การศึกษาลักษณะของข่าวปลอมที่เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ในประเทศไทย และแนวทางการรับมือ
by เสาวภาคย์ รัตนพงศ์
ชื่อเรื่อง: | การศึกษาลักษณะของข่าวปลอมที่เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ในประเทศไทย และแนวทางการรับมือ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Characteristics of fake news in Thailand and the approach to counter them |
ผู้แต่ง: | เสาวภาคย์ รัตนพงศ์ |
ผู้ควบคุมงานวิจัย: | วรัชญ์ ครุจิต |
ชื่อปริญญา: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
ระดับปริญญา: | Master's |
สาขาวิชา: | นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม |
คณะ/หน่วยงาน: | คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ |
หน่วยงานที่ประสาทปริญญา: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
ตัวระบุวัตถุจิจิทัล (ดีโอไอ): | 10.14457/NIDA.the.2020.52 |
หน่วยงานที่เผยแพร่: | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ |
บทคัดย่อ/เนื้อเรื่องย่อ: |
การวิจัยเชิงคุณภาพเรื่อง “ลักษณะของข่าวปลอมที่เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ในประเทศไทยและแนวทางการรับมือ” มีวัตถุประสงค์การศึกษา 1) เพื่อวิเคราะห์ลักษณะของข่าวปลอมที่เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ในประเทศไทย โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาสารเชิงคุณภาพ (Qualitative Content Analysis) เก็บตัวอย่างข่าวปลอมที่ตรวจสอบแล้วว่าเป็นเท็จ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 - 31 มกราคม พ.ศ. 2563 จากเฟซบุ๊กศูนย์ต่อต้านข่าวปลอม 87 ข่าว และเฟซบุ๊กศูนย์ชัวร์ก่อนแชร์ 48 ข่าว รวมทั้งสิ้น 135 ข่าว 2) เพื่อศึกษาแนวทางการรับมือปัญหาข่าวปลอมที่เหมาะสมกับประเทศไทย โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกตัวแทนผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 3 ท่าน
ผลการศึกษาลักษณะของข่าวปลอมที่เผยแพร่ผ่านสื่อออนไลน์ในประเทศไทย พบว่ามีทั้งหมด 3 ส่วน ได้แก่ 1) ลักษณะแหล่งที่มาของข่าวปลอม ได้แก่ ข่าวปลอมจากสื่อกระแสหลัก ข่าวปลอมจากเว็บไซต์ทั่วไป ข่าวปลอมจากแฟนเพจเฟซบุ๊กทั่วไปและข่าวปลอมจากไลน์ 2) ลักษณะรูปแบบของข่าวปลอม ได้แก่ ข้อความ บทความ ข่าว รูปภาพ คลิปวิดีโอและลิงก์ 3) ลักษณะของข่าวปลอม ประกอบไปด้วย 5 ส่วนย่อย ได้แก่ (1) ลักษณะประเด็นที่นำมาเสนอเป็นข่าวปลอม ได้แก่ เรื่องเพศ เรื่องแปลก เรื่องศาสนาและการเมือง เรื่องกฎหมาย เรื่องสุขภาพ เรื่องเตือนภัยใกล้ตัวและเรื่องที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีชื่อเสียงเสียชีวิต (2) ลักษณะการใช้ภาษาในข่าวปลอม ได้แก่ การใช้คำเกินจริงเพื่อทำให้ข่าวดูเป็นเรื่องใหญ่ การใช้เครื่องหมายพิเศษ เพื่อเน้นข้อความและสื่ออารมณ์ การขอร้องให้ผู้อ่านแชร์ต่อ การใช้ภาษาพูด เพื่อสร้างความสนิทสนม การสะกดคำผิด พิมพ์ตก รูปแบบการพิมพ์ไม่มีมาตรฐานและการใช้ตัวอักษรต่างประเทศทำให้ยากต่อการตรวจสอบ (3) ลักษณะพาดหัวข่าวปลอม พบ 3 ลักษณะ ได้แก่ การใช้ภาษาเพื่อกระตุ้นอารมณ์ การสร้างคุณค่าทำให้ข่าวมีความสำคัญและการสร้างจุดเด่นให้กับพาดหัวข่าว (4) ลักษณะเนื้อหาข่าวปลอม ได้แก่ การสร้างความน่าเชื่อถือ โดยมีการอ้างอิงแหล่งที่มาให้กับเนื้อหา ทำให้ข้อมูลดูน่าเชื่อถือ ข่าวจริงแต่เป็นข่าวเก่า ข่าวไม่มีการระบุวัน เดือน ปี การนำเสนอข้อมูลเพียงบางส่วนทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิด โฆษณาหลอกขายสินค้าและอวดอ้างสรรพคุณที่เกินจริงและข่าวที่ผิดพลาด (5) บริบทของข่าวปลอม ได้แก่ การจัดหน้าที่ผิดปกติ ข่าวปลอมจะมีรูปแบบการจัดหน้าที่ไม่เป็นระเบียบ ไม่มีย่อหน้าและเว้นวรรค ทำให้ยากต่ออ่าน การสร้างเว็บไซต์ปลอมโดยแอบอ้างสัญลักษณ์ของหน่วยงานที่มีชื่อเสียงและการดัดแปลงเอกสารทางราชการ
ผลการศึกษาแนวทางในการรับมือกับข่าวปลอม พบว่า ทุกภาคส่วนจะต้องประสานความร่วมมือในการแก้ปัญหา โดยบทบาทขององค์กรสื่อ ต้องรักษาความน่าเชื่อถือในฐานะสื่อกระแสหลัก เน้นให้ข้อเท็จจริงแก่ประชาชนในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างรวดเร็วและทำหน้าที่มากกว่าการสะท้อนภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสื่อออนไลน์ รวมถึงกระตุ้นการสร้างเนื้อหาเชิงวิเคราะห์มากขึ้น บทบาทภาครัฐต้องคอยอำนวยความสะดวกในการตรวจสอบข้อมูลหน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลให้แก่ประชาขนอย่างรวดเร็ว คอยดูแลให้เกิดความปลอดภัยด้านการสื่อสาร จัดตั้งนโนบายการตรวจสอบข่าวปลอมให้มีประสิทธิภาพ มีความถูกต้อง เป็นกลางและเกิดความน่าเชื่อถือ ตลอดจนสนับสนุนให้ประชาชนมีทักษะการตรวจสอบข้อเท็จจริงและรู้เท่าทันสื่อ ในส่วนบทบาทภาคการศึกษาต้องจัดตั้งนโยบายให้มีความชัดเจน เปิดกว้างให้เด็กสามารถตั้งคำถาม ตลอดจนพัฒนาหลักสูตรการรู้เท่าทันข่าวสารในโลกออนไลน์และกระตุ้นให้เยาวชนเกิดทักษะการคิดเชิงวิพากษ์มากขึ้น รวมถึงเจ้าของแพลตฟอร์มควรใช้ระบบเทคโนโลยีเข้ามาช่วยตรวจสอบข่าวปลอมและกรองข้อมูลเท็จ เพื่อทำให้เกิดสภาพแวดล้อมในการสื่อสารที่สร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น และสิ่งที่สำคัญที่สุด คือ การตรวจสอบข่าวปลอมไม่ควรผูกขาดที่ใครหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง แต่ประชาชนต้องร่วมกันตรวจสอบข่าวสารที่ได้รับ ไม่นิ่งเฉยหากพบเจอข้อมูลเท็จ ควรแสดงความคิดเห็น บอกต่อเพื่อทำให้ข้อมูลเท็จไม่ไหลเวียนอยู่ในระบบ รวมถึงต้องมีทักษะการรู้เท่าทันสื่อ ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลที่ได้รับอยู่เสมอและไม่รีบร้อนในการส่งต่อข้อมูลที่ยังไม่แน่ใจว่าถูกต้องหรือไม่ ซึ่งทักษะเหล่านี้จะเป็นทักษะที่สำคัญและเป็นแนวทางที่ยั่งยืนในการลดปัญหาข่าวปลอมในประเทศไทย |
รายละเอียดเพิ่มเติม: |
วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (นิเทศศาสตร์และนวัตกรรม))--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2563 |
หัวเรื่องมาตรฐาน: | ข่าวปลอม -- ไทย
Fake news สื่อสังคมออนไลน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ |
คำสำคัญ: | สื่อออนไลน์
e-Thesis |
ประเภททรัพยากร: | วิทยานิพนธ์ |
ความยาว: | 197 แผ่น |
ชนิดของสื่อ: | Text |
รูปแบบแฟ้มข้อมูล: | application/pdf |
ภาษา: | tha |
สิทธิในการใช้งาน: | ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0) |
URI: | https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5659 |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้ (CONTENT) |
|
ดู ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
|
This item appears in the following Collection(s) |
|
|