• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

มาตรการในการจัดทำบริการสาธารณะในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย : ศึกษากรณีมูลนิธิกู้ภัยเฉพาะอุบัติภัย

by ชณเกตุ แผ่วงค์

Title:

มาตรการในการจัดทำบริการสาธารณะในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย : ศึกษากรณีมูลนิธิกู้ภัยเฉพาะอุบัติภัย

Other title(s):

Measures to provide public services to help the victims : a case study of the accident rescue foundation

Author(s):

ชณเกตุ แผ่วงค์

Advisor:

บรรเจิด สิงคะเนติ

Degree name:

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะนิติศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2016

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาทางกฎหมายและปัญหาข้อเท็จจริงในการ ปฏิบัติภารกิจของมูลนิธิกู้ภัย เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการจัดทำบริการสาธารณะในการช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยและพัฒนาเป็นกฎหมายเฉพาะต่อไป อันจะนำไปสู่การจัดระเบียบมูลนิธิกู้ภัยต่าง ๆ และ ควบคุมเจ้าหน้าที่มูลนิธิกู้ภัยให้อยู่ในบรรทัดฐานและมีมาตรฐานเดียวกัน อีกทั้งศึกษาการจัดทำบริการสาธารณะในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยของต่างประเทศ วิเคราะห์ปัญหาโดยมุ่งเน้นศึกษาจากปัญหาข้อเท็จจริง และพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับการช่วยเหลือผู้ประสบภัยเพื่อให้เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพสังคมในปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่า ประเทศไทยไม่มีบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมูลนิธิกู้ภัยโดยเฉพาะ จึงไม่มีหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลควบคุมมูลนิธิกู้ภัย ส่งผลให้เกิดปัญหาและความไม่เป็นระเบียบของ มูลนิธิกู้ภัยที่มีมากมายในปัจจุบัน การทำงานจึงไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรไม่สามารถตอบสนองต่อ ความต้องการช่วยเหลือของประชาชนได้อย่างทันท่วงที ผู้วิจัยจึงเสนอความเห็นเป็น 2 แนวทาง คือ ในกรณีที่ยังมิได้บัญญัติกฎหมายเฉพาะในเรื่องนี้ เห็นว่าควรให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติเป็นหน่วยงานที่ควบคุมดูแลเรื่องนี้โดยตรงเนื่องจากเป็นภารกิจ ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติตามพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2552 โดยวางกรอบหลักเกณฑ์ขึ้นใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาที่มีอยู่เดิม และกรณีมีการตราพระราชบัญญัติ เฉพาะ ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่าพระราชบัญญัตินี้ต้องมีสาระสำคัญ กล่าวคือ คำจำกัดความของมูลนิธิกู้ภัย มีขั้นตอน การดำเนินงานและการฝึกอบรม คุณสมบัติของบุคคลที่จะเข้ามาเป็นเจ้าหน้าที่มูลนิธิกู้ภัย ตลอดจนอำนาจหน้าที่และภารกิจขององค์กรซึ่งต้องมีคณะกรรมการจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง กับการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ได้แก่ เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เจ้าหน้าที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย เจ้าหน้าที่ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติผู้ แทนที่ได้รับเลือกจากมูลนิธิกู้ภัยและมีการกำหนดความรับผิดและบทลงโทษไว้ ซึ่งอาจส่งผลให้การ ทำงานของมูลนิธิกู้ภัยเป็นไปในทิศทางและมีมาตรฐานเดียวกันอันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อชีวิตของ ผู้ประสบภัยอย่างสูงที่สุด

Description:

วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2559

Subject(s):

การบรรเทาสาธารณภัย
ประสบภัย -- การสงเคราะห์
บริการสาธารณะ -- ไทย

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

114 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5482
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b194169.pdf ( 1.31 MB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Theses [208]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×