ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินการของสมาคมกีฬาในประเทศไทย
Publisher
Issued Date
2016
Issued Date (B.E.)
2559
Available Date
Copyright Date
Resource Type
Series
Edition
Language
tha
File Type
application/pdf
No. of Pages/File Size
179 แผ่น
ISBN
ISSN
eISSN
DOI
Other identifier(s)
b194163
Identifier(s)
Access Rights
Access Status
Rights
ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)
Rights Holder(s)
Physical Location
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. สำนักบรรณสารการพัฒนา
Bibliographic Citation
Citation
ปรีชา สร้อยสวน (2016). ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินการของสมาคมกีฬาในประเทศไทย. Retrieved from: https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5476.
Title
ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินการของสมาคมกีฬาในประเทศไทย
Alternative Title(s)
Legal problem on the operations of the Sports Association of Thailand
Author(s)
Advisor(s)
Editor(s)
item.page.dc.contrubutor.advisor
Advisor's email
Contributor(s)
Contributor(s)
Abstract
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน แนวคิด หลักการ และทฤษฎีทาง กฎหมายมหาชนที่เกี่ยวกับการดําเนินการของสมาคมกีฬาในประเทศไทย อันได้แก่หลักนิติรัฐ หลัก ภารกิจของรัฐ รวมไปถึงหลักนิติบุคคลในกฎหมายมหาชน และศึกษามาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวกับ สมาคมกีฬาของต่างประเทศและประเทศไทย รวมถึงศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับ การดําเนินการของสมาคมกีฬาในประเทศไทย ตลอดจนศึกษาถึงข้อเสนอแนะที่เหมาะสมเกี่ยวกับการ แก้ไขปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการดําเนินการของสมาคมกีฬาในประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน จากการศึกษา พบว่า เกิดปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการดําเนินการของสมาคมกีฬาใน ประเทศไทย 3 ประการได้แก่ ประการแรก คือ ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดตั้งสมาคมกีฬาและ สมาคมกีฬาอาชีพในประเทศไทย เนื่องจากในปัจจุบันการจัดตั้งสมาคมกีฬาในประเทศไทยนั้นเป็น ดุลยพินิจของคณะกรรมการการกีฬาแห่งประเทศไทยที่จะพิจารณาว่าสมาคมที่ดําเนินการด้านกีฬา ประเภทใดควรรับไว้ในการดูแลของการกีฬาแห่งประเทศไทย ประการที่สอง คือ ปัญหาทางกฎหมาย เกี่ยวกับการกํากับดูแลสมาคมกีฬาและสมาคมกีฬาอาชีพในประเทศไทย โดยการกํากับดูแลสมาคมที่ มีวัตถุประสงค์ด้านกีฬา และสมาคมกีฬาในปัจจุบันนั้นมีหน่วยงานที่ดูแลอยู่ 2 หน่วยงานด้วยกัน คือ กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย กับการกีฬาแห่งประเทศไทย และประการสุดท้าย คือ ปัญหา ทางกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมกีฬาอาชีพในประเทศไทย เนื่องจากการจดแจ้งเป็นสมาคมกีฬา อาชีพในปัจจุบันต้องได้รับการจัดตั้งเป็นสมาคมกีฬาตามพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย เสียก่อนจึงจะมีสิทธิในการจดแจ้งเป็นสมาคมกีฬาอาชีพได้ ซึ่งปัญหาทางกฎหมายทั้งสามประการ ข้างต้นทําให้การพัฒนาสมาคมกีฬา และการส่งเสริมกีฬาในประเทศไทย เกิดการพัฒนาที่ล้าช้ากว่า นานาประเทศ ดังนั้น ผู้เขียนเห็นควรให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติการกีฬาแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2558 โดยกําหนดให้สมาคมที่มีวัตถุประสงค์ในการดําเนินกิจกรรมด้านกีฬา และส่งเสริมกีฬาให้เป็นอํานาจ ของผู้ว่าการการกีฬาแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการการกีฬาแห่งชาติ ในการกําหนดหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขของการจัดตั้งสมาคมกีฬาโดยตรงกับการกีฬาแห่งประเทศไทย รวมไปถึงให้มีการ กําหนดให้การกีฬาแห่งประเทศไทยแต่เพียงผู้เดียวในการกํากับดูแลสมาคมกีฬาและสมาคมกีฬาอาชีพ ตลอดจนควรเห็นให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติส่งเสริมกีฬาอาชีพ พ.ศ.2556 โดยกําหนดให้มีการ กําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของการจดแจ้งการดําเนินการเพื่อเป็นสโมสรกีฬาอาชีพและ สมาคมกีฬาอาชีพ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกีฬาอาชีพกําหนด โดยนํา แนวคิด หลักการ และทฤษฎีทางกฎหมายมหาชน ตลอดจนนําข้อกฎหมายของต่างประเทศในส่วน ของสมาคมกีฬามาปรับใช้กับกฎหมายของประเทศไทย เพื่อให้ประเทศไทยสามารถแก้ไขปัญหาที่ เกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืน สืบต่อไป
Table of contents
Description
วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559