• English
    • ไทย
  • English 
    • English
    • ไทย
  • Login
View Item 
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
  •   Wisdom Repository Home
  • คณะและวิทยาลัย
  • คณะนิติศาสตร์
  • GSL: Theses
  • View Item
JavaScript is disabled for your browser. Some features of this site may not work without it.

Browse

All of Wisdom RepositoryCommunities & CollectionsBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource TypesThis CollectionBy Issue DateAuthorsTitlesSubjectsBy Submit DateResource Types

My Account

Login

ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์

by ฉัฐญา จันทร์แก้ว

Title:

ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์

Other title(s):

Unfair contract terms in franchise business

Author(s):

ฉัฐญา จันทร์แก้ว

Advisor:

วริยา ล้ำเลิศ

Degree name:

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree level:

Master's

Degree department:

คณะนิติศาสตร์

Degree grantor:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Issued date:

2018

Publisher:

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Abstract:

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษากรณีข้อสัญญาไม่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรนไชส์ เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางแก้ไขปัญหาข้อสัญญาไม่เป็นธรรมดังกล่าว โดยมุ่งเน้นการนําเสนอ พระราชบัญญัติธุรกิจแฟรนไชส์เพื่อเป็นการกํากับดูแลในข้อสัญญาแฟรนไชส์ภายใต้กฎหมายไทยและ เพื่อให้เกิดการบังคับใช้ข้อสัญญาให้เป็นไปในลักษณะเดียวกันโดยมีหลักเกณฑ์การพิจารณาที่เป็น รูปธรรม ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่กําลังพัฒนา และมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่าง ต่อเนื่อง จะเห็นได้ว่าธุรกิจแฟรนไชส์ของไทยมีลักษณะการดําเนินธุรกิจที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องและ รวดเร็วส่งผลให้เกิดปัญหาในการประกอบธุรกิจขึ้นมากมายเนื่องจากการขาดข้อกฎหมายที่ชัดเจนจึง ทําให้การตีความและการบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่ไม่สามารถตอบสนองกับปัญหาที่มีปริมาณมากขึ้นใน ปัจจุบันได้ เมื่อเกิดปัญหาในข้อสัญญาต่าง ๆ กับแฟรนไชส์ซีและแฟรนไชส์ซอร์จึงต้องนําเอา พระราชบัญญัติข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ.2540 มาบังคับใช้เพื่อแก้ไขปัญหา แต่การขาดความ ชัดเจนของหลักกฎหมายทําให้เกิดช่องโหว่ในการอาศัยความไม่ชัดเจนเหล่านี้มาเป็นข้ออ้างในการทํา สัญญาที่ไม่เป็นธรรม มีการเอารัดเอาเปรียบกับคู่สัญญาของตน อีกทั้ง แฟรนไชส์ซอร์ยังนิยมให้มีการ ทําสัญญา สําเร็จรูปกับแฟรนไชส์ซี่งเป็นการผูกมัดให้แฟรนไชส์ซีต้องยอมทําตามข้อสัญญาที่แฟรน ไชส์ซอร์กําหนดขึ้นทั้งหมด ถือเป็นการทําสัญญาที่ไม่เป็นธรรมอย่างยิ่ง จากการศึกษาพบว่า ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมในสัญญาแฟรนไชส์ และข้อสัญญาที่อาจกําหนด ภาระหน้าที่แก่แฟรนไชส์ซีเกินสมควร มูลเหตุในการเกิดข้อสัญญาไม่เป็นธรรมในสัญญาแฟรนไชส์ และข้อสัญญาที่อาจกําหนดภาระหน้าที่แก่แฟรนไชส์ซีเกินสมควรอาจเกิดจากอํานาจต่อรองในการ เจรจาของคู่สัญญาที่แฟรนไชส์ซอร์มักจะเป็นฝ่ายที่มีอํานาจเหนือกว่าแฟรนไชส์ซี หรือการขาด ความรู้ความเข้าใจในการทําธุรกิจแฟรนไชส์ ข้อสัญญาในลักษณะนี้มีด้วยกันหลายประการ เช่น การ ห้ามทําธุรกิจแข่งขัน การผูกขาดการติดต่อ ข้อตกลงพ่วงขาย การจํากัดพื้นที่และกลุ่มลูกค้า รวมไปถึง การกําหนดราคาขายสินค้าด้วย เมื่อประเทศไทยไม่มีกฎหมายที่ใช้บังคับกับการประกอบธุรกิจแฟรนไชส์เป็นการเฉพาะ ดังนั้น การแก้ไขปัญหาข้อกฎหมายที่เกิดขึ้นจึงทําได้โดยนํากฎหมายที่มีอยู่ปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับ ประเด็นปัญหามาใช้บังคับแก่กรณี อย่างไรก็ดี กฎหมายที่นํามาปรับใช้ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาใน ธุรกิจแฟรนไชส์ได้ทุกกรณีเนื่องจากกฎหมายดังกล่าว ย่อมมีข้อจํากัดในตัวของกฎหมายนั้นเอง นอกจากนี้ยังขาดหน่วยงานที่ทําหน้าที่ควบคุมและลงโทษต่อการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมในธุรกิจแฟรน ไชส์อีกด้วย วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมุ่งศึกษากฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศที่กํากับดูแลและมีการ บังคับใช้ พระราชบัญญัติแฟรนไชส์ เพื่อเป็นการกํากับดูแลข้อสัญญาแฟรนไชส์ภายใต้กฎหมายและ เพื่อให้เกิดการบังคับใช้ข้อสัญญาให้เป็นไปในลักษณะเดียวกันโดยมีหลักเกณฑ์การพิจารณาที่เป็น รูปธรรม

Description:

วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, 2561

Subject(s):

แฟรนไชส์ -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ

Keyword(s):

ธุรกิจแฟรนไชส์

Resource type:

วิทยานิพนธ์

Extent:

92 แผ่น

Type:

Text

File type:

application/pdf

Language:

tha

Rights:

ผลงานนี้เผยแพร่ภายใต้ สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลง 4.0 (CC BY-NC-ND 4.0)

URI:

https://repository.nida.ac.th/handle/662723737/5735
Show full item record

Files in this item (CONTENT)

Thumbnail
View
  • b203236.pdf ( 987.84 KB )

ทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดในคลังปัญญา ใช้เพื่อประโยชน์ทางการเรียนการสอนและการค้นคว้าเท่านั้น และต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มาทุกครั้งที่นำไปใช้ ห้ามดัดแปลงเนื้อหา และทำสำเนาต่อ รวมถึงไม่ให้อนุญาตนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการค้า ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น



This item appears in the following Collection(s)

  • GSL: Theses [208]

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

Except where otherwise noted, content on this site is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International license.

Copyright © National Institute of Development Administration | สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
Library and Information Center | สำนักบรรณสารการพัฒนา
Email: NIDAWR@nida.ac.th    Chat: Facebook Messenger    Facebook: NIDAWisdomRepository
 

 

‹›×