัญหาที่ดินของประเทศ 2. ควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 มาตรา 6 มาตรา 9 และมาตรา 10 โดยกําหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรที่ดินใน พื้นที่มากขึ้น โดยกําหนดให้มีอํานาจร้องขอเพิกถอนที่ดินที่ปล่อยทิ้งรกร้างว่างเปล่า การอนุญาตต้องมี หนังสือให้ความเห็นชอบจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กําหนดหลักเกณฑ์ให้การใช้ทรัพยากรใน พื้นที่และต้องมีการให้ข้อมูล ตลอดจนการจัดให้มีการประชุมเพื่อชี้แจงและรับฟังความคิดเห็นจาก ประชาชนในพื้นที
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559