พฤติกรรมการใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ ความพึงพอใจและการนำไปใช้ประโยชน์ของคนในกรุงเทพมหานคร
by กฤษณี เสือใหญ่
ชื่อเรื่อง: | พฤติกรรมการใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ ความพึงพอใจและการนำไปใช้ประโยชน์ของคนในกรุงเทพมหานคร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Usage of LINE application, satisfaction and capability for Bangkok citizen |
ผู้แต่ง: | กฤษณี เสือใหญ่ |
ผู้ควบคุมงานวิจัย: | พัชนี เชยจรรยา |
ชื่อปริญญา: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | Master's |
สาขาวิชา: | นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม |
คณะ/หน่วยงาน: | คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2558 |
ตัวระบุวัตถุจิจิทัล (ดีโอไอ): | 10.14457/NIDA.the.2015.30 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้แอพพลิเคชั่น ไลน์ความพึงพอใจและ การนำไปใช้ประโยชน์ ของคนในกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการวิจัยเชิง สำรวจ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม โดยมีประชากรเป้าหมายคือผู้ที่มีบัญชีแอพพลิเคชั่นไลน์ ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร ข้อมูลสำหรับการศึกษาครั้งนี้เป็นข้อมูลจากตัวอย่าง 399 คน จาก การสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ใช้ค่าความถี่ร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐานในการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น และใช้สถิติf-Test (One–Way ANOVA) t-Test ผลการศึกษาพบว่า ประชากรในกรุงเทพมหานครมีประสบการณ์ในการใช้แอพพลิเคชั่นไลน์2 ปี มากที่สุด มีความถี่ในการใช้คือเปิดแอพพลิเคชั่นไลน์ทั้งวัน โดยจะใช้แอพพลิเคชั่นมากกว่า 5 ชั่วโมงต่อวัน ช่องทางที่ใช้แอพพลิเคชั่นไลน์คือ iPhone/ipad ประชากรส่วนใหญ่ใช้ฟังก์ชั่น Chat มากที่สุด และส่วนใหญ่ประชากรที่ใช้แอพพลิเคชั่นเคยโหลด Sticker Line ใน Office Account และใน Sticker Shop ในด้านปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกโหลด Sticker Line พบว่า ส่วนใหญ่ชอบ คาแรคเตอร์ และจะดาวน์โหลด 1 คร้ังต่ออาทิตย์ส่วนความคิดเห็นต่อSticker Line พบว่า ประชากรมีความคิดเห็น ว่า สามารถใช้แทนคำพูด ได้และจะใช้แทนความรู้สึกต่างๆ วัตถุประสงค์ในการใช้งานกลุ่มตวัอย่างมีความคิดเห็นต่อการใช้แอพพลิเคชั่นไลน์ โดย วัตถุประสงค์ที่ใช้จะใช้พูดคุยกับ เพื่อน ในด้านความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็น โดยรวม อยู่ในระดับ มากเช่นกัน พบว่า แอพพลิเคชั่น ใช้งานง่าย การนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ พบว่า ด้านการสื่อสาร ด้านเวลา ด้านสังคม/การแสดงออก ด้านความบันเทิง และด้านการทำงาน พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นโดยรวมใน ระดับมาก ในด้านการสื่อสาร ใช้เพื่อแลกเปลี่ยน ข้อมูล ข่าวสาร และในด้านเวลา สามารถประหยัดเวลาในการติดต่อสื่อสาร นอกจากนี้ยังพบว่า เพศ อายุระดับการศึกษาอาชีพ และรายได้ เฉลี่ยที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการใช้แอพพลิเคชั่น ไลน์ที่ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ ที่ระดับ 0.001 |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558 |
หัวเรื่องมาตรฐาน: | ไลน์ (โปรแกรมคอมพิวเตอร์)
ผู้บริโภค -- ไทย -- กรุงเทพฯ – ทัศนคติ |
ประเภททรัพยากร: | วิทยานิพนธ์ |
ความยาว: | 77 แผ่น |
ชนิดของสื่อ: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5422 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|