อำนาจหน้าที่ในการมีส่วนร่วมจัดการดูแลทรัพยากรป่าไม้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Files
Publisher
Issued Date
2015
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
122 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b193190
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
วิทวัส ยี่สารพัฒน์ (2015). อำนาจหน้าที่ในการมีส่วนร่วมจัดการดูแลทรัพยากรป่าไม้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5443.
Title
อำนาจหน้าที่ในการมีส่วนร่วมจัดการดูแลทรัพยากรป่าไม้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
Alternative Title(s)
Authority and functions regarding participation in managing and nurturing forest resources the local administrative organization
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความเป็นมาและสภาพปัญหาในการมีส่วนร่วม จัดการดูแลทรัพยากรป่าไม้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2. ศึกษาถึงข้อความคิดในการมีส่วนร่วม จัดการดูแลทรัพยากรป่าไม้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3. ศึกษาถึงมาตรการทางกฎหมาย ของประเทศไทยและต่างประเทศในการมีส่วนร่วมจัดการดูแลทรัพยากรป่าไม้ขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น 4. วิเคราะห์ปัญหาในการมีส่วนร่วมจัดการดูแลทรัพยากรป่าไม้ขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น 5. เพื่อค้นหามาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมมาใช้เป็นแนวทางในการมีส่วนร่วมจัด การดูแลทรัพยากรป่าไม้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นองค์กรที่ได้รับการกระจายอำนาจจากองค์กรบริหารราชการ ส่วนกลางมายังท้องถิ่นให้มีภารกิจต่าง ๆ อันเป็นการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน ในการจัดการ ดูแลทรัพยากรป่าไม้ในท้องถิ่นนั้น เป็นภารกิจหนึ่งที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นควรเข้าไปมีส่วนร่วม ในฐานะองค์กรการปกครองในระดับท้องถิ่นที่มีประชาชนในพื้นที่เป็นผู้ใช้และใกล้ชิดกับทรัพยากร ซึ่งสอดคล้องกับข้อความคิดของ Elinor Ostrom นักวิชาการสาขาระบบการจัดการทางเศรษฐกิจ ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ที่เสนอว่าการจัดการทรัพยากรร่วมควรให้ผู้ที่ใช้ทรัพยากร เป็นผู้มีส่วนร่วมในการจัดการกับทรัพยากร ซึ่งทรัพยากรป่าไม้นั้นก็มีลักษณะเป็นทรัพยากรร่วม ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในต่างประเทศก็ได้มีอำนาจหน้าที่ในการมีส่วนร่วมจัดการดูแล กับทรัพยากรป่าไม้ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ ผู้ศึกษาได้ทำการศึกษาประเทศฟิลิปปินส์และประเทศญี่ปุ่น โดยที่ประเทศฟิลิปปินส์ได้มีประมวลกฎหมายปกครองท้องถิ่น ค.ศ.1991 ให้อำนาจหน้าที่ในการมี ส่วนร่วมจัดการดูแลทรัพยากรป่าไม้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไว้เป็นการบริการสาธารณะ ขั้นพื้นฐานที่ต้องมี ส่วนประเทศญี่ปุ่นนั้น ได้มีพระราชบัญญัติป่าไม้และการป่าไม้ขั้นพื้นฐาน ค.ศ.1964 อันเป็นกฎหมายพื้นฐานในการวางระบบการจัดการดูแลทรัพยากรป่าไม้
จากการศึกษาอำนาจหน้าที่ในการมีส่วนร่วมจัดการดูแลทรัพยากรป่าไม้ขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นในประเทศไทยนั้นพบว่า รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 และ พ.ศ.2550 ตลอดจนพระราชบัญญัติก าหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ได้มีการบัญญัติถึงแนวคิดอันเป็นการมอบภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วน ท้องถิ่นได้มีส่วนในการจัดการดูแลกับทรัพยากรป่าไม้แต่ไม่ได้ปรากฏถึงวิธีการขั้นตอนต่าง ๆ และไม่ ว่าจะในกฎหมายป่าไม้และกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็หาได้มีการกำหนดถึงวิธีการ ขั้นตอนดังที่กล่าวไม่ จะมีก็แต่เพียงตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ ระเบียบกรมป่าไม้ที่ให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ และให้องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่นให้ความเห็นชอบในกระบวนการอนุญาตต่าง ๆ จึงก่อเป็นปัญหาว่ากฎหมายป่าไม้ และกฎหมายจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ได้กำหนดวิธีการและอำนาจในการจัดการดูแล ทรัพยากรป่าไม้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ปัญหาการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดการดูแลทรัพยากรป่าไม้ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและ ระเบียบกรมป่าไม้ ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจในการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเพื่อจัดการดูแลทรัพยากรป่าไม้ ในการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาเห็นว่าควรมีกฎหมายที่กำหนดถึงวิธีการขั้นตอนต่าง ๆ เพื่อให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ปฏิบัติเป็นแนวทางในการจัดการดูแลกับทรัพยากรป่าไม้และปรับปรุง กฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีความสอดคล้องกัน ตลอดจนยกเลิกประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมและระเบียบกรมป่าไม้ที่นำมาศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในฐานะ องค์กรที่มีความใกล้ชิดกับประชาชน ปัญหาและทรัพยากรได้มีส่วนร่วมในการจัดการดูแล กับทรัพยากรป่าไม้ อันจะก่อประโยชน์แก่ประชาชนสืบไป
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2558