ปัญหาสถานะทางกฎหมายในที่ดินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
by พรหมภัสสร พลคง
Title: | ปัญหาสถานะทางกฎหมายในที่ดินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น |
Other title(s): | The legal status of land issues in local government |
Author(s): | พรหมภัสสร พลคง |
Advisor: | สุนทร มณีสวัสดิ์ |
Degree name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree level: | Master's |
Degree department: | คณะนิติศาสตร์ |
Degree grantor: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Issued date: | 2015 |
Digital Object Identifier (DOI): | 10.14457/NIDA.the.2015.6 |
Publisher: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
Abstract: |
การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาถึงวิวัฒนาการ แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการบริการสาธารณะ 2. ศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับ สถานะทางกฎหมายในที่ดินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยและต่างป ระเทศ 3. ศึกษาถึงสถานะของที่ดินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 4. ศึกษาถึงข้อเสนอแนะเพื่อ นำมาใช้เป็นแนวทางการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายของประเทศไทยให้มีความชัดเจนต่อไป จากการศึกษา พบว่า ที่ดินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ไม่ว่าองค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นจะจัดซื้อที่ดินมาจากเงินงบประมาณของแผ่นดิน จัดซื้อที่ดินมาจากงบประมาณของตนเอง หรือได้ที่ดินมาเนื่องจากมีผู้บริจาคให้ หรือได้ที่ดินมาเนื่องจากมีการเวนคืนให้ ที่ดินดังกล่าวก็อาจมี สถานะเป็นได้ทั้งที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน หรือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดา อีกทั้ง ที่ดินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีทั้งที่ดินที่ต้องน าขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ และไม่ต้องนำขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุด้วย ซึ่งทำให้ผู้ที่มีอำนาจหน้าที่ในการดูแลรักษาและ คุ้มครองป้องกันแตกต่างกันไป จึงเป็นที่มาของประเด็นปัญหาสถานะทางกฎหมายในที่ดินขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นที่รัฐควรแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ ดังนี้ 1. ปัญหาที่ดินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสถานะทางกฎหมายเช่นใด 2. ปัญหาที่ดินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสถานะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดา หรือที่ราชพัสดุ ได้แก่ การจัดซื้อที่ดินจากเงินงบประมาณและงบเงิน อุดหนุน การจัดซื้อที่ดินจากเงินงบประมาณของตนเอง การได้ที่ดินมาเนื่องจากมีผู้บริจาคให้การได้ ที่ดินมาเนื่องจากมีราษฎรเวนคืนให้ 3. ปัญหาการเพิกถอนสภาพและการโอนสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ผลการศึกษา พบว่า ที่ดินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีสถานะเป็นที่ดินของรัฐ ซึ่งมีหลาย ประเภท คือ ประเภทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน หรือเป็นประเภททรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดา อีกทั้ง อาจเป็นประเภทที่ราชพัสดุของรัฐบาลอีกทางหนึ่ง โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีอำนาจ หน้าที่ในการดูแลรักษาและคุ้มครองป้องกัน หรือใช้ประโยชน์จากที่ดินได้มากบ้างน้อยบ้างตามแต่ละ ประเภทของที่ดิน ประกอบกับการแบ่งแยกประเภทของสาธารณสมบัติของแผ่นดิน มีความซับซ้อน และเมื่อแยกสถานะสาธารณสมบัติของแผ่นดินแต่ละประเภทได้แล้ว ผลทางกฎหมายก็มีความ แตกต่างกัน ซึ่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องตีความเองหรือหารือไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดเวลา ดังนั้น หากรัฐกำหนดว่าทรัพย์สินประเภทที่ดิน สิ่งปลูกสร้างและสิทธิอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับที่ดินทั้งหมด ไม่ว่าจะจัดซื้อมาจากเงินงบประมาณของแผ่นดินหรือเงินรายได้อื่น และไม่ว่าจะเป็น สาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือทรัพย์สินของแผ่นดินธรรมดาของทุกส่วนราชการและหน่วยงานของ รัฐทุกประเภท ให้เป็นทรัพย์มหาชนหรือมีสถานะเป็นที่ดินของรัฐทั้งหมด จะทำให้มีความชัดเจนและ ง่ายต่อการปฏิบัติงานหรือบังคับใช้กฎหมายต่อไป |
Description: |
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558 |
Subject(s): | กฎหมายที่ดิน -- ไทย
ที่ดิน |
Resource type: | วิทยานิพนธ์ |
Extent: | 117 แผ่น |
Type: | Text |
File type: | application/pdf |
Language: | tha |
Rights: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5437 |
Files in this item (CONTENT) |
|
View ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|