การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางปกครองของประชาชน : ศึกษากรณีปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากระบบศาลและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
Files
Publisher
Issued Date
2016
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
180 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b194152
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
บัญชา แสงจันทร์ (2016). การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางปกครองของประชาชน : ศึกษากรณีปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากระบบศาลและวิธีพิจารณาคดีปกครอง. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5465.
Title
การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางปกครองของประชาชน : ศึกษากรณีปัญหาและอุปสรรคที่เกิดจากระบบศาลและวิธีพิจารณาคดีปกครอง
Alternative Title(s)
Access to administrative justice by people: a study of problems and challenges arising from administrative court system and its procedure
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์ปัญหาหรืออุปสรรคในการเข้าถึงกระบวนการ ยุติธรรมทางปกครองของประชาชนที่เกิดจากระบบศาลและวิธีจารณาคดีปกครอง ตลอดจนปัญหาที่ ศาลปกครองและรัฐขาดมาตรการช่วยเหลือประชาชนในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางปกครอง ผลจากการวิจัยพบว่า 1. ความไม่ชัดเจนเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลในบางกรณีทำให้เกิดความ เห็นไม่ลงรอยกันในเรื่องเขตอำนาจศาลที่จะให้ศาลใดเป็นผู้พิจารณาคดีระหว่างศาลปกครองกับศาล ยุติธรรม 2. เงื่อนไขการฟ้องคดีที่ต้องมีการอุทธรณ์ภายในฝ่ายปกครองก่อน หากไม่ดำเนินการศาลก็ จะไม่รับคำฟ้อง 3. การกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาที่ศาลปกครองต้อง พิจารณาเงื่อนไขแห่งการขอโดยเคร่งครัดหากขาดเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งศาลก็จะไม่รับคำร้องขอ 4. การแสวงหาข้อเท็จจริงของศาลปกครองที่ล่าช้าไม่มีกระบวนการพิจารณาและระยะเวลาที่แน่นอน 5. ผลของคำพิพากษาศาลปกครองที่เพิกถอนกฎหรือคำสั่งทางปกครองที่จะให้มีผลย้อนหลังหรือมีผลใน อนาคตซึ่งมีผลต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ฟ้องคดี 6. การขาดบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการบังคับคดี ปกครองที่ทำให้การบังคดีปกครองไม่อาจบรรลุผลตามคำพิพากษาของศาลปกครอง 7. ศาลปกครอง และหน่วยงานรัฐขาดมาตรการช่วยเหลือประชาชนในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางปกครองที่ เพียงพอ ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะว่า 1. ควรมีการกำหนดหลักเกณฑ์การบังคับใช้กฎหมายให้ชัดเจนใน เรื่องเขตอำนาจศาลปกครองในกรณีการฟ้องคดีที่มีข้อหาหลายประเด็นเกี่ยวพันกัน 2. การฟ้องคดีที่ ต้องมีการอุทธรณ์ภายในฝายปกครองก่อน หากได้มีการอุทธรณ์ต่อฝ่ายปกครองแล้วสามารถฟ้องคดี ปกครองได้โดยไม่ต้องรอผลการวินิจฉัยอุทธรณ์หรือรอจนพ้นกำหนดเวลาอุทธรณ์ 3. การกำหนด มาตรการคุ้มครองชั่วคราว ต้องใช้หลักการไต่สวนและตีความโดยมีการผ่อนปรนหลักเกณฑ์ให้สามารถ กำหนดมาตรการการคุ้มครองชั่วคราวได้หากไม่เป็นอุปสรรคอย่างร้ายแรงต่อการบริหารงาน สาธารณะและการคุ้มครองต้องพิจารณาโดยเร่งด่วนหรือบังคับใช้กฎหมายในปัจจุบันคือการกำหนด มาตรการฉุกเฉินเพื่อสามารถเยียวยาความเสียหายได้ทันที 4. เพื่อมิให้การแสวงหาข้อเท็จจริงล่าช้า ต้องกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการปฏิบัติให้ชัดเจนและให้มีระยะเวลาดำเนินกระบวนพิจารณาที่แน่นอน 5. ผลของคำพิพากษาต้องมีการตีความที่ชัดเจนไปในแนวทางเดียวกัน 6. การนำกฎหมายปัจจุบันที่มี มาตรการปรับทางปกครองที่สามารถบังคับใช้ได้ จะช่วยทำให้การบังคับคดีปกครองมีประสิทธิภาพ 7.เพื่อช่วยเหลือประชาชนในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางปกครอง ควรให้มีทนายความหรือผู้มี ความรู้ความสามารถในการดำเนินคดีปกครองดำเนินคดีแทนตามเงื่อนไขที่กำหนด ซึ่งจะก่อให้เกิด ผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของการมีศาลปกครองเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559