ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับราคาลดลงของที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
Files
Publisher
Issued Date
2016
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
161 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
Other identifier(s)
b194156
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ปราโมทย์ สุวรรณแก้ว (2016). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับราคาลดลงของที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5470.
Title
ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับราคาลดลงของที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
Alternative Title(s)
Title legal problems of the price Decreasing for the remaining land of the Immovable Property Expropriation Act B.E. 253
Author(s)
Editor(s)
Advisor(s)
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความเป็นมาและความสัมพันธ์ของปัญหาทาง กฎหมายในการกำหนดค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนของหน่วยงานรัฐ โดยศึกษาถึง แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับหลักกรรมสิทธิ์และกระบวนการเวนคืนเพื่อค้นหาหลักเกณฑ์ทางกฎหมายที่ เหมาะสมในการนำวิธีการแก้ปัญหามาใช้บังคับกับปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยวิธีการศึกษา กฎหมายเปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์ทางกฎหมายของต่างประเทศ เนื่องจากกฎหมายเวนคืนมีความ ยุ่งยากและซับซ้อนมีปัญหาในการปฏิบัติงาน โดยจะทำการศึกษาเฉพาะปัญหาทางกฎหมายในกรณี ที่ดินถูกเวนคืนบางส่วนและที่ดินส่วนที่เหลือราคาลดลงต้องกำหนดค่าทดแทนสำหรับที่ดินส่วนที่เหลือ จากการเวนคืนอันราคาลดลงนั้นด้วย ทั้งนี้วิธีการวิจัยจะเป็นการศึกษาวิจัยแบบเอกสารจากการ ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ที่ใช้บังคับขณะกำลังการศึกษาและ รัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ ที่บัญญัติเกี่ยวกับการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์และการกำหนดค่าทดแทน และ พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 รวมถึงคำพิพากษาศาลฎีกา คำพิพากษา ศาลปกครองสูงสุด และคำวินิจฉัยตอบข้อหารือของสำนักคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับกระบวนการ เวนคืนอสังหาริมทรัพย์และการกำหนดค่าทดแทน วิทยานิพนธ์และตำราอื่นๆ จากการศึกษาวิจัย ผู้เขียนเห็นว่าการกำหนดค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์จากการเวนคืนอย่าง เป็นธรรมนั้น ต้องกำหนดค่าทดแทนให้กับผู้ถูกเวนคืนอย่างครบถ้วน ทั้งในส่วนค่าทดแทนที่ดินที่ถูก เวนคืน ที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืน และความเสียหายอื่นๆที่ได้รับเนื่องจากการถูกเวนคืน โดยเฉพาะค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนราคาลดลง ผู้มีหน้าที่กำหนดค่าทดแทนต้อง กำหนดค่าทดแทนให้กับที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนราคาลดลงนั้นด้วย หรือถูกเวนคืนแล้วที่ดิน ส่วนที่เหลือได้รับความเสียหายจากการถูกเวนคืน หรือเมื่อถูกเวนคืนแล้วที่ดินส่วนที่เหลือเสีย ประโยชน์จากการเวนคืน หรือเมื่อถูกเวนคืนแล้วที่ดินส่วนเหลือใช้ประโยชน์ได้จำกัด ซึ่งความเป็น ธรรมนั้นจะต้องพิจารณาถึงทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการประโยชน์ของรัฐ และเพื่อให้ประชาชนผู้ถูกเวนคืนได้รับค่าทดแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรม การจ่ายเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์นั้นรัฐจะต้อง ใช้งบประมาณแผ่นดินที่ได้จากภาษีของประชาชนอย่างคุ้มค่า การใช้บังคับกฎหมายหรือการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดในการกำหนดค่า ทดแทนอย่างครบถ้วนและภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดจะนำมาซึ่งความเป็นธรรมกับผู้ถูก เวนคืนที่เสียประโยชน์จากการเวนคืนและสังคม การกำหนดค่าทดแทนสำหรับที่ดินส่วนที่เหลือจาก การเวนคืนตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่ใช้บังคับขณะทำการศึกษาไม่สามารถชดเชยความเสียหาย ให้กับที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนในกรณีที่ผู้ถูกเวนคืนไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินส่วนที่เหลือ จากการเวนคืนได้ เห็นควรเสนอหลักเกณฑ์ในการกำหนดค่าทดแทนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืน ราคาลดลง และเสนอแก้กฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อให้อำนาจหน่วยงานของรัฐ จัดซื้อหรือเวนคืนที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนที่ผู้ถูกเวนคืนไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้ตาม วัตถุประสงค์เดิมโดยสิ้นเชิง และให้รัฐสามารถนำที่ดินที่จัดซื้อหรือเวนคืนไปใช้ประโยชน์เพื่อการจัดทำ สาธารณูปโภคอย่างอื่นได้
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559